Please use this identifier to cite or link to this item:
http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/1609
Title: | STRATEGIC SUPPORTING PLAN FOR TRADITIONAL THAI MUSIC IN CULTURAL TOURIST ATTRACTIONS IN BANGKOK กลยุทธ์ส่งเสริมดนตรีไทยในแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ในเขตกรุงเทพมหานคร |
Authors: | Tritaporn MOOPUNG ตริตาภรณ์ หมู่ผึ้ง Saksit Rachruk ศักดิ์สิทธิ์ ราชรักษ์ Silpakorn University. Music |
Keywords: | ดนตรีไทย การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม การส่งเสริม THAI MUSIC CUTURAL TOURIST ATTRACTION PROMOTION |
Issue Date: | 17 |
Publisher: | Silpakorn University |
Abstract: | The purpose of this research is 1) to find out problem and obstacle of playing traditional Thai music in tourist attraction and 2) to know what the hirer expect traditional Thai musician to perform and 3) to study the behavior and requirement that tourists have about traditional Thai music and 4) to support traditional Thai music by using strategy in tourist attraction which is mixed method research. All the information in this research comes from the interview of 3 traditional Thai musicians in Bangkok and the director of Tourism Authority of Thailand, 400 sets of questionaire about traditional Thai music. The researcher analyses information and statistic by using frequencies distribution, percentage, mean, standard deviation, factor analysis and opinion from tourists.
From the result found that the problem and obstacle of playing traditional Thai music in tourist attraction is the problem of communication between musician and tourist. Normally the musician do not explain about the show so tourist cannot understand and traditional Thai music always be performed in a certain way, nothing is new so the customers want to see more creative and modern things. To attract tourists has to use new techniques and to make the show exciting as they expect to see many traditional Thai instruments in a show to make it more interesting.
From mentioned research leads to strategy that support Thai music at tourist attraction in Bangkok which contains C for Communication C for Creative work, create new things C for Character, create good image C for Create Option, create proper composition C for Collaboration, teamwork. These 5 strategies or 5 Cs are related to the result of research both in Qualitative Research and Quantitative Research ในการศึกษาวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัญหาและอุปสรรคของการแสดงดนตรีไทยในแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมตามความคิดเห็นของนักดนตรีไทย 2) ศึกษาความต้องการของผู้จัดงานที่มีต่อการจ้างงานนักดนตรีไทย 3) ศึกษาพฤติกรรมและความต้องการของนักท่องเที่ยวในแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ที่มีต่อการแสดงดนตรีไทย 4) สร้างกลยุทธ์การส่งเสริมดนตรีไทยในแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในเขตกรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Method Research) โดยข้อมูลเชิงคุณภาพได้มาจากการสัมภาษณ์เชิงลึกนักดนตรีไทย ในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 3 ราย และทำการสัมภาษณ์ผู้อำนวยการกองเผยแพร่ความรู้ด้านการท่องเที่ยว การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย จำนวน 1 ราย ส่วนข้อมูลการวิจัยเชิงปริมาณได้ทำการแจกแบบสอบถามแก่นักท่องเที่ยวชาวไทยในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 400 ชุด สำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลและสถิติที่ใช้นั้น ผู้วิจัยได้ใช้การแจกแจงความถี่ (Frequencies Distribution) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และทำการวิเคราะห์ข้อมูลปัจจัยที่มีผลต่อการชมการแสดงดนตรีไทย จากความคิดเห็นของนักท่องเที่ยว ด้วยสถิติการวิเคราะห์องค์ประกอบ (Factor Analysis) ผลการวิจัยพบว่าสภาพปัญหาและอุปสรรคที่เกิดขึ้นกับการดำเนินการแสดงดนตรีไทยในแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม คือ ปัญหาการสื่อสารระหว่างผู้ทำการแสดงและนักท่องเที่ยว โดยผู้ทำการแสดงหรือนักดนตรีไทยมักขาดการเล่าเรื่องราว จึงทำให้นักท่องเที่ยวไม่เข้าใจต่อชุดการแสดง โดยทางผู้จัดงานหรือหน่วยงานที่ให้การสนับสนุนการจัดการแสดงดนตรีไทยมีความต้องการอยากให้นักดนตรีไทยสร้างสรรค์ผลงานที่แปลกใหม่สอดคล้องกับยุคสมัยปัจจุบัน ทันกระแส เพื่อที่จะสามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวและสร้างความน่าสนใจได้มากขึ้น ทั้งยังเป็นการยกระดับการแสดงดนตรีไทยให้เป็นการแสดงหลักที่สามารถตรึงผู้ชมหรือนักท่องเที่ยวได้ โดยในส่วนของผู้ชมมีความคาดหวังอยากเห็นการแสดงดนตรีไทยที่ใช้เครื่องดนตรีที่หลากหลาย ทำให้ชุดการแสดงเกิดความน่าสนใจมากยิ่งขึ้น จากผลการวิจัยที่กล่าวมาข้างต้นได้นำไปกำหนดเป็นกลยุทธ์ในการส่งเสริมดนตรีไทยในแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในเขตกรุงเทพมหานคร ซึ่งประกอบด้วย C (Communication) หมายถึง การสื่อสารอย่างมีเรื่องราว C (Creative Work) หมายถึง การสร้างสรรค์ผลงานที่แปลกใหม่ C (Character) หมายถึง ภาพลักษณ์ที่ดูดี C (Create Option) หมายถึง สร้างองค์ประกอบที่เหมาะสม และ C (Collaboration) หมายถึง การร่วมมือของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งปัจจัยทั้ง 5 ข้อนำมาสร้างเป็นกลยุทธ์มีความสอดคล้องกับผลการวิจัยทั้งเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ โดยสามารถสรุปกรอบแนวคิดกลยุทธ์ส่งเสริมดนตรีไทยในแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ในเขตกรุงเทพมหานคร ได้เป็นกลยุทธ์ “5 C” |
Description: | Master of Music (M.Mus) ดุริยางคศาสตรมหาบัณฑิต (ดศ.ม.) |
URI: | http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/1609 |
Appears in Collections: | Music |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
59701301.pdf | 3.24 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.