Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/1018
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorวิยาภรณ์, ปรีชา-
dc.contributor.authorWiyaporn, Preecha-
dc.date.accessioned2017-08-31T04:49:56Z-
dc.date.available2017-08-31T04:49:56Z-
dc.date.issued2559-09-07-
dc.identifier.urihttp://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/1018-
dc.description54252911 ; สาขาวิชาการบริหารการศึกษา -- ปรีชา วิยาภรณ์en_US
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบ 1) มูลเหตุของปัญหาหนี้สินของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา 2) ความคิดเห็นผู้เชี่ยวชาญที่มีต่อมูลเหตุของปัญหาและการแก้ปัญหาหนี้สินของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา 3) ผลการเปรียบ เทียบความคิดเห็นของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาที่มีต่อมูลเหตุของปัญหาและการแก้ปัญหาหนี้สิน วิธีการดำเนินการวิจัยประกอบด้วย 5 ขั้นตอน คือ 1) การศึกษาตัวแปรที่เกี่ยวข้องในการวิจัย 2) การเก็บข้อมูลด้วยเทคนิคการวิจัยแบบเดลฟาย 3) การเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณ 4) การวิเคราะห์ข้อมูล และ 5) การรายงานผลการวิจัย เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามปลายเปิดและแบบ สอบถามมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ ใช้เทคนิคเดลฟาย จากผู้เชี่ยวชาญจำนวน 17 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่ามัธยฐานและค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ และเก็บข้อมูลเชิงปริมาณ จากตัวอย่าง ได้แก่ ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในกระบวนการแก้ไขปัญหาหนี้สิน จำนวน 385 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่ามัชฌิมเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์เนื้อหา และ เปรียบเทียบความแตกต่างโดยทดสอบค่าที (t-test) ผลการวิจัย พบว่า 1. การเกิดหนี้สินของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษามีมูลเหตุ 3 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านความต้องการ ได้แก่ เป็นหนี้เพราะผ่อนชำระบ้านที่ดินอยู่อาศัย เป็นหนี้เพราะต้องนำเงินไปใช้เพื่อการดำรงชีวิต 2) ด้านค่านิยม ได้แก่ ค่านิยมทางวิชาการโดยเป็นหนี้เพราะการศึกษาต่อเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน และเป็นหนี้จากการทำผลงานทางวิชาการเพื่อเลื่อนตำแหน่ง ค่านิยมทางเศรษฐกิจ และ ค่านิยมทางสังคม 3) ด้านพฤติกรรม ได้แก่ การกินอาหารนอกบ้านหรูหรา และนำเงินไปใช้จ่ายเกี่ยวอบายมุข 2. ผู้เชี่ยวชาญมีความคิดเห็นต่อมูลเหตุของปัญหาและการแก้ปัญหาหนี้สินของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาที่สอดคล้องกัน ได้แก่ มูลเหตุของปัญหาหนี้สินของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ทุกรายด้านมีความสัมพันธ์ในการแก้ไขปัญหาข้างต้น และมีข้อเสนอแนะของการแก้ไขปัญหาหนี้สินของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ดังนี้ 1) ด้านรายได้ เกี่ยวกับเรื่องเงินเดือน ค่าตอบแทน ปรับปรุงระบบเงินเดือนใหม่มีความเหมาะกับทักษะความสามารถ 2) ด้านหนี้สิน ควรดำเนินการจัดตั้งกองทุนขนาดใหญ่และเป็นองค์การอิสระ จัดสรรงบประมาณรองรับสวัสดิการที่เหมาะสม มีการประชาสัมพันธ์การจัดสรรหนี้สินอย่างเหมาะสมและถูกต้อง และ 3) ด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิต ทำการปฏิรูปพัฒนาทั้งระบบส่งเสริมสหกรณ์ร่วมกับกระทรวงศึกษาธิการในการแก้ปัญหา พร้อมทั้งจัดตั้งมูลนิธิส่งเสริมความเข้มแข็งทั้งความรู้และการแก้ปัญหา มีเงินทุนสำรองรองรับการทำกิจกรรมให้กับนักเรียนและการควบคุมคุณภาพ 3. ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาที่มีต่อมูลเหตุของปัญหาและการแก้ปัญหาหนี้สิน พบว่า ความคิดเห็นต่อมูลเหตุที่ก่อให้เกิดภาวะหนี้สินของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาโดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า มูลเหตุที่ก่อให้เกิดภาวะหนี้สินมากที่สุด คือ ด้านความต้องการ รองลงมา คือ ด้านค่านิยม และด้านพฤติกรรม ความคิดเห็นต่อการแก้ไขปัญหาหนี้สินของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาโดยรวม อยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า มีความคิดเห็นต่อแนวทางในการแก้ไขปัญหาหนี้สินมากที่สุดในด้านรายได้ รองลงมา คือ ด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิต และด้านหนี้สิน ผลการทดสอบความคิดเห็นต่อมูลเหตุที่ก่อให้เกิดปัญหาและการแก้ไขปัญหาภาวะหนี้สินของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาจำแนกตามเพศ พบว่า ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาเพศชายและเพศหญิง มีความคิดเห็นไม่แตกต่างกัน และผลการทดสอบความคิดเห็นต่อมูลเหตุที่ก่อให้เกิดปัญหาและการแก้ไขปัญหาภาวะหนี้สินของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาจำแนกตามวุฒิการศึกษา พบว่า ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาที่มีวุฒิการศึกษาระดับปริญญาตรี และระดับสูงกว่าปริญญาตรี มีความคิดเห็นไม่แตกต่างกัน The purposes of this research were to determine; 1) the reasons of the financial liabilities problems of teachers and education personnel, 2) the opinion about solving of the financial liabilities problems of teachers and education personnel , and 3) the comparison on the opinion of teacher and education personnel about the reasons of the financial liabilities and debt solving. The research methodology composed of 5 steps; 1) analyzing variables, 2) collecting the data by Delphi Technique, 3) quantitative collecting data, 4) analyzing the data, and 5) research reporting. The instruments for collecting the data were opinionnaire with the open ended and five rating scales form. The data collected from 17 experts. The statistics used in analyzing the data were Median, Interquartile Range. For the data collected by quantitative method from 385 samples were analyzed by frequency, percentage, arithmetic mean, standard deviation, content analysis, and t-test. The findings of study were as follows ; 1. There were three reasons of the financial liabilities of teacher and education personnel; 1) the demand for housing and living, 2) value in education status and work promotion, economic status and social values, 3) habit in high expenses for food and vices paying. 2. The experts were consensused on the financial liabilities of teacher and education personnel. There recommendation for debt solving were; 1) improved the salary system that fit with skill and work ability, 2) formulated independent financial organization, adequated budgeting for teacher services, public relation for debted solving process accurately, and 3) developed quality of life, improved cooperate system with Ministry of Education in debt solving, formulated finance foundation for debted solving, funded for student activities and educational quality control. 3. The opinion on the financial liabilities of teacher and education personnel were rated at a high level. When considered in each aspect, the financial liabilities about demand was rated at a highest level. For the value and habit were rated a highest level respectively. While the opinion on debt solving was rated at a highest level. When considered in each aspect, the financial liabilities about income rated at a highest level, and quality of life and debt causes respectively. The comparison on the opinion about the reason of financial liabilities when considered by gender and education level, it found out that there were no different between male and female, and also education level.en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยศิลปากรen_US
dc.subjectปัญหาหนี้สินen_US
dc.subjectข้าราชการครูen_US
dc.subjectบุคลากรทางการศึกษาen_US
dc.subjectLIABILITY ISSUEen_US
dc.subjectTEACHERSen_US
dc.subjectEDUCATION PERSONNELen_US
dc.titleกระบวนการแก้ไขปัญหาหนี้สินของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาen_US
dc.title.alternativeTHE SOLVING PROCESS OF THE FINANCIAL LIABILITIES PROBLEMS OF TEACHERS AND EDUCATION PERSONNELen_US
dc.typeThesisen_US
Appears in Collections:Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
54252911 ปรีชา วิยาภรณ์.pdf3.09 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.