Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/119
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorป้องเจริญ, จรูญลักษณ์-
dc.contributor.authorPONGCHAROEN, CHAROONLUX-
dc.date.accessioned2017-08-25T09:19:43Z-
dc.date.available2017-08-25T09:19:43Z-
dc.date.issued2559-02-15-
dc.identifier.urihttp://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/119-
dc.description54252903 ; สาขาวิชาการบริหารการศึกษา -- จรูญลักษณ์ ป้องเจริญen_US
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบ 1) มาตรฐานและตัวชี้วัดการประเมินผลการปฏิบัติ ราชการของบุคลากรวิทยาลัยพยาบาล ในสังกัดสถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข 2) เพื่อให้ได้คู่มือการประเมินผลการปฏิบัติราชการของบุคลากรวิทยาลัยพยาบาล ในสังกัดสถาบัน พระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข กลุ่มตัวอย่างเป็น วิทยาลัยพยาบาล ในสังกัดสถาบัน พระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข จำนวน 28 แห่ง และผู้ให้ข้อมูล ประกอบด้วย ผู้อำนวยการ รองผู้อำนวยการ หัวหน้าภาควิชา หัวหน้างานและอาจารย์ผู้สอน จำนวน 224 คน เครื่องมือที่ใช้ใน เก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่ 1) แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง 2) แบบสอบถาม 3 ) แบบสัมภาษณ์แบบมี โครงสร้าง และ 4) แบบตรวจสอบรายการ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่ามัชฌิมเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่ามัธยฐาน ค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ การวิเคราะห์ องค์ประกอบเชิงสำรวจ ด้วยวิธีสกัดปัจจัยและการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1. มาตรฐานและตัวชี้วัดการประเมินผลการปฏิบัติราชการของบุคลากรวิทยาลัยพยาบาล ในสังกัดสถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข ประกอบด้วย 7 มาตรฐาน คือ 1)ผลสัมฤทธิ์ งานลำดับรองตามพันธะกิจองค์กร ประกอบด้วย 4 มาตรฐานย่อย ได้แก่ 1.1) สมรรถนะประจำสายงาน 1.2) ผลสัมฤทธิ์งานลำดับรองงานบริการวิชาการ/การจัดการเรียนการสอน 1.3) ผลสัมฤทธิ์งานลำดับ รองงานวิจัย/งานกิจการนักศึกษา/ทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมไทย และ 1.4) ผลสัมฤทธิ์งานลำดับรอง งานพัฒนาองค์กร 2) สมรรถนะบริหาร 3) ผลสัมฤทธิ์งานบริการวิชาการ 4) ผลสัมฤทธิ์งานวิจัย/ ผลงานวิชาการ 5) ผลสัมฤทธิ์งานนวัตกรรม/งานสร้างสรรค์ 6) ผลสัมฤทธิ์งานกิจการนักศึกษา/ทำนุบำรุง ศิลปวัฒนธรรมไทย และ7) ผลสัมฤทธิ์งานการจัดการเรียนการสอน 2. คู่มือการประเมินผลการปฏิบัติราชการของบุคลากรวิทยาลัยพยาบาล ในสังกัดสถาบัน พระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข ประกอบด้วย 7 มาตรฐาน 63 ตัวชี้วัด โดยผู้ทรงคุณวุฒิและ ผู้เชี่ยวชาญ มีความเห็นเพิ่มเติมว่าตัวแปรที่สังเกตได้จำนวน 17 ตัว จาก 47 ตัวที่เหลือจากการวิเคราะห์ องค์ประกอบหลัก สามารถนำกลับมาใช้เสริมมาตรการบางอย่างได้ด้วย ทั้งนี้ให้อยู่ตามความเหมาะสม ของแต่ละหน่วยงาน The purposes of this research were: 1) to determine the standard and key performance indicator of the personnel performance appraisal at Nursing College in Prabaromrajchanok Institute, Ministry of Public Health, and 2) to develop a manual of personnel performance appraisal at Nursing College in Prabaromrajchanok Institute, Ministry of Public Health. The samples were 28 Nursing Colleges; the respondents were director, deputy director, department head, related and nursing instructor. The instrument for collecting the data were semi-structured and structured interview, opinionnaire, and check list form. The data were analyzed by frequency, percentage, arithmetic mean, standard deviation, median, interquatile range, exploratory factor analysis and content analysis. The findings of the research were as the following : 1.There were 7 standards of the personnel performance appraisal at Nursing College in Prabaromrajchanok Institute, Ministry of Public Health : 1) achievement of sequential secondary mission organization included four substandard namely, 1.1) functional competency,1.2) achievement and secondary academic services/ teaching, 1.3) achievement and secondary research /student affairs/Thai cultural and 1.4) achievement and secondary development organization, 2) management competency, 3) achievement and academic services, 4) achievement and research/ academic, 5) achievement and innovation/creativity, 6) achievement and student affairs/Thai cultural and 7) achievement and teaching. 2. A manual of the personnel performance appraisal at Nursing College in Praboromrajchanok Institute, Ministry of Public Health had 7 standards and 63 key performance indicators. Whereas the experts had additional comment that 17 out of 47 observed variables from major component could be implied for supporting the other alternative according to the institute circumstances.en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยศิลปากรen_US
dc.subjectการประเมินผลการปฏิบัติราชการen_US
dc.subjectวิทยาลัยพยาบาลen_US
dc.subjectPERFORMANCE APPRAISALen_US
dc.subjectNURSING COLLEGEen_US
dc.titleการประเมินผลการปฏิบัติราชการของบุคลากรวิทยาลัยพยาบาล ในสังกัดสถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุขen_US
dc.title.alternativeTHE PERSONNEL PERFORMANCE APPRAISAL AT NURSING COLLEGE IN PRABOROMRAJCHANOK INSTITUTE , MINISTRY OF PUBLIC HEALTHen_US
dc.typeThesisen_US
Appears in Collections:Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6.54252903 จรูญลักษณ์ ป้องเจริญ.pdf13.21 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.