Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/1022
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorเกียวกุล, สุณิสา-
dc.contributor.authorKeawkoon, Sunisa-
dc.date.accessioned2017-08-31T04:51:34Z-
dc.date.available2017-08-31T04:51:34Z-
dc.date.issued2559-09-14-
dc.identifier.urihttp://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/1022-
dc.description54252925 ; สาขาวิชาการบริหารการศึกษา -- สุณิสา เกียวกุลen_US
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบ 1) การบริหารจัดการศึกษาของประเทศไทย 2) การบริหารจัดการศึกษาของประเทศ สปป.ลาว 3) เปรียบเทียบการบริหารจัดการศึกษาของประเทศไทยและประเทศ สปป.ลาว ในประเด็นต่อไปนี้ ด้านนโยบายและแผนการบริหารการศึกษา ด้านการจัดระบบการศึกษา ด้านการบริหารหลักสูตรและการเรียนการสอน ด้านการบริหารบุคลากร ด้านการบริหารงบประมาณและทรัพยากร ด้านการประกันคุณภาพและมาตรฐานการศึกษา เป็นการเปรียบเทียบในช่วงระยะเวลา พ.ศ.2556 – พ.ศ.2558 การเก็บรวบรวมโดย การศึกษาเอกสาร การสัมภาษณ์เชิงลึกและการสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า 1. การบริหารการศึกษาของไทย ทั้ง 6 ด้าน พบว่า ในด้านนโยบายการศึกษามีการวางกรอบนโยบายที่ชัดเจนด้วยแผนการศึกษาชาติ และมีการมอบนโยบายสนับสนุนในการพัฒนาการศึกษา โดยรัฐบาลและกระทรวงศึกษาธิการ โดยมีการวางนโยบายเป็น 3 ระยะ คือ นโยบายทั่วไป นโยบายเฉพาะกิจ และนโยบายเร่งด่วน ซึ่งทำให้การดำเนินการทางการศึกษาชัดเจนมากยิ่งขึ้น ในด้านระบบการศึกษาประเทศไทยมีการจัดการศึกษาแบ่งออกเป็น 3 ระบบ คือ การศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย และการเรียนการสอน มีหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นแกนหลักในการจัดการศึกษาในระรับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ให้กับเยาวชนของชาติ ด้านการบริหารบุคลากรการบรรจุแต่งตั้งมีทั้งดำเนินการโดยส่วนกลาง และส่วนกลางมอบอำนาจให้ส่วนภูมิภาคดำเนินการ มีการแบ่งตำแหน่งและวิทยฐานะที่ชัดเจน มีการเลื่อนขั้นเงินเดือนปีละ 2 ครั้ง ด้านการบริหารงบประมาณและทรัพยากร โดยส่วนใหญ่รับงบประมาณจากรัฐบาลมีการแบ่งเป็นเงินงบประมาณ เงินนอกงบประมาณ และเงินรายได้แผ่นดิน ด้านการประกันคุณภาพและมาตรฐานการศึกษา มีการประกันคุณภาพภายในและการประเมินภายนอกโดยองค์กรอิสระ 2. การบริหารการศึกษาของ สปป.ลาว พบว่า ด้านนโยบาย สปป.ลาวมีการวางนโยบายในระยะยาว (20 ปี) มีการแบ่งดำเนินการเป็น 4 ระยะ ๆ ละ 5 ปีและมีการประเมินเป็นระยะ ด้านการจัดระบบการศึกษาแบ่งออกเป็น 2 ระบบ คือการศึกษาในโรงเรียนและการศึกษานอกโรงเรียน โดยการศึกษาตามอัธยาศัยเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษานอกโรงเรียน การศึกษาในระบบแบ่งเป็นการศึกษาก่อนวัยเรียน สามัญศึกษา อาชีวศึกษาและการศึกษาชั้นสูง การศึกษาเน้นให้สอดคล้องกับตลาดแรงงาน การบริหารหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอนประกอบด้วยหลักสูตรการศึกษาแห่งชาติ หลักสูตรการศึกษาท้องถิ่น และหลักสูตรนานาชาติ หรือหลักสูตรสองภาษา ด้านบุคลากรมีการบรรจุโดยการสอบมีการกำหนดวันสอบเดียวกันในทุกปีและดำเนินการบรรจุให้ทันก่อนการเปิดภาคเรียน การเกษียณอายุของรัฐกรครูชายเมื่ออายุ 60 ปี และรัฐกรครูหญิงเมื่ออายุ 55 ปี 3. การบริหารการศึกษาของประเทศไทยกับประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว มีการบริหารการศึกษาที่คล้ายคลึงกันในด้าน 1) ด้านนโยบายและแผนการจัดการศึกษา ซึ่งเน้นการพัฒนาผลิตกำลังคนให้สอดคล้องกับความต้องการของประเทศ เพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันกับนานานประเทศ พัฒนาการศึกษาให้มีมาตรฐาน 2) ด้านการบริหารหลักสูตรและการสอนเน้นการกำหนดโครงสร้างหลักสูตรที่ชัดเจน มีการจัดการเรียนการสอนที่เน้นการพัฒนาให้ผู้เรียนมีศักยภาพมีคุณธรรมและศีลธรรมเป็นคนดีเพื่อการพัฒนาประเทศชาติในอนาคต 3) ด้านการประกันคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาโดยเน้นการประกันคุณภาพภายในมีการกำกับติดตามและประเมินจากส่วนกลางเป็นระยะ ๆ ส่วนที่แตกต่างกันมีดังนี้ 1) ด้านการจัดระบบการศึกษาโดยมีการแบ่งระบบและระดับการศึกษาที่แตกต่างกันประเทศไทยแบ่งระบบการศึกษาออกเป็น 3 ระบบ คือ การศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยแต่ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวแบ่งการศึกษาออกเป็น 2 ระบบ คือ การศึกษาในระบบ และการศึกษานอกระบบ 2) ด้านการบริหารบุคลากร มีความแตกต่างกันในประเด็นของการสรรหาบรรจุแต่งตั้งโดยประเทศไทยมีการสอบบรรจุทั้งโดยส่วนกลางและการมอบอำนาจให้แต่ละเขตพื้นที่ดำเนินการ การดำเนินการสอบแล้วแต่กำหนดวันแตกต่างกันไม่ระบุชัดเจน แต่การจัดสอบบรรจุของ สปป.ลาวมีการจัดสอบโดยส่วนกลาง และการสอบคัดเลือกพร้อมกันเป็นวันเดียวและกำหนดวันชัดเจน มีดำเนินการบรรจุให้เสร็จสิ้นก่อนวันเปิดภาคการศึกษาแต่ละปี และมีการดำเนินการให้ทุนการศึกษาจากส่วนภูมิภาคเพื่อให้เรียนและกลับไปบรรจุเป็นรัฐกรครูในท้องถิ่นของตนเอง การกำหนดตำแหน่ง วิทยฐานะ การเลื่อนขั้นเงินเดือนโดยประเทศไทยมีการประเมินเพื่อเลื่อนขั้นเงินเดือนปีละ 2 ครั้ง แต่ สปป.ลาวมีการประเมินเลื่อนขั้นเงินเดือนปีละ 1 ครั้งและในการประเมินหากว่าประเมินไม่ผ่านก็จะขยายการเลื่อนขั้นออกไปเป็น 2 ปีครั้งหรือให้เปลี่ยนตำแหน่งไปทำงานในหน้าที่อื่นแทนการเป็นรัฐกรครู การออกจากราชการโดยในประเด็นของการเกษียณอายุราชการมีการกำหนดอายุที่แตกต่างกัน คือประเทศไทยกำหนดที่อายุ 60 ปีทั้งชายหญิง แต่ของ สปป.ลาวกำหนดอายุการเกษียนที่ 60 ปีสำหรับเพศชายและ 55 ปีสำหรับเพศหญิง 3) ด้านการบริหารงบประมาณและทรัพยากร ในประเด็นเรื่องการได้มาซึ่งงบประมาณประเทศไทยส่วนใหญ่ได้รับงบประมาณจากรัฐบาลแต่ประเทศ สปป.ลาวส่วนใหญ่จะได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากทางรัฐบาลและจากการช่วยเหลือหรือร่วมลงทุนกับต่างประเทศ The purposes of this research were to 1) identify educational administration in Thailand 2) identify educational administration in Lao People’s Democratic Republic (Lao P.D.R.) and 3) compare educational administration between Thailand and Lao P.D.R in the following issues : educational planning and policy, education system management, curriculum administration and instruction, personnel administration, budget and resources management, education quality assurance and standard. This research was a comparison study. The data were collected during B.E.2556 – 2558 by documentary study, in dept interview, and un off cursive observation. The data were analyzed by content analysis. The findings of this research were as follows: 1.The educational administration in Thailand of six aspects found that: Thailand had a clear policy which stated in national education plan, focused on the education development policy. This policy set for 3 stages; general policy, specific policy, and immediate policy. For the education system in Thailand divided into 3 systems; formal education, non formal education, and informal education. There was a core curriculum for basic education level. The personal aspect; the recruitment and appointment were made by central office and local office, setting a clear position and rank , salary promotion system made for 2 times a year. The budgeting and resources aspect; the school budgeting was separated in 3 part: government budget, extra budget, and supporting budget. For the aspect of education quality assurance and education standard; Thailand school had internal assurance and external assurance by independent organization. 2. Educational Administration in Lao P.D.R found that, there were 20 year education plan which divided into 4 stages (5 years of each stage). There were 2 education systems; formal and non formal education, while informal education was a part of non formal education. For the formal education was separated for early childhood , academic and vocational education and higher education. The education was focused on general labor. The curriculum and instruction composed of national curriculum, local curriculum and international curriculum or bilingual study. For the personal aspect, the recruitment was made for nation wide which fix date in each year before school semester started. The male teachers were retired at 60 years old while a female at 55 years old. 3. The comparison on educational administration of Thailand and Lao P.D.R found that Thailand and Lao educational administration had same issue in 3 areas; 1) they had same policy in human resources which related with national needed for world competitive and education standard development, 2) the curriculum and instructional focused on structure of curriculum and moral and ethic, 3) the education assurance and standard was focused on internal control and external evaluation. In another dimension of the differences its found that 1) Thailand education systems divided into 3 systems while Lao P.D.R had 2 systems, 2) the recruitment process : Thailand had a differences process form Lao P.D.R where Thailand had no fix of date for recruitment while Lao made by the central part within one day of the national test. The appointment was done before school semester started, Lao had education fund for local students to study in teacher collages and after graduated they had to work in their home town. For the salary promotion: Thailand made 2 times a year while Lao P.D.R did it once a year. In this process if someone was under criteria that one had to postpone for his promotion in the next two years or might be changed to another job. The retirement process of both countries had differences whereas Thailand got a 60 years old while Lao P.D.R male teacher got a 60 years old, and female teacher got a 55 years old for retirement, 3) The school financial; the school in Thailand received from the government only while Lao P.D.R received from government and funded from abroad.en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยศิลปากรen_US
dc.subjectการบริหารจัดการศึกษาen_US
dc.subjectการเปรียบเทียบการบริหารการศึกษาประเทศไทยกับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวen_US
dc.subjectEDUCATIONAL ADMINISTRATION IN THAILANDen_US
dc.subjectEDUCATIONAL AMINISTRATION IN LAO PEOPLE’S DEMOCRATIC REPUBLICen_US
dc.titleการเปรียบเทียบการบริหารการศึกษาประเทศไทยและประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวen_US
dc.title.alternativeTHE COMPARATIVE STUDY ON EDUCATIONAL ADMINISTRATION: BETWEEN THAILAND AND THE LAO PEOPLE'S DEMOCRATIC REPUBLICen_US
dc.typeThesisen_US
Appears in Collections:Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
54252925 สุณิสา เกียวกุล.pdf3.82 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.