Please use this identifier to cite or link to this item:
http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/223
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.author | โสภา, กฤษฎา | - |
dc.contributor.author | Sopa, Kritsada | - |
dc.date.accessioned | 2017-08-25T16:12:34Z | - |
dc.date.available | 2017-08-25T16:12:34Z | - |
dc.date.issued | 2559-04-07 | - |
dc.identifier.uri | http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/223 | - |
dc.description | 54604915 ; สาขาวิชาการจัดการ -- กฤษฎา โสภา | en_US |
dc.description.abstract | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประยุกต์แนวทางการวิจัยเอกสารสำหรับกำหนดชุดตัวแปรที่ใช้เป็นองค์ประกอบหลักในโมเดลการวิจัยสำหรับนำไปพัฒนาโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของตัวแบบการเพิ่มผลผลิตของโรงงานกะทิสำเร็จรูปในประเทศไทย และกำหนดกลยุทธ์แนวทางการจัดการสำหรับการเพิ่มผลผลิตของโรงงานกะทิสำเร็จรูปในประเทศไทย ใช้เทคนิคการวิจัยแบบการวิจัยและพัฒนา ใช้วิธีการเก็บรวบข้อมูลแบบวิธีการผสมผสาน เก็บข้อมูลวิจัยเชิงปริมาณโดยใช้แบบสอบถามจำนวน 330 ชุด และเชิงคุณภาพโดยการสนทนากลุ่มกับผู้บริหารระดับสูงของบริษัท อำพลฟูดส์ โพรเซสซิ่ง จำกัด จำนวน 9 คน ผลการวิจัยพบว่าตัวแบบการเพิ่มผลผลิตของโรงงานกะทิสำเร็จรูปประกอบด้วย 6 องค์ประกอบ ได้แก่ องค์การ กระบวนการ พนักงาน นวัตกรรม การขนส่ง และเครื่องมือ ผลการวิเคราะห์โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของตัวแบบการเพิ่มผลผลิตของโรงงานกะทิสำเร็จรูปในประเทศไทย พบว่าดัชนีความสอดคล้องกลมกลืนของโมเดลองค์ประกอบเชิงยืนยัน ตัวแบบการเพิ่มผลผลิตของโรงงานกะทิสำเร็จรูป พบว่าค่าไค-สแควร์ (X)2 มีค่า 146.35 มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ p-value = 0.09 ค่าไค-สแควร์สัมพัทธ์ X2/df = 1.17 ค่าดัชนีวัดความสอดคล้องกลมกลืนเชิงสัมพัทธ์ (CFI) = 1.00 ค่าดัชนีวัดระดับความกลมกลืน (GFI = 0.96) ค่าดัชนีวัดระดับความกลมกลืนที่ปรับแก้แล้ว AGFI = 0.95 และค่ารากที่สองของค่าเฉลี่ยความคลาดเคลื่อนกำลังสองของการประมาณ (RMSEA = 0.023) ซึ่งผ่านเกณฑ์ทุกค่า แสดงว่าโมเดลสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยพบว่าตัวแปรสาเหตุมีอิทธิพลทางตรงต่อการเพิ่มผลผลิตในทางบวกมากที่สุด คือ การขนส่ง มีค่าสัมประสิทธิ์อิทธิพลเท่ากับ 0.84 เมื่อพิจารณาการเพิ่มผลผลิตซึ่งเป็นผลลัพธ์สุดท้ายของโมเดล พบว่าการเพิ่มผลผลิตได้รับอิทธิพลรวมสูงสุดจากการขนส่ง รองลงมา การจัดการความรู้ นวัตกรรม และกระบวนการตามลำดับ สำหรับผลการสังเคราะห์แนวทางการวางกลยุทธ์การเพิ่มผลผลิตของโรงงานกะทิสำเร็จรูปของประเทศไทยด้วยการจัดสนทนาแบบกลุ่ม สามารถสรุปได้ 3 กลยุทธ์ ได้แก่ 1) ส่งเสริมด้านองค์การและทรัพยากรมนุษย์ 2) ส่งเสริมด้านการปรับปรุงการผลิตและนวัตกรรม 3) ส่งเสริมด้านการจัดส่งเพื่อการเพิ่มผลผลิต The purpose of this research was to apply documentary research guidelines for determination of parameter set used as a core element in research model for developing causal relationship model of the productivity improving model of coconut milk factory in Thailand as well as to determine the management strategy for productivity improving of coconut milk factory in Thailand. The research methodology technique used in this research included Research and Development: R&D, Mixed Method for data collection. The Quantitative Research was also conducted by using 330 sets of questionnaires and Qualitative Research by using group discussion among 9 executives of Ampol Food Processing Company Limited. The research found that the productivity improving model of coconut milk factory comprised 6 elements including organization, process, employee, innovation, transportation and tools. The results of the analysis of causal relationship model of the productivity improving model of coconut milk factory in Thailand revealed the goodness of fit index of confirmatory factor of the productivity improving model of coconut milk factory in Thailand and found that Chi-Square (X)2 value = 146.35 with statistical significance at p-value of 0.09 and Relative Chi-square X2/df = 1.17, Comparative of fit index (CFI) = 1.00, Goodness of fit index (GFI = 0.96), Adjusted goodness of fit index: AGFI = 0.95 and Root mean square error of approximation (RMSEA = 0.023). All values met the criteria. The results showed that the model was consistent with empirical data. The cause variable that had the most direct positive influence on productivity improving was transportation with Influence coefficients of 0.84. The consideration on productivity improving which was a final result of model exhibited the productivity improving gained the most influence from transportation, the second element was knowledge management and process respectively. The management strategy for productivity improving of coconut milk factory in Thailand with focus group concluded 3 Strategies: 1) promote the organization and human resources 2) the promotion of improved productivity and innovation, 3) promote the delivery to improve productivity. | en_US |
dc.language.iso | other | en_US |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยศิลปากร | en_US |
dc.subject | การเพิ่มผลผลิต | en_US |
dc.subject | ห่วงโซ่อุปทาน | en_US |
dc.subject | โรงงานกะทิ | en_US |
dc.subject | PRODUCTIVITY | en_US |
dc.subject | SUPPLY CHAIN | en_US |
dc.subject | COCONUT MILK INDUSTRY | en_US |
dc.title | การพัฒนาตัวแบบการเพิ่มผลผลิตของโรงงานกะทิสำเร็จรูปในประเทศไทย | en_US |
dc.title.alternative | DEVELOPMENT OF PRODUCTIVITY IMPROVEMENT MODEL IN COCONUT MILK INDUSTRY IN THAILAND | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
Appears in Collections: | Management Sciences |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
54604915 กฤษฏา.pdf | 6.03 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.