Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/2407
Title: THE DEVELOPMENT OF  SCIENCE LEARNING ACTIVITIES BY USING PROBLEM-BASED LEARNING AND INQUIRY-BASED LEARNING TOGETHER TO ENHANCE SCIENCE PROCESS SKILLS AND PROBLEM SOLVING ABILITY FOR THE THIRD GRADE STUDENTS
การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับการสืบเสาะหาความรู้  เพื่อเสริมสร้างทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และความสามารถในการแก้ปัญหา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
Authors: Kanokkarn BUDDEE
กนกกาญจน์ บุดดี
RUKCHANOK SOPHAPIT
รักชนก โสภาพิศ
Silpakorn University. Education
Keywords: การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน
การเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้
ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
ความสามารถในการแก้ปัญหา
PROBLEM-BASED LEARNING
INQUIRY-BASED LEARNING
ENHANCE SCIENCE PROCESS SKILLS
PROBLEM SOLVING ABILITY
Issue Date:  12
Publisher: Silpakorn University
Abstract: The purposes of this research were 1) to development  of science learning activities by using problem-based learning and inquiry- based learning together to enhance science process skills and problem solving ability for the third grade students. 2) to evaluate the effectiveness these points following. 2.1) to compare the learning outcome before and after doing the science learning activities. 2.2) to study the science process skills before and after doing  the science learning activities. 2.3)  to study the problem solving ability before and after doing the science learning activities, and 2.4) to study the opinion of the third grade towards the science learning activities. The  sample of this research were 40 students by Simple Random Sampling, in the third grade who were studying in the second semester 2018 academic year, St. Andrew school in Nakhon Pathom province. The  instruments used for this experiment include 1) 4 lesson plans 2)  science process skills evaluation form 3) problem solving ability evaluation form, and 4) about the students’ opinion toward the science learning activities. The data were analyzed by percentage, mean, standard deviation, t-test dependent and content analysis. The results were as follow: 1) The science learning activities by using problem-based learning and  inquiry- based learning together to enhance science process skills and problem solving ability for the third grade. 2) The result of evaluate the effectiveness in  these points following. 2.1) learning outcome was higher significance than before the science learning activities at the .05 2.2) the science process skills of  third grade students during doing the science learning activities overall is at the high level. 2.3) the problem solving ability of third grade students during doing the science learning activities overall is at the high level. and 2.4) he opinion of the third grade towards the science learning activities at a high agreement.
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อ 1) พัฒนากิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับการสืบเสาะหาความรู้ เพื่อเสริมสร้างทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และความสามารถในการแก้ปัญหา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 2) ประเมินประสิทธิผลของกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับการสืบเสาะหาความรู้ ในประเด็นต่อไปนี้ 2.1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ก่อนและหลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ 2.2) ศึกษาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์หลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ 2.3) ศึกษาความสามารถในการแก้ปัญหาหลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ และ2.4) ศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 3/1 จำนวน 40 คน ที่ศึกษาในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 โรงเรียนเซนต์แอนดรูว์ ที่ได้มาโดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แผนการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ จำนวน 4 แผนการเรียนรู้ 2) แบบประเมินทักษะกระบวนการ 3)แบบประเมินความสามารถในการแก้ปัญหา 4) แบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าสถิติร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน(S.D.) ทดสอบค่าที(t-test)  แบบDependent และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ผลการวิจัย พบว่า 1) การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับการสืบเสาะหาความรู้ เพื่อเสริมสร้างทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และความสามารถในการแก้ปัญหาสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มี 5 ขั้นตอน ขั้นที่ 1 ขั้นค้นพบประเด็นปัญหา ขั้นที่ 2 ขั้นค้นคว้าหาข้อมูล ขั้นที่ 3  ขั้นดำเนินการและวางแผน  ขั้นที่ 4 ขั้นอภิปรายผล และขั้นที่ 5 ขั้นประเมินผล 2) ประสิทธิผลของกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ดังนี้ 2.1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 หลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์สูงกว่าก่อนการจัดกิจกรรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2.2) ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 หลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ พบว่าภาพรวมอยู่ในระดับสูง 2.3) ความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 หลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ พบว่าภาพรวมอยู่ในระดับสูง และ2.4)ความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับการสืบเสาะหาความรู้ พบว่าโดยภาพรวมนักเรียนมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก
Description: Master of Education (M.Ed.)
ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (ศษ.ม)
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/2407
Appears in Collections:Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
57253201.pdf4.87 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.