Please use this identifier to cite or link to this item:
http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/134
Title: | ข้อเสนอเชิงนโยบายยุติธรรมชุมชนเพื่อการเสริมสร้างความสมานฉันท์ของชุมชนอย่างยั่งยืน |
Other Titles: | THE PROPOSED OF COMMUNITY JUSTICE POLICY FOR SUSTAINABLE RESTORATIVE JUSTICE |
Authors: | กฤตาธิการ, ศรวิชา KRITTATHIKARN, SORAWICHA |
Keywords: | ข้อเสนอเชิงนโยบาย ยุติธรรมชุมชน สมานฉันท์ COMMUNITY JUSTICE PROPOSED POLICY RESTORATIVE JUSTICE |
Issue Date: | 29-Jul-2559 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยศิลปากร |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาสภาพการดำเนินงานของยุติธรรมชุมชนในการเสริมสร้างความสมานฉันท์ของชุมชน 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการนำนโยบายยุติธรรมชุมชนไปสู่การปฏิบัติในการเสริมสร้างความสมานฉันท์ของชุมชน และ 3) เพื่อพัฒนาข้อเสนอเชิงนโยบายยุติธรรมชุมชนเพื่อเสริมสร้างความสมานฉันท์ของชุมชนอย่างยั่งยืน การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงนโยบาย โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Method Research) การวิจัยเชิงปริมาณใช้แบบสอบถามเพื่อสำรวจสภาพการดำเนินงานและปัจจัยที่ส่งผลต่อการนำนโยบายไปปฏิบัติ ประชากรและกลุ่มตัวอย่างจำนวน 314 คน ได้แก่ประชาชนผู้ใช้บริการที่ศูนย์ยุติธรรมชุมชน 148 คน และผู้ปฏิบัติหน้าที่ ในศูนย์ยุติธรรมชุมชน 166 คน การวิจัยเชิงคุณภาพใช้การสนทนากลุ่ม (Focus group Discussion) ผู้ปฏิบัติหน้าที่ในศูนย์ยุติธรรมชุมชนที่ผลการดำเนินงานที่เป็นเลิศจำนวน 10 คน การสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจำนวน 16 คน และการพัฒนาข้อเสนอเชิงนโยบาย ใช้แบบประเมินข้อเสนอแนะเชิงนโยบายจากผู้ทรงคุณวุฒิสามกลุ่มๆละ 5 คน ได้แก่ 1.กลุ่มผู้ดูแลและกำกับนโยบาย 2.กลุ่มผู้ปฏิบัติหน้าที่ตามนโยบาย และ 3.กลุ่มนักวิชาการ รวมจำนวนผู้ทรงคุณวุฒิ 15 คน ผลการวิจัยพบว่า 1)สภาพการดำเนินงานของยุติธรรมชุมชนในการเสริมสร้างความสมานฉันท์ของชุมชนพบว่าประชาชนผู้ใช้บริการที่ศูนย์ยุติธรรมชุมชนมีความพึงพอใจบทบาทหน้าที่ของศูนย์ยุติธรรมชุมชนในระดับปานกลาง และมีส่วนร่วมในการดำเนินงานกับศูนย์ยุติธรรมชุมชนในระดับปานกลาง แต่มีความพึงพอใจการให้บริการของศูนย์ยุติธรรมชุมชนในระดับมาก ส่วนผู้ปฏิบัติหน้าที่ในศูนย์ยุติธรรมชุมชนมองว่าศูนย์ยุติธรรมชุมชนประสบผลสำเร็จในการดำเนินงานตามบทบาทในระดับมาก 2)ปัจจัยที่ส่งผลต่อการนำนโยบายยุติธรรมชุมชนไปสู่การปฏิบัติในการเสริมสร้างความสมานฉันท์ของชุมชนในระดับมาก ได้แก่ปัจจัยด้านภาวะผู้นำเป็นลำดับแรก ปัจจัยด้านการทำงานเป็นทีมเป็นลำดับต่อมา และลำดับสุดท้ายคือปัจจัยด้านทรัพยากร 3) ข้อเสนอเชิงนโยบายยุติธรรมชุมชนเพื่อเสริมสร้างความสมานฉันท์ของชุมชนอย่างยั่งยืน ได้แก่การส่งเสริมให้ศูนย์ยุติธรรมชุมชนมีบทบาทหน้าที่ ดังนี้(1) การดูแลให้คำแนะนำและแก้ไขปัญหาเบื้องต้นกับผู้ถูกละเมิดสิทธิและเสรีภาพ (2) การลดข้อพิพาทและความขัดแย้งในชุมชน(3)การป้องกันอาชญากรรมในชุมชน (4)การแจ้งข่าว แจ้งเบาะแสทางคดีความหรือการกระทำผิดกฎหมายให้ชุมชนทราบ (5)การให้ความช่วยเหลือดูแลผู้ได้รับความเสียหายและผลกระทบจากอาชญากรรม และการให้โอกาส แก้ไข ฟื้นฟู ช่วยเหลือสงเคราะห์ผู้กระทำความผิดและ(6)การจัดตั้งและดำเนินการในศูนย์ยุติธรรมชุมชน This research aims 1) to study operation of community justice leading for restorative justice, 2) to study factors influencing community justice leading to the implement of community restorative justice, and 3) to proposed community justice policy leading to sustainably restorative justice. The study of policy research was conducted by using the mixed method research. The quantitative research used questionnaires to survey the operating and factors influencing implementation. Population and sample of 314 were 148 client and 166 Providers. The qualitative research using focus groups discussion with 10 service providers and in depth interviews with 16 stakeholders. Developing policy recommendations by feedback from the 15 experts evaluated. The results show 1) The operation of community justice members who received services from the Community Justice Center had satisfaction in middle rage in regarded to the roles and responsibility including the involvement in carrying out the operation of the center however they are highly satisfied with the services provided by the center. From point of views of the personnel who worked in the center they viewed that the center had achieved the operation objectives in highest range. 2) The factors that have highest range in terms of having affect to the implementation of community justice policy are first of all the leadership, team work, and resources. 3) The proposed of policy that reinforce sustainable community reconciliation include promoting the center’s role on (1) consulting and solving preliminary problems to ones whose rights and freedoms have been violated, (2) decreasing community disputes, (3) preventing community criminal, (4) informing news and/or wrongdoing-based activities, (5) assisting victims and/or restoring wrongdoers to live in the community, and (6) establishment and operation of Community Justice Center |
Description: | 53260803 ; สาขาวิชาพัฒนศึกษา -- ศรวิชา กฤตาธิการ |
URI: | http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/134 |
Appears in Collections: | Education |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
1.53260803 ศรวิชา กฤตาธิการ.pdf | 6.05 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.