Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/2142
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributorPanudet ROBKITen
dc.contributorภาณุเดช รอบคิดth
dc.contributor.advisorNATTAWUT PREYAWANITen
dc.contributor.advisorณัฐวุฒิ ปรียวนิตย์th
dc.contributor.otherSilpakorn University. Architectureen
dc.date.accessioned2019-08-07T06:30:17Z-
dc.date.available2019-08-07T06:30:17Z-
dc.date.issued12/7/2019
dc.identifier.urihttp://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/2142-
dc.descriptionMaster of Architecture (M.Arch)en
dc.descriptionสถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต (สถ.ม.)th
dc.description.abstractThe objectives of this research are to study concepts and theories of old town reorganization designing processes as well as public participation available in order to study community around the canal and continuous area reorganizing project. This project was included with processes that used to apply in the field studied comparing with town reorganization designing theory in order to propose operation approach for using in community located around. This research contains data collection, the data collected from literature review and field survey from 2 group of population, operator and leader of the communities, study period was in between 20 November 2018 to 25 November 2018. The results reveled that there was some missing procedure due to limiting of time, budget and land ownership. According to town organization processes plan which has data collection, data analysis, synthesis, defining the proposes, alternatives for development, installing, designing plan and recommendation for using, applying and evaluation plan. Referred to those 8 processes, some projects missing alternatives for development as well as proposing and referendum from citizens causing cannot achieve consistency objectives.  The results obtained from this study could be concluded that processes of installing community plan should be obeyed the law as well as allowing people to propose their counsel.en
dc.description.abstractการวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวคิดทฤษฎี กระบวนการออกแบบวางผังฟื้นฟูเมืองเก่ารวมถึงกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชน เพื่อศึกษาโครงปรับปรุงฟื้นฟูชุมชนริมคลองรอบกรุงและพื้นที่ต่อเนื่องรวมถึงกระบวนการที่นำมาดำเนินการในพื้นที่โครงการเพื่อนำมาเปรียบเทียบกับหลักทฤษฎีในการออกแบบวางผังฟื้นฟูเมืองและเพื่อเป็นข้อเสนอแนะแนวทางดำเนินการ สำหรับใช้ในกระบวนการวางแผนฟื้นฟูชุมชนเมืองที่มีบริบทใกล้เคียงกับพื้นที่ต่อไป วิธีวิจัยประกอบด้วยการเก็บรวบรวมข้อมูลจากแหล่งที่เป็นเอกสาร สื่ออิเล็กทรอนิกส์ การสำรวจภาคสนาม และการกำหนดประชากรและกลุ่มตัวอย่างในการวิจัย ซึ่งได้กำหนดกลุ่มตัวอย่าง ออกเป็น 2 กลุ่มตัวอย่าง คือ 1. เจ้าหน้าที่ผู้ดำเนินงานโครงการปรับปรุงฟื้นฟูชุมชนริมคลองรอบกรุงและพื้นที่ต่อเนื่อง 2. ผู้นำชุมชนในบริเวณพื้นที่โครงการปรับปรุงฟื้นฟูชุมชนริมคลองรอบกรุงและพื้นที่ต่อเนื่อง การดำเนินการในระหว่างวันที่  20 พฤศจิกายน ถึง 25 พฤศจิกายน 2561 การวิเคราะห์ข้อมูลจากแบบสอบสัมภาษณ์เพื่อนำมาการเปรียบเทียบกับหลักทฤษฎีในการออกแบบวางผังฟื้นฟูเมือง ผลการวิจัยสรุปได้ว่าแผนการดำเนินงานจากขั้นตอนแรกจนถึงขั้นตอนสุดท้าย ดำเนินการตามกระบวนการการออกแบบวางผังชุมชนเมืองจริงแต่ไม่ครบทุกขั้นตอน เพราะโครงการได้เริ่มจากผังแม่บทฟื้นฟูเมืองเก่ากรุงเทพมหานคร เป็นคำสั่งจากกรุงเทพมหานครให้ดำเนินแผนการอย่างเร่งด่วน เนื่องด้วยมีข้อจำกัดทางด้านเวลา งบประมาณ และกรรมสิทธิ์ที่ดิน จึงทำให้แผนการดำเนินงานยังขาดกระบวนการบางขั้นตอนไป จากกระบวนการออกแบบวางผังชุมชนเมืองที่ได้สรุปไว้คือ 1. การเก็บรวบรวมข้อมูล 2. การวิเคราะห์ข้อมูล 3. การสังเคราะห์ผลการวิเคราะห์ 4. การกำหนดบทบาทหน้าที่ นโยบาย ความมุ่งหมาย วัตถุประสงค์ และเป้าหมาย 5. การสร้างทางเลือกในการพัฒนา 6. การวางผังและออกแบบโครงการและการเสนอแนะแนวทางนำแผนและผังไปปฏิบัติ 7. การนำแผนและผังไปปฏิบัติ 8. การประเมินผล ซึ่งทั้งหมดมี 8 ขั้นตอน แต่โครงการยังขาดขั้นตอนการสร้างทางเลือกในการพัฒนาและการเสนอแผนทางเลือกให้กับประชาชน จากที่ได้สัมภาษณ์กลุ่มประชาชน ไม่ได้มีกระบวนการการมีส่วนร่วมเพื่อการหาประชามติ ว่าชุมชนเห็นด้วยอย่างไร จึงส่งผลให้การดำเนินงานของโครงการไม่ตรงตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้เมื่อเปรียบเทียบกับสภาพความเป็นจริง ข้อเสนอแนะจากการศึกษาทฤษฎี แนวคิด กระบวนการออกแบบวางผังชุมชนเมือง ควรปฏิบัติงานตามหลักการกระบวนการออกแบบชุมชนเมืองทุกขั้นตอน ดังนี้ การเก็บรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล การสังเคราะห์ผลการวิเคราะห์  การกำหนดบทบาทหน้าที่ นโยบาย ความมุ่งหมาย วัตถุประสงค์ และเป้าหมาย การสร้างทางเลือกในการพัฒนา การวางผังและออกแบบโครงการและการเสนอแนะแนวทางนำแผนและผังไปปฏิบัติ การนำแผนและผังไปปฏิบัติ การประเมินผล ข้อเสนอแนะการมีส่วนร่วมทางด้านการปฏิบัติการ 1. การดำเนินการตามกระบวนการการมีส่วนร่วมของประชาชน 2. การเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการติดตาม ตรวจสอบโครงการ โดยการจัดการประชุมเสวนา ความคืบหน้าควรประชุมประชาชนอย่างต่อเนื่อง เพื่อเป็นการแจ้งถึงผลการดำเนินงาน 3. สร้างความร่วมมือให้กับประชาชนทั้งหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในการรับฟังความคิดเห็นและส่งเสริมให้เกิดกิจกรรมในชุมชนทั้งมิติสังคม กายภาพ เศรษฐกิจ การท่องเที่ยว ให้เห็นถึงข้อดีและจุดแข็งของชุมชนและมีรายได้เข้าสู่ชุมชนรวมทั้งภาคี ภาครัฐและเอกชน ข้อเสนอแนะการมีทางด้านกฎหมาย พื้นที่ริมครองรอบกรุงเป็นพื้นที่อยู่ในการควบคุมอาคารเขตกรุงรัตนโกสินทร์ชั้นนอก ควรจะมีข้อบังคับอย่างชัดเจน ในเรื่องของการกำหนดใช้อาคารและการดัดแปรงอาคารth
dc.language.isoth
dc.publisherSilpakorn University
dc.rightsSilpakorn University
dc.subjectกระบวนการวางผังและออกแบบชุมชนเมือง, การฟื้นฟูพื้นที่, ชุมชุนริมคลองรอบกรุงth
dc.subjectUrban planning and design process. Area restoration. Klong Robkrung Community.en
dc.subject.classificationArts and Humanitiesen
dc.titleTHE STUDY OF THE URBAN DESIGN AND PLANNING PRPCESS : A CASE STUDY OF THE KLONG ROBKRUNG RENEWAL PROJECTen
dc.titleการศึกษากระบวนการออกแบบและวางผังชุมชนเมือง กรณีศึกษาโครงการปรับปรุงฟื้นฟูชุมชนริมคลองรอบกรุงth
dc.typeIndependent Studyen
dc.typeการค้นคว้าอิสระth
Appears in Collections:Architecture

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
57051218.pdf7.97 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.