Please use this identifier to cite or link to this item:
http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/1486
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor | Napaporn BUAKAEW | en |
dc.contributor | นภาภรณ์ บัวแก้ว | th |
dc.contributor.advisor | Chaiyos Paiwithayasiritham | en |
dc.contributor.advisor | ไชยยศ ไพวิทยศิริธรรม | th |
dc.contributor.other | Silpakorn University. Education | en |
dc.date.accessioned | 2018-12-14T02:39:12Z | - |
dc.date.available | 2018-12-14T02:39:12Z | - |
dc.date.issued | 12/7/2019 | |
dc.identifier.uri | http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/1486 | - |
dc.description | Doctor of Philosophy (PH.D.) | en |
dc.description | ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.) | th |
dc.description.abstract | The purposes of this research were 1) to study the performance conditions of organic vegetable career group of Thai family for sustainable development, 2) to study the factors affected the success of organic vegetable career development of Thai family for sustainable development, 3) to study the best practices of organic vegetable career development of Thai family for sustainable development and 4) to develop the model of organic vegetable career development of Thai family for sustainable development. The procedure employed the mixed methods research between quantitative research and qualitative research by means of case study research of multisite multicase studies. The results of this research revealed that the performance conditions of most organic vegetable career groups were developed because chemical agriculture had many problems with families such as high cost of production, debt problem, health problem and environmental degradation. Besides, organic vegetable career groups were developed because of the demand of organic vegetable niche market. Organic vegetable career groups had managed in the form of official committee. Moreover, the regulations are regarded for the performance. The factors affected the success of organic vegetable career development of Thai family for sustainable development consisted of: 1) production planning, 2) organic standards certification system, 3) learning process, 4) participation in group, 5) best practice in farm, 6) production quantity, 7) product quality, 8) post harvest management, 9) organization management, 10) administration management, 11) consumer needs marketing and 12) organization support. The best practices of organic vegetable career development of Thai family for sustainable development were: 1) working group of organic vegetable career development, 2) production planning of organic vegetable career group, 3) good administration management, 4) best practice in farm, 5) stable market and many marketing channels access to the consumers and 6) learning process. The model of organic vegetable career development of Thai family for sustainable development comprised: 1) Principle, 2) Objective, 3) Support Factors, 4) Input consisted of: (1) human capital; (2) resource capital; (3) intellectual capital; and (4) social capital, 5) Process consisted of 12 components: (1) production planning; (2) organic standards certification system; (3) learning process; (4) participation in group; (5) best practice in farm; (6) production quantity; (7) product quality; (8) post harvest management; (9) organization management; (10) administration management; (11) consumer needs marketing; and (12) organization support and 6) Outcome consisted of: (1) environment sustainability; (2) social sustainability; and (3) economic sustainability. Additionally, this model evaluation is certified by eminent persons. | en |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการดำเนินงานของกลุ่มอาชีพพืชผักอินทรีย์ของครอบครัวไทยเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน 2) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการพัฒนาอาชีพพืชผักอินทรีย์ของครอบครัวไทยเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน 3) ศึกษาวิธีการปฏิบัติที่เป็นเลิศของการพัฒนาอาชีพพืชผักอินทรีย์ของครอบครัวไทยเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน และ 4) พัฒนารูปแบบการพัฒนาอาชีพพืชผักอินทรีย์ของครอบครัวไทยเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ซึ่งใช้วิธีการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Methods Research) ระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยเป็นการวิจัยรายกรณีในลักษณะของพหุเทศะกรณีศึกษา (Multisite Multicase Studies) ผลการวิจัย พบว่า การรวมกลุ่มอาชีพพืชผักอินทรีย์ส่วนใหญ่เกิดจากการทำอาชีพเกษตรกรรมที่เป็นพืชเชิงเดี่ยวและใช้สารเคมีในการเกษตร ทำให้เกิดปัญหาหลายอย่างแก่ครอบครัวทั้งในเรื่องต้นทุนการผลิตสูง ปัญหาหนี้สิน ปัญหาสุขภาพ และปัญหาสิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรม และการรวมกลุ่มอาชีพพืชผักอินทรีย์เนื่องจากทำการประกอบอาชีพเกษตรอินทรีย์แล้วมีความต้องการของตลาดเฉพาะด้านสินค้าเกษตรอินทรีย์เพิ่มมากขึ้น จึงมีการรวมกลุ่มดำเนินงานพัฒนาอาชีพพืชผักอินทรีย์ และมีการบริหารในรูปคณะกรรมการ รวมทั้งมีกฎระเบียบสำหรับใช้เป็นแนวปฏิบัติ สำหรับปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการพัฒนาอาชีพพืชผักอินทรีย์ของครอบครัวไทยเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ได้แก่ 1) การปฏิบัติที่ดีในฟาร์ม 2) กระบวนการเรียนรู้ 3) ปริมาณการผลิต 4) คุณภาพผลผลิต 5) การวางแผนการผลิต 6) การจัดการหลังการเก็บเกี่ยวผลผลิต 7) การตลาดที่ตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค 8) การมีส่วนร่วมภายในกลุ่ม 9) ระบบมาตรฐานรับรองการผลิต 10) การจัดองค์กร 11) การบริหารจัดการ และ 12) การสนับสนุนจากหน่วยงาน ส่วนวิธีการปฏิบัติที่เป็นเลิศของการพัฒนาอาชีพพืชผักอินทรีย์ของครอบครัวไทยเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ได้แก่ 1) การรวมกลุ่มอาชีพพืชผักอินทรีย์ 2) การวางแผนการผลิตของกลุ่มอาชีพพืชผักอินทรีย์ 3) การบริหารจัดการที่ดี 4) การปฏิบัติที่ดีในฟาร์ม 5) กลุ่มอาชีพพืชผักอินทรีย์มีตลาดที่มั่นคงและช่องทางการตลาดหลายช่องทางในการเข้าถึงผู้ซื้อ/ผู้บริโภค และ 6) กระบวนการเรียนรู้ สำหรับรูปแบบการพัฒนาอาชีพพืชผักอินทรีย์ของครอบครัวไทยเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ประกอบด้วย 1) หลักการ 2) วัตถุประสงค์ 3) ปัจจัยสนับสนุน 4) ปัจจัยนำเข้า ประกอบด้วย (1) ทุนมนุษย์ (2) ทุนทรัพยากร (3) ทุนทางปัญญา และ (4) ทุนทางสังคม 5) กระบวนการ โดยให้ความสำคัญกับการดำเนินการ 12 ประการ ได้แก่ (1) การวางแผนการผลิต (2) ระบบมาตรฐานรับรองการผลิต (3) กระบวนการเรียนรู้ (4) การมีส่วนร่วมภายในกลุ่ม (5) การปฏิบัติที่ดีในฟาร์ม (6) ปริมาณการผลิต (7) คุณภาพผลผลิต (8) การจัดการหลังการเก็บเกี่ยวผลผลิต (9) การจัดองค์กร (10) การบริหารจัดการ (11) การตลาดที่ตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค และ (12) การสนับสนุนจากหน่วยงาน และ 6) ผลลัพธ์ 3 ด้านคือ (1) ความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม (2) ความยั่งยืนด้านสังคม และ (3) ความยั่งยืนด้านเศรษฐกิจ ซึ่งผู้ทรงคุณวุฒิได้ให้การประเมินรับรองรูปแบบแล้ว | th |
dc.language.iso | th | |
dc.publisher | Silpakorn University | |
dc.rights | Silpakorn University | |
dc.subject | การพัฒนาอาชีพพืชผักอินทรีย์ | th |
dc.subject | การพัฒนาที่ยั่งยืน | th |
dc.subject | ORGANIC VEGETABLE CAREER DEVELOPMENT | en |
dc.subject | SUSTAINABLE DEVELOPMENT | en |
dc.subject.classification | Social Sciences | en |
dc.title | THE MODEL OF ORGANIC VEGETABLE CAREER DEVELOPMENT OF THAI FAMILY FOR SUSTAINABLE DEVELOPMENT | en |
dc.title | รูปแบบการพัฒนาอาชีพพืชผักอินทรีย์ของครอบครัวไทยเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน | th |
dc.type | Thesis | en |
dc.type | วิทยานิพนธ์ | th |
Appears in Collections: | Education |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
57260903.pdf | 11.12 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.