Please use this identifier to cite or link to this item:
http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/1584
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor | Waraporn BUNPRASERTH | en |
dc.contributor | วราพร บุญประเสริฐ | th |
dc.contributor.advisor | Kanokporn Swangjang | en |
dc.contributor.advisor | กนกพร สว่างแจ้ง | th |
dc.contributor.other | Silpakorn University. Science | en |
dc.date.accessioned | 2018-12-14T02:41:57Z | - |
dc.date.available | 2018-12-14T02:41:57Z | - |
dc.date.issued | 17/8/2018 | |
dc.identifier.uri | http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/1584 | - |
dc.description | Master of Science (M.Sc.) | en |
dc.description | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วท.ม) | th |
dc.description.abstract | This study aims to study basic soil properties in mangrove area of the upper part of Gulf of Thailand and assess influential factors on carbon storage in mangrove soil and the relationship of related factors, including leaves deposit, salinity and temperature. The study area is Klong-Khone, Samut Songkram province. Sampling area was identified into three main groups. These are the mangrove area approached to shrimp farm, connected area between the conservation area and new growth plants, and the seaside area. Sampling plots were done by lining method. The area of plot size was 250 m x 10 m and soil samplings were taken by core method, the depth of 0-30 cm. and then deposited. Total sample were 47 plots. Basic soil properties were analyzed including soil texture, pH, salinity, conductivity, bulk density, moisture, organic carbon, and nitrogen. Soil treatments were done by crushing and mixing with the mangrove decay, with the ratio 15, 138 and 497 kg/rai. The solution of 0.5, 15, and 34 ppt NaCl was added into the treated soils were then incubated at 20, 28, and 35 degree Celsius for the periods of 28, 45 and 105 days. The treated soils were taken to analyze carbon and nitrogen. The results were found that carbon storage was declined, with 121.770, 94.48 and 69.165 grams of carbon per square meter. And the results showed that organic carbon on treatment soil was slightly higher than non-treatment soil with an average 7.727 grams of carbon per square meter. Comparing the average of carbon sequestration for multiple comparisons by SPSS Statistics. Conclusions of this study case clearly illustrate the more duration of decomposition is used, the more carbon sequestration in soil nitrogen is found. Although difference of temperature and salinity levels were unclearly illustrate. Suggestion to study microorganisms in mangrove that decompose organic matter in soil. | en |
dc.description.abstract | การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณสมบัติพื้นฐานของดินชายเลน บริเวณชายฝั่งทะเล ตำบลคลองโคน อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสงคราม ที่แตกต่างกันตามระยะห่างจากชายฝั่งทะเล และเพื่อศึกษาการกักเก็บคาร์บอนในดินชายเลน ที่เปลี่ยนแปลงตามสภาพสิ่งแวดล้อมที่สนใจ ได้แก่ การทับถมของพืช ระดับความเค็มของน้ำ และอุณหภูมิ พื้นที่ศึกษาป่าชายเลนติดชายฝั่งทะเลอ่าวไทย ตำบลคลองโคน อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสงคราม การเก็บตัวอย่างจะกำหนด 3 แนว คือ แนวป่าชายเลนติดนากุ้ง แนวในป่าชายเลนรอยต่อระหว่างเขตพิทักษ์ป่าชายเลน 1,000 ปีกับพื้นที่ป่าปลูกเพิ่มเติม และแนวป่าชายเลยริมชายฝั่งทะเล การเก็บตัวอย่างใช้สว่านเจาะดิน (hand cores) ที่ระดับความลึก 0-30 เซนติเมตร วิเคราะห์คุณสมบัติพื้นฐานของดิน ได้แก่ เนื้อดิน ค่าความเป็นกรดด่าง ค่าความเค็ม สภาพนำไฟฟ้า ความหนาแน่นและความบดอัด ความชื้นในดิน ปริมาณอินทรีย์คาร์บอน และปริมาณไนโตรเจน และนำตัวอย่างดินจากแนวในป่าชายเลนมาทำการทดลอง โดยกวนผสมกับใบพืชที่ปั่นหยาบอัตราส่วนพืชต่อดินเท่ากับ 15 138 และ 497 กิโลกรัมต่อไร่ เติมสารละลายเกลือที่มีระดับความเข้มข้น 0.5 พีพีที 15 พีพีทีและ 34 พีพีที นำบีกเกอร์ที่มีอัตราส่วนที่ต่างกันเข้าตู้อบอุณหภูมิ 20 28 และ 35 องศาเซลเซียส บ่มที่ระยะเวลา 28 45 และ 105 วัน เมื่อครบกำหนดนำตัวอย่างมาวิเคราะห์ปริมาณอินทรีย์คาร์บอนและไนโตรเจน ผลการศึกษาพบว่า ตัวอย่างดินทั้งสามแนว มีค่าการกักเก็บคาร์บอนเท่ากับ 121.77 94.482 และ 69.165 กรัมคาร์บอนต่อตารางเมตรตามลำดับ จากผลการศึกษาจะเห็นได้ว่า กักเก็บคาร์บอนในป่าชายเลนบริเวณชายฝั่งทะเลจะลดลงเมื่อระยะทางเข้าใกล้ทะเลมากขึ้น และหลังจากการทดลองบ่มดินยังพบว่า ตัวอย่างดินมีปริมาณอินทรีย์คาร์บอนแตกต่างจากตอนก่อนบ่มดิน โดยส่วนใหญ่มีค่าเพิ่มขึ้น นั่นหมายความว่าการทับถมของพืช ระดับความเค็ม และอุณหภูมิ มีผลทำให้ปริมาณอินทรีย์คาร์บอนเปลี่ยนแปลงไป เมื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยการกักเก็บคาร์บอนเชิงพหุแล้ว สรุปได้ว่าเมื่อมีการทับถมของพืชมากขึ้น จะทำให้ดินชายเลนมีแนวโน้มกักเก็บคาร์บอนมากขึ้น โดยเฉพาะเมื่อระยะเวลาการหมักที่ 105 วัน ในขณะที่อุณหภูมิ และระดับความเค็ม ไม่พบแนวโน้มที่ชัดเจน จึงควรต่อยอดงานวิจัยโดยวิเคราะห์คุณสมบัติดินชายเลนเชิงชีวภาพ หรือวิเคราะห์ชนิดจุลินทรีย์ในดินชายเลนที่ทำหน้าที่ในการย่อยสลายหรือสร้างอินทรียวัตถุในดิน ณ สภาวะสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป | th |
dc.language.iso | th | |
dc.publisher | Silpakorn University | |
dc.rights | Silpakorn University | |
dc.subject | ดินชายเลน | th |
dc.subject | การกักเก็บคาร์บอนในดินชายเลน | th |
dc.subject | อินทรียคาร์บอนในดินชายเลน | th |
dc.subject | การทับถมของพืช | th |
dc.subject | ระดับความเค็มของน้ำทะเล | th |
dc.subject | อุณหภูมิ | th |
dc.subject | อัตราส่วนคาร์บอนต่อไนโตรเจน | th |
dc.subject | คลองโคน จังหวัดสมุทรสงคราม | th |
dc.subject | carbon storage in mangrove soil | en |
dc.subject | organic carbon in mangrove soil | en |
dc.subject | deposition of leaves | en |
dc.subject | salinity | en |
dc.subject | temperature | en |
dc.subject | carbon and nitrogen ratio | en |
dc.subject | Klong Khone sub-district | en |
dc.subject | Samut Songkhram | en |
dc.subject.classification | Environmental Science | en |
dc.title | Influential factors on carbon storage in mangrove soil. Case study: Klong Khone, Samut Songkhram | en |
dc.title | ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการกักเก็บคาร์บอนในดินชายเลน กรณีศึกษา ตำบลคลองโคน จังหวัดสมุทรสงคราม | th |
dc.type | Thesis | en |
dc.type | วิทยานิพนธ์ | th |
Appears in Collections: | Science |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
58311304.pdf | 5.52 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.