Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/1054
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorส่งเสริม, ปัญจาภา-
dc.contributor.authorSongserm, Panjapa-
dc.date.accessioned2017-08-31T06:16:27Z-
dc.date.available2017-08-31T06:16:27Z-
dc.date.issued2560-05-05-
dc.identifier.urihttp://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/1054-
dc.description55311309 ; สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม -- ปัญจาภา ส่งเสริมen_US
dc.description.abstractวัตถุประสงค์ของการศึกษาเปรียบเทียบเพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงโพแทสเซียมตลอดระยะเวลาการหมักระหว่างปุ๋ยหมักสองสูตร ได้แก่ ปุ๋ยหมักมูลหมูและปุ๋ยหมักมูลไก่ ปุ๋ยหมักถูกสกัดออกเป็น 4 รูปแบบโพแทสเซียม ได้แก่ รูปที่แลกเปลี่ยนได้ รูปที่จับกับสารประกอบออกไซด์ รูปที่จับกับสารประกอบเชิงซ้อนอินทรีย์และรูปคงค้างของแข็ง โดยใช้เทคนิคการสกัด Community Bureau of Reference (BCR) เก็บตัวอย่างวันที่ 0, 3, 7, 14, 21, 28, 35, 42, 49, 63, 77, 91, 105 และ 119 โดยแบ่งตามอุณหภูมิเป็น 3 ระยะ ได้แก่ ระยะเริ่มผสม (วันที่ 0), ระยะอุณหภูมิสูง (ปุ๋ยหมักมูลหมูวันที่ 1-35 และปุ๋ยหมักมูลไก่ วันที่ 1-42) และระยะเจริญเต็มที่ (ปุ๋ยหมักมูลหมูหลังวันที่ 35 เป็นต้นไปและปุ๋ยหมักมูลไก่หลังวันที่ 42 เป็นต้นไป) รูปแบบที่โดดเด่นของโพแทสเซียมที่พบในปุ๋ยหมักมูลหมูและมูลไก่ คือรูปแบบที่แลกเปลี่ยนได้มีถึงร้อยละ 94.6 และ 99.5 ตามลำดับ คิดเป็น 43.4 และ 249.3 กรัม/กิโลกรัม รูปแบบส่วนใหญ่ของโพแทสเซียมเพิ่มขึ้นสอดคล้องกับระยะเวลาการหมัก (p<0.01) บ่งบอกถึงกระบวนการ condensation of metals แม้ปริมาณของผลรวมโพแทสเซียมทุกรูปแบบของปุ๋ยหมักมูลไก่จะมีมากกว่า แต่ปริมาณเฉลี่ยของรูปที่จับกับสารประกอบเชิงซ้อนอินทรีย์ของปุ๋ยหมักมูลหมูมีมากกว่าของปุ๋ยหมักมูลไก่ถึง 1.6 เท่า อาจเป็นเพราะคุณภาพของอินทรียวัตถุที่ดีกว่ารวมทั้งอัตราการย่อยสลายอินทรียวัตถุที่ช้ากว่าช่วยตรึงโพแทสเซียมในรูปแบบนี้และเพิ่มศักยภาพในการจัดเก็บที่ดีกว่า ดังนั้นไม่เพียงแต่การศึกษาการเปลี่ยนแปลงรูปแบบโพแทสเซียมจะช่วยให้เข้าใจถึงความแตกต่างของชนิดของปุ๋ยหมักที่จะมีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงโพแทสเซียม แต่ยังเข้าใจถึงปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตรึงและการปลดปล่อยโพแทสเซียมซึ่งเป็นคุณสมบัติภายในของปุ๋ยหมักแต่ละชนิด ซึ่งเกษตรกรจะสามารถวางแผนในการเลือกใช้ปุ๋ยหมักที่เป็นประโยชน์ในการให้โพแทสเซียมรูปที่พืชสามารถนำไปใช้ได้ The objective of this comparative study was to investigate potassium transformation during fermenting period between two composts: swine and chicken composts. Composts were extracted into four potassium fractions which were exchangeable fraction, oxide fraction, organically bound fraction and residual fraction using Community Bureau of Reference (BCR) Technique. The samples were collected at day 0, 3, 7, 14, 21, 28, 35, 42, 49, 63, 77, 91, 105 and 119. The composts were divided after temperature into 3 stages: initial stage (day 0), thermophilic stage (day 1-35 for swine compost and day 1-42 for chicken compost) and mature stage (after day 35 for swine compost and after day 42 for chicken compost). The distinct form of potassium found in swine and chicken composts, 94.6% and 99.5%, respectively was exchangeable accounted for 43.4 and 249.3 g/Kg, respectively. Most of potassium fractions increased correspondingly with time (p<0.01) indicating condensation of metals. Regardless of the higher total amounts of potassium in the chicken compost, the average amount of organically bound fractions of swine compost was greater about 1.6 times than that of the chicken compost. This might be because of the better quality of organic matters including the slower degradation rate help fixing potassium yielding higher potential storage. Therefore, not only study the potassium transformation would help in understanding how the different types of compost would affect the change of potassium but also the factors influencing the fixing and releasing that inherited in them. As a result, farmers would be able to design whether which compost would be benefit in giving available potassium to their plants.en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยศิลปากรen_US
dc.subjectโพแทสเซียม,en_US
dc.subjectเทคนิคการสกัดด้วยวิธี Community Bureau of Reference (BCR)en_US
dc.subjectปุ๋ยหมักมูลหมูen_US
dc.subjectปุ๋ยหมักมูลไก่en_US
dc.subjectPOTASSIUMen_US
dc.subjectBCR TECHNIQUEen_US
dc.subjectSWINE MANUREen_US
dc.subjectCHICKEN MANUREen_US
dc.titleการศึกษาการเปลี่ยนแปลงโพแทสเซียมระหว่างกระบวนการหมัก : การเปรียบเทียบระหว่างปุ๋ยหมักมูลหมูและปุ๋ยหมักมูลไก่en_US
dc.title.alternativePOTASSIUM TRANSFORMATION STUDY DURING COMPOSTING PERIOD : A COMPARISON BETWEEN SWINE AND CHICKAN COMPOSTen_US
dc.typeThesisen_US
Appears in Collections:Science

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
55311309 ปัญจาภา ส่งเสริม.pdf4.21 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.