Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/157
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorชินวงศ์, ปวีพล-
dc.contributor.authorCHINNAWONG, PAWEEPON-
dc.date.accessioned2017-08-25T15:49:29Z-
dc.date.available2017-08-25T15:49:29Z-
dc.date.issued2559-06-12-
dc.identifier.urihttp://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/157-
dc.description57602759 ; หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต -- ปวีพล ชินวงศ์en_US
dc.description.abstractการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ปัจจัยภายนอกที่ส่งผลต่อการดำเนินงานมาตรฐานสากลเพื่อความรับผิดชอบต่อสังคม 2) การดำเนินงานมาตรฐานสากลเพื่อความรับผิดชอบต่อสังคม 3) ผลกระทบจากการดำเนินงานมาตรฐานสากลเพื่อความรับผิดชอบต่อสังคม ของผู้ประกอบการอุตสาหกรรมเหมืองแร่ในประเทศไทยที่เข้าร่วมโครงการส่งเสริมอุตสาหกรรมเหมืองแร่ให้มีมาตรฐานสากลเพื่อความรับผิดชอบต่อสังคม (CSR-DPIM) เป็นการวิจัยเชิงปริมาณร่วมกับการวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้วิจัยได้เก็บข้อมูลเชิงปริมาณด้วยแบบสอบถามจากกลุ่มผู้ประกอบการอุตสาหกรรมเหมืองแร่ที่เข้าร่วมโครงการส่งเสริมอุตสาหกรรมเหมืองแร่ให้มีมาตรฐานสากลเพื่อความรับผิดชอบต่อสังคมของกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ (CSR-DPIM) ตั้งแต่ปี พ.ศ.2553 ถึง พ.ศ.2558 จำนวน 70 ราย ในส่วนของเชิงคุณภาพได้สัมภาษณ์เชิงลึก เจ้าหน้าที่กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่และเจ้าหน้าที่ของสถานประกอบการที่รับผิดชอบโครงการ จำนวน 2 ราย และ 5 ราย ตามลำดับ แล้ววิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วย สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ความเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้การวิเคราะห์ความถดถอยพหุ ในการหาความสัมพันธ์ ผลการวิจัย พบว่า 1) ปัจจัยภายนอกที่ส่งผลต่อการดำเนินงานมาตรฐานสากลเพื่อความรับผิดชอบต่อสังคมจากมากไปน้อย ได้แก่ สังคมและวัฒนธรรม การเมืองและนโยบายรัฐบาล เศรษฐกิจ และเทคโนโลยี ตามลำดับ 2) การดำเนินงานมาตรฐานสากลเพื่อความรับผิดชอบต่อสังคม ได้แก่ การดำเนินงานอย่างเป็นธรรม สิ่งแวดล้อม ประเด็นผู้บริโภค การปฏิบัติด้านแรงงาน และการกำกับดูแลองค์กรอยู่ในระดับมากที่สุด การมีส่วนร่วมและการพัฒนาชุมชน และสิทธิมนุษยชน อยู่ในระดับมาก ตามลำดับ 3) ผลกระทบจากการดำเนินงานมาตรฐานสากลเพื่อความรับผิดชอบต่อสังคมด้านการมีชื่อเสียงอยู่ในระดับมากที่สุด ด้านความมั่นคงของกิจการและการยอมรับนับถืออยู่ในระดับมากตามลำดับ จะเห็นได้ว่าการเข้าร่วมโครงการส่งเสริมอุตสาหกรรมเหมืองแร่ให้มีมาตรฐานสากลเพื่อความรับผิดชอบต่อสังคมของกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ (CSR-DPIM) ทำให้สถานประกอบการมีชื่อเสียง เป็นที่ยอมรับ และมีมาตรฐานในการดำเนินงานความรับผิดชอบต่อสังคม และสามารถอยู่ร่วมกับสังคมได้อย่างยั่งยืน The purposes of this research were to 1) investigate external factors affecting operations under international Corporate Social Responsibility standard, 2) assess the operations under the international Corporate Social Responsibility standard and 3) study the impacts on Thai mining operators who joined an international Corporate Social Responsibility standard promotion program of the Department of Primary Industries and Mines (DPIM), called CSR-DPIM. This research used both qualitative and quantitative methods. Questionnaires were distributed to 70 mining operators who joined the CSR-DPIM form 2009 to 2015 to collect quantitative data. In-depth interviews were conducted with 7 respondents, 2 from the Department of Primary Industries and Mines and 5 from the Thai mining operators. The quantitative data were analyzed using descriptive statistics techniques such as frequency, percentile, mean, standard deviation, multiple regression analysis to determine the correlation between variables. This research found that 1) the external factors affecting the operation were sorted in descending order as followed: society and culture, politics and governmental policies, economy and technology, 2) the operations under the program for fair operating practices, environment, consumer issues, labor issues and good governance were in greatest level while community involvement and development and human rights were in great level, and 3) reputation had the highest impact for companies joined the CSR-DPIM program, followed by operation stability and recognition. It can be seen that Thai mining operators who joined the CSR-DPIM program improved their CSR performance and gained reputation and acceptance. As a result, they can coexist with social sustainabilityen_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยศิลปากรen_US
dc.subjectมาตรฐานสากลเพื่อความรับผิดชอบต่อสังคมen_US
dc.subjectกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่en_US
dc.subjectอุตสาหกรรมเหมืองแร่en_US
dc.subjectINTERNATIONAL CORPORATE SOCIAL RESPONSIBILITY STANDARDen_US
dc.subjectDEPARTMENT OF PRIMARY INDUSTRIES AND MINES (DPIM)en_US
dc.subjectMINING INDUSTRYen_US
dc.titleผลกระทบจากการดำเนินงานของผู้ประกอบการอุตสาหกรรมเหมืองแร่ในประเทศไทยที่เข้าร่วมโครงการส่งเสริมอุตสาหกรรมเหมืองแร่ให้มีมาตรฐานสากลเพื่อความรับผิดชอบต่อสังคม (CSR-DPIM)en_US
dc.title.alternativeIMPACT ON THAI MINING OPERATORS JOINED AN INTERNATIONAL CORPORATE SOCIAL RESPONSIBILITY STANDARD PROMOTION PROGRAM, (CSR-DPIM)en_US
dc.typeThesisen_US
Appears in Collections:Management Sciences



Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.