Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/255
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorศรมยุรา, พีณะพงษ์-
dc.contributor.authorSornmayura, Pheenaphong-
dc.date.accessioned2017-08-25T16:26:58Z-
dc.date.available2017-08-25T16:26:58Z-
dc.date.issued2559-07-21-
dc.identifier.urihttp://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/255-
dc.description57602355 ; หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต -- พีณะพงษ์ ศรมยุราen_US
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงสภาพทั่วไปของผู้ประกอบการผู้เลี้ยงปลานิล สภาพการผลิตและการตลาดปลานิลในบ่อดิน ศึกษาถึงการวิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทนการเพาะเลี้ยงปลานิลในบ่อดิน ศึกษาถึงการวิเคราะห์โครงสร้างการตลาดและวิถีการตลาดปลานิลในบ่อดินและศึกษาถึงปัญหาและอุปสรรคของการผลิตและการตลาดปลานิลในบ่อดินตลอดจนการปฏิบัติที่ดีซึ่งเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพและผู้วิจัยเลือกใช้แนวทางในการศึกษาแบบปรากฏการณ์วิทยา ผู้ให้ข้อมูลหลักคือ ผู้ประกอบการผู้เลี้ยงปลานิลในบ่อดิน และบุคคลที่เกี่ยวข้องกับผู้ประกอบการผู้เลี้ยงปลานิล โดยผู้ให้ข้อมูลหลักอธิบายถึงเรื่องราวและเหตุการณ์ต่างๆอาศัยข้อมูลจากประสบการณ์ของผู้ประกอบการผู้เลี้ยงปลานิลในบ่อดินในพื้นที่อำเภอบางเลนจังหวัดนครปฐม จากผลการวิจัยพบว่า ผู้ประกอบการผู้เลี้ยงปลานิลในบ่อดินโดยมากจะขายปลานิลที่มีชีวิตแก่ผู้รับซื้อผลผลิตที่เป็นพ่อค้ารวบรวมท้องที่และเป็นเจ้าประจำ ซึ่งผลตอบแทนมักมาในรูปแบบของเงินเชื่อ และการกำหนดราคาผลผลิตส่วนใหญ่จะตกลงราคาตามตลาด โดยราคาผลผลิตที่ผู้ประกอบการขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 45 บาท และมีกำไรสุทธิเฉลี่ยกิโลกรัมละ 15.04 บาท ทั้งนี้โครงสร้างการตลาดปลานิลในบ่อดินจะมีลักษณะการค้าผลผลิตที่มีชีวิต โดยมีช่องทางการจัดจำหน่าย 3 ช่องทาง คือ จำหน่ายที่ฟาร์มของผู้ประกอบการ จำหน่ายที่แพปลา และจำหน่ายที่ห้องเย็น ตามลำดับปัญหาและอุปสรรคที่พบได้แก่ ด้านการผลิต ราคาผลผลิต และแหล่งจำหน่ายผลผลิต This research was aimed to study the life of Tilapia entrepreneurs, production and marketing of pond Tilapia farming, cost and revenue, as well as problems and obstacles in the business. The study was a qualitative research using phenomenological method. The data were collected via interviewing pond Tilapia farmers and those involved in this business in Amphur Banglen, Nakhonpathom province. The results revealed that farmers of pond Tilapia usually sold living Tilapia to local middleman which the returns often came in the form of credit. Furthermore, the pricing was largely based on the market price; the average selling price was 45 baht per kilogram and the average net profit was 15.04 baht per kilogram. The market structure of pond Tilapia is a commerce of living product. There are three main ways of distribution: 1 at the pond; 2 at the fist market; 3 at the cold storage. Production, product price, and product distribution were main problems found in this business.en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยศิลปากรen_US
dc.subjectการผลิตปลานิลในบ่อดินen_US
dc.subjectการตลาดen_US
dc.subjectผู้ประกอบการผู้เลี้ยงปลานิลในบ่อดินen_US
dc.subjectPRODYCTIVITY OF TILAPIA IN PONDSen_US
dc.subjectMARKETINGen_US
dc.subjectTILAPIA PONDS CULTURE ENTREPRENEURen_US
dc.titleการผลิตและการตลาดปลานิลในบอดิน ของผูประกอบการ ในพื้นที่อําเภอบางเลน จังหวัดนครปฐมen_US
dc.title.alternativePRODUCTIVITY AND MARKETING OF TILAPIA PONF CULTURE ENTREPRENEUR IN AMPHUR BANGLEN, CHANGWAT NAKHONPATHOMen_US
dc.typeThesisen_US
Appears in Collections:Management Sciences

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
57602355.pdf3.2 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.