Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/1540
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributorWorrawut KHAMONTREEen
dc.contributorวรวุฒิ คะมนตรีth
dc.contributor.advisorDirekrit Buavetchen
dc.contributor.advisorดิเรกฤทธิ์ บัวเวชth
dc.contributor.otherSilpakorn University. Scienceen
dc.date.accessioned2018-12-14T02:41:51Z-
dc.date.available2018-12-14T02:41:51Z-
dc.date.issued17/8/2018
dc.identifier.urihttp://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/1540-
dc.descriptionMaster of Science (M.Sc.)en
dc.descriptionวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วท.ม)th
dc.description.abstractThe aims of this study were to determine the concentration of indoor particulate, respiratory diseases, relative risk and exposure: the comparison between Phra Pathom Witthayalai school, Mueang District, Nakhon Pathom Province as a study group and Srakathiam Witthayakom school, Srakathiam Subdistrict, Mueang District, Nakhon Pathom Province as a control group. The two study areas were located nearby the main road and far from the main road respectively. The Prospective Study was employed to find the results of this study. The junior high school students (Grade 9) as the participants of the study were randomly chosen, 56 persons form Phra Pathom Witthayalai School and 37 persons from Srakathiam Witthayakom School. The results shown that the indoor Particulate Matter (PM10) value of average 8 hours of Phra Pathom Witthayalai school was 0.247 ± 0.178 mg/m3 while Srakathiam Witthayakom school was 0.110 ± 0.056 mg/m3. The students from both schools had the same respiratory symptoms in the rainy season with the significant level at 0.05. However, in the cold season, the students from Phra Pathom Witthayalai school shown respiratory symptoms differently from Srakathiam Witthayakom School with the significant level at 0.05. The relative risk of students of Phra Pathom Witthayalai school was 1.272 times compare to the students of Srakathiam Witthayakom school in the rainy season. In the cold season, the students of Phra Pathom Witthayalai School was 1.355 times compare to the student of Srakathiam Witthayakom School. The investigation of relative risk at different period of time indicated that in the cold season Phra Pathom Witthayalai School students had respiratory disorder 1.588 times compare to the rainy season, while in Srakathiam Witthayakom school students had respiratory disorder 1.491 times compare to the rainy season. The lowest quantity of dust exposure of students in the study group was 0.0060 µg/ body weight (kg) / a day, and the highest quantity of dust exposure was 0.0611 µg / body weight (kg) / a day. The lowest quantity of dust exposure of students in the control group was 0.0026 mcg / body weight (kg) / a day, and the highest quantity of dust exposure was 0.0205 mcg/ body weight (kg) / a day. Comparing the PM10 of dust exposure of the two groups found that the study group obviously had the PM10 more than the control group. The dust exposure quantities of the school in the study group was [ 0.0202 ± 0.0145  µg / body weight (kg) / a day ], while the school in control group was [ 0.0089 ± 0.0045 µg / body weight (kg) / a day ].          en
dc.description.abstractการศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาปริมาณฝุ่นละอองภายในห้องเรียน อาการแสดงของโรคระบบทางเดินหายใจ ความเสี่ยงต่อการเกิดอาการและอาการแสดงของโรคระบบทางเดินหาย (Relative Risk) และการรับสัมผัสฝุ่นละออง พื้นที่ที่ทำการศึกษาเปรียบเทียบคือ โรงเรียนพระปฐมวิทยาลัย อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม ซึ่งอยู่ใกล้กับถนนสายหลัก และโรงเรียนสระกะเทียมวิทยาคม ตำบลสระกะเทียม อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม ซึ่งอยู่ห่างไกลออกไปจากถนนสายหลัก วิธีการศึกษาเป็นแบบ Prospective study ประชากรที่ทำการศึกษา เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  3 ของโรงเรียนพระปฐมวิทยาลัย จำนวน 56 คน และโรงเรียนสระกะเทียมวิทยาคม จำนวน 37 คน           ผลการศึกษาพบว่า โรงเรียนพระปฐมวิทยาลัย มีปริมาณฝุ่นละอองขนาดเล็กไม่เกิน 10 ไมครอน (PM10)  เฉลี่ย 8 ชั่วโมง ภายในห้องเรียน ค่าเฉลี่ย 0.247 ± 0.178 มก./ลบ.ม. ส่วนโรงเรียนสระกะเทียมวิทยาคม มีปริมาณฝุ่นละอองขนาดเล็กไม่เกิน 10 ไมครอน (PM10) เฉลี่ย 8 ชั่วโมง ภายในห้องเรียน ค่าเฉลี่ย 0.110 ± 0.056  มก./ลบ.ม. ข้อมูลอาการและอาการแสดงของโรคระบบทางเดินหายใจ พบว่า ในฤดูฝน     เด็กนักเรียนโรงเรียนพระปฐมวิทยาลัย มีอาการและอาการแสดงของโรคระบบทางเดินหายใจไม่แตกต่างจากเด็กนักเรียนโรงเรียนสระกะเทียมวิทยาคม อย่างมีนัยสำคัญ (p > 0.05) และในฤดูหนาว เด็กนักเรียนโรงเรียนพระปฐมวิทยาลัยมีอาการและอาการแสดงของโรคระบบทางเดินหายใจแตกต่างจากเด็กนักเรียนโรงเรียนสระกะเทียมวิทยาคม อย่างมีนัยสำคัญ        (p < 0.05) ส่วนความเสี่ยงต่อการเกิดอาการและอาการแสดงของโรคระบบทางเดินหายใจอาการใดอาการหนึ่งหรือหลายอาการ ระหว่างเด็กนักเรียนโรงเรียนพระปฐมวิทยาลัยกับเด็กนักเรียนโรงเรียนสระกะเทียมวิทยาคม พบว่า ในฤดูฝน เด็กนักเรียนโรงเรียนพระปฐมวิทยาลัยมีความเสี่ยงเป็น 1.272 เท่า ของเด็กนักเรียนโรงเรียนสระกะเทียมวิทยาคม และในฤดูหนาว เด็กนักเรียนโรงเรียนพระปฐมวิทยาลัยมีความเสี่ยงเป็น 1.355 เท่า ของเด็กนักเรียนโรงเรียนสระกะเทียมวิทยาคม อีกทั้งเมื่อเปรียบเทียบความเสี่ยงการเกิดอาการและอาการแสดงของโรคระบบทางเดินหายใจอาการใดอาการหนึ่งหรือหลายอาการระหว่างฤดูฝนกับฤดูหนาว พบว่าเด็กนักเรียนโรงเรียนพระปฐมวิทยาลัย มีความเสี่ยงในฤดูหนาวเป็น 1.588 เท่า ของฤดูฝน ส่วนเด็กนักเรียนโรงเรียนสระกะเทียมวิทยาคม มีความเสี่ยงในฤดูหนาวเป็น 1.491 เท่า ของฤดูฝน ส่วนการรับสัมผัส PM10 ของนักเรียนในโรงเรียนกลุ่มศึกษา มีค่าต่ำสุด 0.0060 มคก./กก. ของน้ำหนักร่างกาย/วัน  สูงสุด 0.0611 มคก./กก. ของน้ำหนักร่างกาย/วัน และมีค่าเฉลี่ย 0.0202 ± 0.0145 มคก./กก. ของน้ำหนักร่างกาย/วัน โรงเรียนในกลุ่มเปรียบเทียบ มีค่าต่ำสุด 0.0026 มคก./กก.ของน้ำหนักร่างกาย/วัน สูงสุด 0.0205 มคก./กก. ของน้ำหนักร่างกาย/วัน และมีค่าเฉลี่ย 0.0089 ± 0.0045 มคก./กก. ของน้ำหนักร่างกาย/วัน เมื่อเปรียบเทียบปริมาณ PM10 การรับสัมผัสพบว่า โรงเรียนในกลุ่มศึกษา มีปริมาณ PM10 มากกว่าโรงเรียนในกลุ่มเปรียบเทียบ ส่งผลต่อปริมาณการรับสัมผัสของนักเรียนในกลุ่มศึกษาอย่างเห็นได้ชัด กล่าวคือ โรงเรียนในกลุ่มศึกษามีปริมาณการรับสัมผัส PM10 (0.0202 ± 0.0145   มคก./กก. ของน้ำหนักร่างกาย/วัน) มากกว่าโรงเรียนในกลุ่มเปรียบเทียบ (0.0089 ± 0.0045 มคก./กก. ของน้ำหนักร่างกาย/วัน)        th
dc.language.isoth
dc.publisherSilpakorn University
dc.rightsSilpakorn University
dc.subjectฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 10 ไมครอนth
dc.subjectการคมนาคมth
dc.subjectสุขภาพนักเรียนth
dc.subjectParticulate Matteren
dc.subjectCommunicationen
dc.subjectStudents's healthen
dc.subject.classificationEnvironmental Scienceen
dc.titleEFFECTS OF PATICULATE MATTER (PM10) FROM ROAD TRAFFIC ON STUDENTS'S HEALTH: CASE STUDY OF PHRA PATHOM WITTHATALAI SCHOOL MUEANG DISTRICT, NAKHON PATHOM PROVINCE.en
dc.titleผลกระทบของฝุ่นละอองขนาดเล็กไม่เกิน 10 ไมครอน (PM10) จากการคมนาคมบนท้องถนนที่มีต่อสุขภาพของเด็กนักเรียน กรณีศึกษาโรงเรียนพระปฐมวิทยาลัย อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐมth
dc.typeThesisen
dc.typeวิทยานิพนธ์th
Appears in Collections:Science

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
56311310.pdf3.34 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.