Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/1131
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributorKanokwan TACHANUNTen
dc.contributorกนกวรรณ เตชนันท์th
dc.contributor.advisorPornpote Sukasemen
dc.contributor.advisorพรพจน์ สุขเกษมth
dc.contributor.otherSilpakorn University. Architectureen
dc.date.accessioned2018-03-16T06:26:24Z-
dc.date.available2018-03-16T06:26:24Z-
dc.date.issued8/12/2017
dc.identifier.urihttp://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/1131-
dc.descriptionMaster of Urban and Environmental Planning (M.U.E.P)en
dc.descriptionการวางแผนชุมชนเมืองและสภาพแวดล้อมมหาบัณฑิต (ผ.ม.)th
dc.description.abstractThe study and evaluation of people’s participation in Thadindang – Ratchawong bridge’s design project has the  goal; to study and evaluate people’s public participation results of the research in 2011 and offer appropriate campaign  model or instructions for further government public utility project. This research references from Thadindang – Ratchawong bridge’s design project’s information, public  participation’s research, and participation theory; also, other theories related to this research from the case study in USA. Samples in this research can be divided into 2 groups: 200 participants in Thadindang – Ratchawong with usage of Taro Yamane’s table for setting sample size and 11 engineering, public participation and urban planning’s specialists to consult about the information and opinion about appropriate public participation model and the instructions in public  participation development. The research instruments are science instrument and social instruments. Science instruments are camera, computer, voice recorder, etc. The social instruments are the participants’ questionnaire, information from 11 specialists and the survey in project area’s form, then analyze the information by using computer software and descriptive statistics and the research hypothesis by inferential statistics (Z-test) The result of this research found that the evaluation of people’s participation in Thadindang – Ratchawong  bridge’s design is in average degree. It contradicts with the first hypothesis from the participation theory.The first hypothesis is unacceptable because the result showed that people’s participation is in average degree. The second hypothesis, format and procedure, can be divided into 2 categories. The working group for the  government public utility project’s development and the appropriate public participation steps: beginning project,planning, operating project, coordinated decision making, and evaluation. Most people highly agree with public participation model; cooperation between the government and people, start with studying the problems in urban area and reduce conflict between the government and people. All of the specialists are agree with the same idea; The government have to  collaborate with locals to gain each other’s trust and increase participation. But it is going to cost more time and money, they said.en
dc.description.abstractการศึกษาและประเมินกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนในโครงการออกแบบสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา ท่าดินแดง - ราชวงศ์ วัตถุประสงค์ในการวิจัยในครั้งนี้ คือ เพื่อศึกษาและประเมินการดำเนินการมีส่วนร่วมของประชาชนที่ได้มีการดำเนินการไปแล้วในปี พ.ศ. 2554 รวมถึงเสนอแนะแนวทางรูปแบบและขั้นตอนการมีส่วนร่วมของประชาชนเหมาะสมในอนาคต  เพื่อนำไปปรับปรุงการดำเนินการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาโครงการสาธารณูปโภคภาครัฐต่อไป การวิจัยนี้ใช้ข้อมูลการอ้างอิงจากเอกสารที่เกี่ยวข้องกับโครงการ  งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง  รวมทั้งการใช้ทฤษฎีการมีส่วนร่วม ทฤษฎีอื่นๆ ที่มีความสอดคล้องกัน และกรณีศึกษา ณ ประเทศสหรัฐอเมริกาและกลุ่มตัวอย่างการวิจัยในครั้งนี้ แบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มแรกเป็นตัวแทนของประชากรในพื้นที่ย่านท่าดินแดงและย่านราชวงศ์ จำนวน 200 คน การคำนวณกลุ่มตัวอย่างใช้ตารางสำเร็จรูปของ Taro Yamane ในการกำหนดกลุ่มตัวอย่างและกลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้านวิศวกรรม ด้านการมีส่วนร่วมของประชาชนและด้านผังเมือง จำนวน 11 ท่าน  เพื่อสอบถามข้อมูล ความคิดเห็นและข้อแนะนำเพิ่มเติมในเรื่องการดำเนินการมีส่วนร่วมของประชาชนตามรูปแบบและขั้นตอนการมีส่วนร่วมของประชาชนที่เหมาะสม และเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ เครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ เช่น กล้องถ่ายภาพ คอมพิวเตอร์  เครื่องบันทึกเสียง ฯลฯ  และเครื่องมือทางสังคมศาสตร์แบ่งเป็นแบบสอบถามประชาชนในพื้นที่ จำนวน 200 ชุด แบบสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญทั้ง 3 ด้าน และแบบสำรวจที่ใช้ในการสำรวจพื้นที่โครงการฯ และนำผลจากแบบสอบถามประชาชนมาวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางคอมพิวเตอร์ และการวิเคราะห์แบบสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญโดยใช้การวิเคราะห์ด้วยสถิติเชิงพรรณนา รวมถึงการพิสูจน์สมมติฐาน โดยใช้สถิติเชิงอ้างอิง Z – test ผลการวิจัยในครั้งนี้ พบว่า ผลการประเมินการมีส่วนร่วมของประชาชนในพื้นที่อยู่ในระดับปานกลาง ซึ่งมีความขัดแย้งกับสมมติฐานการวิจัยที่ 1 ที่มาจากการศึกษาข้อมูลอ้างอิงในการวิจัยนี้ กล่าวคือ สมมติฐานที่ 1 นี้ ไม่เป็นที่ยอมรับ เนื่องจากประชาชนให้ความร่วมมือในการดำเนินการมีส่วนร่วมของประชาชนอยู่ในระดับปานกลาง และสมมติฐานที่ 2 ในเรื่องรูปแบบและขั้นตอนการมีส่วนร่วมของประชาชนที่เหมาะสม สามารถแยกได้เป็น 2 ข้อย่อย คือ 1. รูปแบบคณะทำงานเพื่อการพัฒนาเพื่อสาธารณูปโภคภาครัฐในกรุงเทพมหานคร และ 2. ขั้นตอนการดำเนินการมีส่วนร่วมของประชาชนที่เหมาะสม 5 ขั้นตอน คือ 1) ขั้นตอนการริเริ่มโครงการ 2) ขั้นตอนการวางแผนโครงการดำเนินการ 3) ขั้นตอนการดำเนินการ 4) ขั้นตอนการตัดสินใจร่วมกัน และ  5) ขั้นตอนการประเมินผลการดำเนินการ  ประชาชนส่วนใหญ่เห็นด้วยกับรูปแบบการมีส่วนร่วมของประชาชนในรูปแบบคณะทำงานเพื่อการพัฒนาสาธารณูปโภคภาครัฐอยู่ในระดับมาก  ซึ่งเป็นการร่วมกันระหว่างภาครัฐและภาคประชาชน โดยเริ่มต้นจากขั้นตอนการรับทราบปัญหาและร่วมกันวางแผนแนวทางการแก้ไขปัญหา เพื่อลดปัญหาความขัดแย้งกันทุกฝ่าย และในความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญทั้ง 3 ด้านนั้น มีความสอดคล้องเช่นเดียวกัน และมีข้อเสนอแนะในเรื่องการดำเนินการมีส่วนร่วมของประชาชนเพิ่มเติม คือ ภาครัฐควรร่วมกับภาคประชาชนดำเนินการริเริ่มโครงการที่จะสร้างความรู้และความเข้าใจร่วมกันก่อนที่จะมีการมีส่วนร่วมของประชาชนในพื้นที่ต่อไป ซึ่งอาจจะมีข้อจำกัดในเรื่องของระยะเวลาที่เพิ่มขึ้นและงบประมาณที่ต้องจัดสรรเพิ่มเติมด้วยth
dc.language.isoth
dc.publisherSilpakorn University
dc.rightsSilpakorn University
dc.subjectการมีส่วนร่วมของประชาชนth
dc.subjectสะพานth
dc.subjectการพัฒนาสาธารณูปโภคภาครัฐth
dc.subjectPUBLIC PARTICIPATIONen
dc.subjectBRIDGEen
dc.subjectPUBLIC UTILITY DEVELOPMENTen
dc.subject.classificationSocial Sciencesen
dc.subject.classificationSocial Sciencesen
dc.subject.classificationSocial Sciencesen
dc.titleThe Study and Evaluation of People’s participation in Thadindang – Ratchawong  bridge’s design project.en
dc.titleการศึกษาและประเมินกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนในโครงการออกแบบสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา ท่าดินแดง– ราชวงศ์ กรุงเทพมหานครth
dc.typeThesisen
dc.typeวิทยานิพนธ์th
Appears in Collections:Architecture

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
56058301.pdf14.22 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.