Please use this identifier to cite or link to this item:
http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/1590
Title: | COMPARISON OF AGE FINGERPRINTS DETECTION ON THERMAL PAPER BY USING IODINE FUMING, NINHYDRIN AND 1,2-INDANEDIONE การเปรียบเทียบการตรวจเก็บลายนิ้วมือที่มีอายุต่างกันบนกระดาษเทอร์มอล ด้วยวิธีรมไอโอดีน วิธีนินไฮดริน และวิธี 1,2-อินเดนไดโอน |
Authors: | Sompat SOOKPHANICH สมภัทร สุขพาณิชย์ Sirirat Choosakoonkriang ศิริรัตน์ ชูสกุลเกรียง Silpakorn University. Science |
Keywords: | รอยลายนิ้วมือแฝง กระดาษเทอร์มอล รมไอโอดีน นินไฮดริน 1,2-อินเดนไดโอน fingerprint Thermal paper Iodine fuming Ninhydrin 12-Indanedione |
Issue Date: | 17 |
Publisher: | Silpakorn University |
Abstract: | The aim of this work was to explore the uses of iodine fuming, ninhydrin and 1,2-indaneione to develop latent fingerprints on different sources of thermal paper. The substrates chosen in this study were samples of facsimile paper, automatic teller machine (ATM) slips and receipts. In order to test the effectiveness of the three reagents for the detection of aged fingerprints, samples were kept at ambient temperature for 1 day, 7 days, 15 days and 30 days before processing. The quality of the developed fingerprint was evaluated from the number of minutiae detected by an automatic fingerprint identification system (AFIS). It was found that the most appropriate method for the detection of fingerprints on facsimile paper and ATM slips was the 1,2-indanedione method while the iodine fuming method can be used effectively to detect the fingerprints deposited on receipts. However, the three reagents tested could not yield any identifiable fingerprints on all specimens of 30 days old. งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะสำรวจการใช้การรมไอโอดีน นินไฮดริน และ 1,2-อินเดนไดโอน ในการทำให้รอยลายนิ้วมือแฝงปรากฏบนกระดาษเทอร์มอลจากแหล่งต่างๆ พื้นผิวรองรับที่เลือกใช้ในการศึกษาครั้งนี้คือตัวอย่างกระดาษแฟกซ์ ใบบันทึกเอทีเอ็ม และใบเสร็จร้านค้า ในการทดสอบประสิทธิภาพของสารเคมีที่มีต่อการตรวจหารอยลายนิ้วมือที่มีอายุต่างกัน ใช้ตัวอย่างที่เก็บ ณ อุณหภูมิห้องเป็นเวลา 1 วัน 7 วัน 15 วัน และ 30 วัน ก่อนการทดสอบ โดยประเมินคุณภาพรอยลายนิ้วมือที่ปรากฏจากจำนวนจุดลักษณะสำคัญพิเศษที่ตรวจนับได้ ด้วยระบบตรวจสอบลายพิมพ์นิ้วมืออัตโนมัติ (AFIS) จากการทดลองพบว่าวิธีที่เหมาะสมที่สุดสำหรับการตรวจหารอยลายนิ้วมือบนกระดาษแฟกซ์ และใบบันทึกเอทีเอ็ม คือ วิธี 1,2-อินเดนไดโอน ในขณะที่วิธีรมไอโอดีนสามารถนำไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพกับรอยลายนิ้วมือที่ประทับบนใบเสร็จร้านค้า อย่างไรก็ตามเมื่อทดสอบกับทุกตัวอย่างที่มีอายุนาน 30 วัน สารเคมีทั้ง 3 ชนิดไม่สามารถทำให้เกิดรอยลายนิ้วมือที่มีคุณภาพพอที่จะใช้ยืนยันตัวบุคคลได้ |
Description: | Master of Science (M.Sc.) วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วท.ม) |
URI: | http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/1590 |
Appears in Collections: | Science |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
58312313.pdf | 2.62 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.