Please use this identifier to cite or link to this item:
http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/219
Title: | การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างศักยภาพการเป็นผู้นำของบุคลากรรุ่นใหม่เพื่อมุ่งสู่องค์การ แห่งการเรียนรู้ในธุรกิจการประกันภัย |
Other Titles: | DEVELOPMENT OF PROGRAM FOR DEVELOPING POTENTIAL OF NEW GENERATION LEADER TO LEARNING ORGANIZATION IN INSURANCE BUSINESS |
Authors: | ตันตราจิณ, พสุธิดา Tantrajin, Pasutida |
Keywords: | โปรแกรมเสริมสร้างศักยภาพ การเป็นผู้นำ บุคลากรรุ่นใหม่ องค์การแห่งการเรียนรู้ ธุรกิจการประกันภัย PROGRAM FOR DEVELOPING POTENTIAL LEADERSHIP NEW GENERATION LEARNING ORGANIZATION INSURANCE BUSINESS |
Issue Date: | 22-Jul-2559 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยศิลปากร |
Abstract: | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างศักยภาพการเป็นผู้นำของบุคลากรรุ่นใหม่เพื่อมุ่งสู่องค์การแห่งการเรียนรู้ในธุรกิจการประกันภัย 2) เพื่อทดลองและวัดประสิทธิภาพการใช้โปรแกรม และ 3) เพื่อประเมินความเป็นไปได้เชิงฉันทามติในการยอมรับโปรแกรม งานวิจัยนี้ผสมผสานด้วยวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ และการวิจัยเชิงปริมาณ ซึ่งมีวิธีการดำเนินการวิจัย 3 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การตรวจสอบกรอบแนวคิดและการพัฒนาโปรแกรม ในขั้นนี้ใช้วิธีการวิจัยคุณภาพในการตรวจสอบแนวคิดทฤษฎี และวิธีการวิจัยเชิงปริมาณในการทำวิจัยอนาคต (EDFR) กับผู้เชี่ยวชาญ 17 คน 2) การทดลองโปรแกรมภาคสนามกับกลุ่มบุคลากรรุ่นใหม่ ในธุรกิจการประกันภัย โดยกำหนดให้มีกลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่ม คือ กลุ่มทดลอง จำนวน 10 คน และกลุ่มควบคุม จำนวน 10 คน เป็นการวิจัยเชิงปริมาณในรูปแบบของการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi-Experimental) และ 3) การประเมินความเป็นไปได้ในเชิงฉันทามติในการยอมรับโปรแกรม เป็นการประยุกต์ใช้การวิจัยเชิงปริมาณ ผลวิจัยพบว่า การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างศักยภาพการเป็นผู้นำของบุคลากรรุ่นใหม่เพื่อมุ่งสู่องค์การแห่งการเรียนรู้ในธุรกิจการประกันภัย ประกอบด้วย ส่วนที่ 1 ความนำ แนวคิด หลักการ วัตถุประสงค์ และคำชี้แจงเพิ่มเติมของโปรแกรมฯ ส่วนที่ 2 รายละเอียดของโปรแกรมที่ประกอบด้วยภาคทฤษฎี และภาคปฏิบัติ ที่ใช้การพัฒนาในรูปแบบ mam to MAM โดยกระตุ้นการพัฒนาจากภารกิจหลัก (Task) ที่เรียกว่า PAIR Technique ที่ส่งผลต่อ LO Process เพื่อมุ่งสู่การเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ หรือ LO LOOP Model ส่วนที่ 3 เครื่องมือประเมินประสิทธิภาพโปรแกรม และ ความสำเร็จ หลังจากที่ผู้เข้าร่วมโปรแกรมเสร็จสิ้นจากโปรแกรมแล้ว จะเกิดการเรียนรู้ 3 ส่วนได้แก่ การเรียนรู้ตนเอง (Self-Learning) การเรียนรู้จากกลุ่ม (Group Learning) และการเรียนรู้องค์การ (Organization Learning) และ การประเมิน MAM (measurement) โดยผลการประเมินในทุกด้านของกลุ่มทดลองภายหลังการเข้าร่วมตามโปรแกรมมีสูงขึ้นกว่าก่อนการพัฒนาและแตกต่างจากกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 This research aimed to 1) to develop the development of program for developing potential of a new generation leader to a learning organization in insurance business, 2) to experiment and measure the efficiency of the program, and 3) to evaluate the consentient feasibility in the program. This research mixed methods of qualitative and quantitative research, which can be divided three parts: 1) to examine the theoretical framework and program development by qualitative research methodology to check the conceptual theory and quantitative research methodology for EDFR 17 persons 2) to experiment the program with a new generation in insurance business for two groups; the experimental group ten persons and control group ten persons. That was the quantitative research by quasi-experimental research methodology and 3). To evaluate the consentient feasibility to accept the application of quantitative research. The result of research found that this program consists of three part, Part 1: concepts, principle, the objectives and further clarification of program, Part 2: details of the program that contains theories and practices used in the model development by mam to MAM and by stimulating the development of the task, called PAIR Technique which effect the LO Process to become a learning organization “LO Loop Model” and Part 3: tools to evaluate the efficiency of program, after the experimental group finished the program, they learned about three parts: Self-Learning, Group Learning and Organization Learning and MAM evaluation (measurement) in all aspects of the experimental group are higher than before the development and differences from the control group, statistically significant at the 0.01 level. |
Description: | 56604924 ; สาขาวิชาการจัดการ -- พสุธิดา ตันตราจิณ |
URI: | http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/219 |
Appears in Collections: | Management Sciences |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
56604924 พสุธิดา.pdf | 87.72 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.