Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/225
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorปานยินดี, สมพร-
dc.contributor.authorPanyindee, Somporn-
dc.date.accessioned2017-08-25T16:13:11Z-
dc.date.available2017-08-25T16:13:11Z-
dc.date.issued2558-11-12-
dc.identifier.urihttp://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/225-
dc.description55604809 ; สาขาวิชาการจัดการ -- สมพร ปานยินดีen_US
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อทดสอบอิทธิพลของความสามารถในการจัดการความหลากหลายที่มีต่อปัจจัยผลลัพธ์ ได้แก่ การสร้างสรรค์ขององค์การ ความเป็นเลิศในการดำเนินงาน ผลดำเนินงานองค์การ โดยมีปัจจัยแทรก คือความรุนแรงทางการแข่งขัน และทดสอบอิทธิพลของปัจจัยเชิงสาเหตุ ได้แก่ ประสบการณ์การเรียนรู้ขององค์การ ความพร้อมของทรัพยากรองค์การที่มีต่อความสามารถในการจัดการความหลากหลาย งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน โดยใช้วิจัยเชิงปริมาณเพื่อทดสอบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุและผลลัพธ์ และวิจัยเชิงคุณภาพโดยวิธีปรากฏการณ์วิทยา ใช้เครื่องมือวิจัยเชิงปริมาณด้วยแบบสอบถามกับผู้บริหารธุรกิจอุตสาหกรรมอาหาร จำนวน 267 แห่ง และสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลหลักคือผู้บริหารธุรกิจอุตสาหกรรมอาหารที่ได้รับรางวัล สถานประกอบการดีเด่นด้านแรงงานสัมพันธ์และสวัสดิการแรงงานประจำปี 2557 สถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐานได้แก่ การวิเคราะห์การถดถอยแบบพหุคูณ ผลวิจัยพบว่า 1) ความสามารถในการจัดการความหลากหลาย ด้านการมุ่งเน้นการบริหารงานที่แตกต่าง การบูรณาการความรู้ความสามารถที่โดดเด่น ความยืดหยุ่นในการประเมินผลการปฏิบัติงาน ความสามารถในการปรับตัวตามสภาพแวดล้อม มีอิทธิพลเชิงบวกต่อการสร้างสรรค์ขององค์การ 2) ความสามารถในการจัดการความหลากหลาย ด้านการมุ่งเน้นการบริหารงานที่แตกต่าง ความยืดหยุ่นในการประเมินผลการปฏิบัติงาน ความสามารถในการปรับตัวตามสภาพแวดล้อม มีอิทธิพลเชิงบวกต่อความเป็นเลิศในการดำเนินงาน 3) การสร้างสรรค์ขององค์การ และความเป็นเลิศในการดำเนินงานมีอิทธิพลเชิงบวกต่อผลดำเนินงานองค์การ 4) ความรุนแรงทางการแข่งขันไม่มีอิทธิพลต่อความสัมพันธ์ระหว่างการสร้างสรรค์ขององค์การ ความเป็นเลิศในการดำเนินงาน กับผลดำเนินงานองค์การ 5) ประสบการณ์การเรียนรู้ขององค์การ และความพร้อมของทรัพยากรองค์การ มีอิทธิพลเชิงบวกต่อความสามารถในการจัดการความหลากหลาย และสอดคล้องกับผลการวิจัยเชิงคุณภาพ ประโยชน์จากงานวิจัยครั้งนี้ ทำให้ผู้ประกอบการในธุรกิจอุตสาหกรรมอาหารของประเทศไทย ตระหนักถึงการบริหารงานบนพื้นฐานของคุณค่าความหลากหลาย เกิดการสร้างบรรยากาศการทำงานที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ พัฒนากระบวนการผลิตให้ได้มาตรฐาน ปรับเปลี่ยนองค์การให้ทันต่อสถานการณ์ เพื่อให้องค์การเกิดความได้เปรียบเชิงการแข่งขัน และผลการดำเนินงานที่บรรลุเป้าหมายต่อไป The purpose of this research is to investigate diversity management capability effect to organizational creativity and operational excellence while the competitive intensity was an moderator. And investigate antecedent factors which are organizational learning experience and organizational resource readiness effect to diversity management capability. This is a mixed method researches. The quantitative research is casual relationship and effect and used the qualitative method. Also introduce the phenomenological research by in-dept interview technique with business executives which got labour relationship and welfare in 2014 award. Data is collected from 267 of organizations in Thai Food Industry. The key informants are business executives in Thailand. The research instrument was questionnaire. The hypothesis statistics was multiple regression analysis. The results of the study showed as following: 1) diversity management capability in term of different management orientation, outstanding competency integration, performance management flexibility, environment adaptive competency positively affected the organizational creativity; 2) diversity management capability in term of different management orientation, performance appraisal flexibility, environment adaptive competency positively affected the operational excellence; 3) organizational creativity and operational excellence positively affected the organizational performance; 4) competitive intensity did not moderate among organizational creativity, operational excellence and organizational performance; 5) organizational learning experience and organizational resource readiness positively affected diversity management capability. This result was consistent with qualitative research. Finally, this research contributed enterprises awareness and practice based on value of diversity, building atmosphere for creative thinking, developing standard production, adapting organization for competitive advantage and achievement.en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยศิลปากรen_US
dc.subjectความสามารถในการจัดการความหลากหลายen_US
dc.subjectความหลากหลายในองค์การen_US
dc.subjectการมุ่งเน้นการบริหารงานที่แตกต่างen_US
dc.subjectการบูรณาการความรู้ความสามารถที่โดดเด่นen_US
dc.subjectความยืดหยุ่นในการประเมินผลการปฏิบัติงานen_US
dc.subjectความสามารถในการปรับตัวตามสภาพแวดล้อมen_US
dc.subjectการสร้างสรรค์ขององค์การen_US
dc.subjectความเป็นเลิศในการดำเนินงานen_US
dc.subjectผลดำเนินงานองค์การen_US
dc.subjectความรุนแรงทางการแข่งขันen_US
dc.subjectประสบการณ์เรียนรู้ขององค์การen_US
dc.subjectความพร้อมของทรัพยากรองค์กรen_US
dc.subjectIVERSITY MANAGEMENT CAPABILITYen_US
dc.subjectDIVERSITY WORKFORCEen_US
dc.subjectIFFERENT MANAGEMENT ORIENTATIONen_US
dc.subjectOUTSTANDING COMPETENCY INTEGRATIONen_US
dc.subjectPERFORMANCE MANAGEMENT FLEXIBILITYen_US
dc.subjectENVIRONMENTAL ADAPTIVE COMPETENCYen_US
dc.subjectORGANIZATIONAL CREATIVITYen_US
dc.subjectOPERATIONAL EXCELLENCEen_US
dc.subjectORGANIZATIONAL PERFORMANCEen_US
dc.subjectCOMPETITIVE INTENSITYen_US
dc.subjectRGANIZATIONAL LEARNING EXPERIENCEen_US
dc.subjectORGANIZATIONAL RESOURCE READINESSen_US
dc.titleความสัมพันธ์เชิงสาเหตุและผลลัพธ์ของความสามารถในการจัดการความหลากหลาย: หลักฐานเชิงประจักษ์ของธุรกิจอุตสาหกรรมอาหารในประเทศไทยen_US
dc.title.alternativeTHE CAUSAL RELATIONSHIP AND EFFECT OF DIVERSITY MANAGEMENT CAPABILITY: AN EMPIRICAL EVIDENCE OF FOOD INDUSTRY BUSINESS IN THAILANDen_US
dc.typeThesisen_US
Appears in Collections:Management Sciences

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
55604809_สมพร ปานยินดี.pdf5.6 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.