Please use this identifier to cite or link to this item:
http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/2140
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor | Parinya KLINMAKE | en |
dc.contributor | ปริญญา กลิ่นเมฆ | th |
dc.contributor.advisor | Singhanat Sangsehanat | en |
dc.contributor.advisor | สิงหนาท แสงสีหนาท | th |
dc.contributor.other | Silpakorn University. Architecture | en |
dc.date.accessioned | 2019-08-07T06:30:17Z | - |
dc.date.available | 2019-08-07T06:30:17Z | - |
dc.date.issued | 12/7/2019 | |
dc.identifier.uri | http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/2140 | - |
dc.description | Master of Architecture (M.Arch) | en |
dc.description | สถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต (สถ.ม.) | th |
dc.description.abstract | Urban Form Theory and Walkable City Concept are the purpose of post-modernism study by aiming to publicize the urban form that nowadays has been neglected. This study is not ordinary research standardizing rules for natural and science, but it is the study that has been separated from the present rules in order to equally form the attributes on the social flat space in the physical context of livable urban area. By the analytical process qualitative attribute analysis, participatory quality observation, spatial property exploration, including inquiries and perceives of human attitudes. The study found that : The mindset and tools of the urban form that support the Thai walkable city concept is first the space which fulfill the city. It has normal characteristic as the exploded and individual characteristic as the complexity which directly related to the characteristic of the circulation that will catalyze the normal space. The second attribute is the urban structure which is part of a place. It has normal characteristic as the arrangement and individual characteristic as the multi-purpose which directly related to the characteristic of the enclosure that will intervene the normal urban structure. The third attribute is the enclosure which is the important part of a place. It has normal characteristic as the superimposed and individual characteristic as the transparency which directly related to the characteristic of the space that will intervene the normal enclosure. The fourth attribute is the circulation which is the necessary part of the space. It has normal characteristic as the continuous and individual characteristic as the ambivalence which directly related to the characteristic of the urban structure that will influence a good circulation for the city. | en |
dc.description.abstract | ความสัมพันธ์ระหว่างทฤษฎีรูปทรงของเมืองกับแนวคิดการออกแบบชุมชนเมืองน่าเดินเป็นความมุ่งหมายของการศึกษาบนพื้นฐานทางความคิดหลังสมัยใหม่นิยม โดยมีจุดยืนในการเผยแพร่คุณลักษณะรูปทรงของเมืองที่ถูกละเลยไป ณ ปัจจุบัน ซึ่งไม่ได้เป็นการค้นหาและสถาปนากฎสากลอย่างวิธีการศึกษาวิจัยในแบบวิทยาศาสตร์และธรรมชาติทั่วไป แต่เป็นการวิจัยเพื่อต้องการแยกออกจากบรรดากฎเกณฑ์ที่ดำรงอยู่ เพื่อก่อรูปคุณลักษณะรูปทรงบนพื้นที่ราบทางสังคมให้มีความเสมอภาคเท่าเทียมกันมากขึ้นในบริบทสภาพแวดล้อมทางกายภาพของชุมชนเมืองที่น่าอยู่อาศัย ด้วยกระบวนการวิธีวิเคราะห์คุณลักษณะเชิงคุณภาพ การสังเกตคุณภาพแบบมีส่วนร่วม การสำรวจคุณสมบัติเชิงพื้นที่ รวมไปถึงการสอบถามและการสัมภาษณ์ทัศนคติของมนุษย์ที่มีต่อคุณลักษณะรูปทรงของเมือง คุณภาพและคุณสมบัติของชุมชนเมืองน่าเดิน ผลการศึกษาวิจัยพบว่า คุณลักษณะสภาพแวดล้อมทางกายภาพที่มีส่วนสำคัญในการกำหนดกรอบของพฤติกรรมมนุษย์นั้นได้รับอิทธิพลโดยตรงจากคุณลักษณะของรูปทรง รูปแบบพื้นที่และรูปแบบการใช้พื้นที่ที่สัมพันธ์ไปกับพฤติกรรมโดยกายภาพและพฤติกรรมโดยปรารถนาของมนุษย์ ซึ่งชุดความคิดและชุดเครื่องมือในการก่อรูปคุณลักษณะรูปทรงของเมืองที่สามารถส่งเสริมให้ชุมชนเมืองในบริบทของไทยมีความน่าเดินได้นั้นประกอบด้วยสี่คุณลักษณะ คือ คุณลักษณะของที่ว่าง โครงสร้าง สภาพปิดล้อมและทางสัญจร สามารถอภิปรายผลของการศึกษาวิจัยได้ว่า หนึ่งคุณลักษณะที่ว่างเป็นส่วนเติมเต็มที่ควรมีรูปแบบของการกระจายที่ว่างที่มีความซับซ้อนและมีความสัมพันธ์ไปกับทางสัญจร ซึ่งส่งเสริมความน่าเดินได้เนื่องจากการกระจายทำให้มีการแยกส่วนของพื้นที่ออกจากกันและความซับซ้อนทำให้พื้นที่มีปฏิสัมพันธ์ร่วมกันได้อย่างหลากหลาย สองคุณลักษณะโครงสร้างเป็นส่วนประกอบที่ควรมีรูปแบบของการจัดวางโครงสร้างที่มีความอเนกประสงค์และมีความสัมพันธ์ไปกับสภาพปิดล้อม ซึ่งส่งเสริมความน่าเดินได้เนื่องจากการจัดวางทำให้พื้นที่มีความเป็นระเบียบและความอเนกประสงค์ทำให้มีส่วนรองรับพฤติกรรมที่อาจแทรกซ้อนได้ สามคุณลักษณะสภาพปิดล้อมเป็นส่วนสำคัญที่ควรมีรูปแบบของการซ้อนทับสภาพปิดล้อมที่มีความปรุโปร่งและมีความสัมพันธ์ไปกับที่ว่าง ซึ่งส่งเสริมความน่าเดินได้เนื่องจากการซ้อนทับทำให้มีปฏิสัมพันธ์ร่วมกันกับมิติทางด้านข้างและความปรุโปร่งทำให้มีสิทธิในการมองเห็นหรือผ่านพื้นที่ได้โดยมีความต่อเนื่อง สี่คุณลักษณะทางสัญจรเป็นส่วนจำเป็นที่ควรมีรูปแบบของการต่อเนื่องทางสัญจรที่มีความกำกวมและมีความสัมพันธ์ไปกับโครงสร้าง ซึ่งส่งเสริมความน่าเดินได้เนื่องจากการต่อเนื่องทำให้มีระยะการใช้พื้นที่ได้โดยอิสระและความกำกวมทำให้พื้นที่มีความน่าสนใจ | th |
dc.language.iso | th | |
dc.publisher | Silpakorn University | |
dc.rights | Silpakorn University | |
dc.subject.classification | Arts and Humanities | en |
dc.title | THE STUDY OF URBAN FORM FOR ACHIEVING WALKABLE CITY | en |
dc.title | การศึกษารูปทรงของเมืองเพื่อการออกแบบชุมชนเมืองน่าเดิน | th |
dc.type | Thesis | en |
dc.type | วิทยานิพนธ์ | th |
Appears in Collections: | Architecture |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
57051209.pdf | 37.83 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.