Please use this identifier to cite or link to this item:
http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/1902
Title: | Loneliness in “Sleepless Society” Song Collection ความเหงาในบทเพลงชุด Sleepless Society |
Authors: | Thapanawich CHAICHANA ฐาปนวิชญ์ ชัยชนะ BAYAN IMSAMRAN บาหยัน อิ่มสำราญ Silpakorn University. Arts |
Keywords: | ความเหงา รูปแบบความเหงา การจัดการความเหงา การเล่าความเหงา บทเพลงชุด Sleepless Society loneliness loneliness form loneliness management loneliness narrative sleepless society song collection |
Issue Date: | 12 |
Publisher: | Silpakorn University |
Abstract: | This independent study aims to analyze forms, management of loneliness and the techniques on storytelling of loneliness in “Sleepless Society” song collection. Data includes 30 songs from 3 albums, all lyrics are written by Narongwit Techathanawat, aka Neung, during 2005-2008. Self-based theory of loneliness is applied as an approach.
Forms of loneliness are presented in 5 characteristics: 1) loneliness caused by single life, 2) loneliness caused by relationship ending, 3) loneliness caused by ambiguous relationship 4) loneliness caused by couples without understanding, and 5) loneliness caused by imperfect love Loneliness management can be categorized into 2 methods: 1) passive coping, which consists of 1.1) emotion draining, 1.2) loneliness avoidance, 1.3) addictive behavior, and 2) active coping, which consists of 2.1) behavior adjustment, 2.2) pleasure seeking. With regard to storytelling techniques, the composer presents feelings by 2 steps: 1) loneliness announcing, by describing behaviors, time, places, atmosphere and memories of love relationship, and 2) loneliness stating, by usage of emotion-driving words and loneliness-related terms.
Endings of songs can be divided into 2 groups: hopelessness and hopefulness. “Sleepless Society” song collection indicates that loneliness is an ordinary state of emotion of human beings. Therefore, human beings try to understand loneliness in order to deal with it in various ways. การค้นคว้าอิสระนี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษารูปแบบความเหงา การจัดการความเหงา และกลวิธีการเล่าความเหงาในบทเพลงชุด Sleepless Society ซึ่งเป็นผลงานเพลงของนายณรงค์วิทย์ เตชะธนะวัฒน์ (หนึ่ง) แต่งขึ้นในระหว่างปี พ.ศ. 2548 ถึงปี พ.ศ. 2551 มีจำนวน 3 ชุด รวมทั้งสิ้น 30 บทเพลง โดยอาศัยกรอบแนวคิดเรื่องความเหงาที่อิงตัวตน (Self-Based Theory of Loneliness) เป็นเครื่องมือสำคัญในการศึกษา ผลการศึกษาพบว่า ผู้ประพันธ์บทเพลงนำเสนอรูปแบบของความเหงาที่ปรากฏในบทเพลง 5 แบบ ได้แก่ ความเหงาอันเนื่องมากจากภาวะโสดหรือไร้คู่ครอง ความเหงาอันเนื่องมาจากการยุติความสัมพันธ์ ความเหงาอันเนื่องมาจากความสัมพันธ์ที่ไม่ชัดเจน ความเหงาอันเนื่องมากจากความไม่เข้าใจกันระหว่างคู่รักหรือสามีภรรยา และความเหงาอันเนื่องมากจากความรักที่ไม่สมบูรณ์แบบ ส่วนวิธีการจัดการความเหงามี 2 วิธี วิธีแรก คือ การจัดการในฐานะผู้ถูกกระทำ (passive coping) ได้แก่ การระบายออก การหลีกเลี่ยงไม่เผชิญหน้ากับความเหงาและการเสพติดพฤติกรรม วิธีที่สอง การจัดการในฐานะผู้กระทำ (active coping) ได้แก่ การปรับพฤติกรรมจากเดิมสู่สิ่งใหม่ การหาความเพลิดเพลินยินดี ส่วนการเล่าเรื่องความเหงา เริ่มต้นด้วยการประกาศความเหงา ได้แก่ ประกาศความเหงาด้วยความรู้สึก พฤติกรรมของตัวละคร เวลา สถานที่ บรรยากาศและความทรงจำในอดีต ส่วนการขยายประกาศด้วยการบรรยายและพรรณนาความเหงามีการใช้คำที่ก่อให้เกิดอารมณ์เหงาและคำที่บ่งชี้ถึงความเหงา ทั้งนี้การจบเรื่องเล่าของความเหงาปรากฏการจบบทเพลง 2 แบบ ได้แก่ การจบเรื่องเล่าความเหงาแบบสิ้นหวังและการจบเรื่องเล่าแบบไม่สิ้นหวัง ความเหงาที่ปรากฏในบทเพลงชุด Sleepless Society นี้สะท้อนให้เห็นว่า ความเหงาเป็นทั้งอารมณ์ของปัจเจกบุคคลและอารมณ์ร่วมของมนุษย์ ดังนั้นจึงมีความพยายามทำความเข้าใจความเหงา เพื่อหาทางออกให้แก่ความรู้สึกอันสับสนนี้ด้วยสื่อประเภทต่าง ๆ ดังเช่น บทเพลงชุด Sleepless Society ได้กระทำหน้าที่ดังกล่าวนี้ |
Description: | Master of Arts (M.A.) อักษรศาสตรมหาบัณฑิต (อ.ม.) |
URI: | http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/1902 |
Appears in Collections: | Arts |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
58208302.pdf | 2.62 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.