Please use this identifier to cite or link to this item:
http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/2610
Title: | THE DEVELOPMENT OF A TASK BASED LEARNING AND A PROBLEM BASED LEARNING MODEL TO ENHANCE CRITICAL BUSINESS ENGLISH READING SKILLS FOR UNDERGRADUATE STUDENTS การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้แบบเน้นภาระงานและการใช้ปัญหาเป็นฐานเพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านภาษาอังกฤษธุรกิจอย่างมีวิจารณญาณสำหรับนักศึกษาปริญญาบัณฑิต |
Authors: | Kannarong SONSAKUL กานต์ณรงค์ สอนสกุล Soranabordin Prasansaph สรณบดินทร์ ประสารทรัพย์ Silpakorn University. Education |
Keywords: | รูปแบบการเรียนรู้แบบเน้นภาระงานและการใช้ปัญหาเป็นฐาน ทักษะการอ่านภาษาอังกฤษธุรกิจอย่างมีวิจารณญาณ A TASK-BASED LEARNING AND A PROBLEM-BASED LEARNING MODEL CRITICAL BUSINESS ENGLISH READING SKILLS |
Issue Date: | 10 |
Publisher: | Silpakorn University |
Abstract: | The purposes of the research were to: 1) study and develop of a Task based learning and a Problem based learning Model to enhance Critical Business English Reading for graduate students; 2) compare the students’ Critical Business English Reading abilities between before and after using the model; 3) investigate students’ opinions toward the model.
The sample, selected by a simple random sampling technique, comprised 35 second year students who enrolled in Business English Reading courses, 1st semester, and academic year 2019, Muban Chom Bueng Rajabhat University. The students studied 8 learning units with Task based learning and Problem based learning approach to enhance Critical Business English Reading. Each unit was conducted in 6 hours and the experiment covered 52 hours in the total.
The instruments used for this research consisted of: 1) A Task based learning and Problem based learning Model that consisting of 8 learning units; 2) an Critical Business English Reading achievement test, used as a pretest and posttest; 3) an questionnaire toward the instructional model. Mean and standard deviation of items were used to evaluate the students' opinions toward the instructional model. The paired-sample t-test was used to analyze the students' abilities in Critical Business English Reading abilities.
The research findings were as follows:
1. the efficiency score of the Task based learning and the Problem based learning Model was 75.86/ 75.20, which is higher than the expected criterion: 75/75.
2. the students' Critical Business English Reading abilities after using the Task based learning and the Problem based learning Model were significantly higher at the .05 level.
3. the students' opinions toward the instructional model were mainly positive. การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนารูปแบบการเรียนรู้แบบเน้นภาระงานและการใช้ปัญหาเป็นฐานเพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านภาษาอังกฤษธุรกิจอย่างมีวิจารณญาณสำหรับนักศึกษาปริญญาบัณฑิตให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ คือ 75/75 2) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษอย่างมีวิจารณญาณของนักศึกษาก่อนและหลังการใช้รูปแบบการเรียนรู้ แบบเน้นภาระงานและการใช้ปัญหาเป็นฐานเพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านภาษาอังกฤษธุรกิจอย่างมีวิจารณญาณสำหรับนักศึกษาปริญญาบัณฑิต 3) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักศึกษาที่มีต่อรูปแบบการเรียนรู้แบบเน้นภาระงานและการใช้ปัญหาเป็นฐานเพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านภาษาอังกฤษธุรกิจอย่างมีวิจารณญาณสำหรับนักศึกษาปริญญาบัณฑิต หลังการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการสอนดังกล่าว กลุ่มตัวอย่างได้แก่นักศึกษาชั้นปีที่ 2 จากหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิตสาขาการท่องเที่ยวและโรงแรม หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิตสาขาการตลาด และหลักสูตรบัญชีบัณฑิตสาขาบัญชี มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple random sampling) จำนวน 35 คน ทำการทดลองโดยให้นักศึกษาทำแบบทดสอบก่อนเรียน บทเรียนจำนวน 8 หน่วยการเรียน โดยจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการเรียนรู้แบบเน้นภาระงานและการใช้ปัญหาเป็นฐานเพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านภาษาอังกฤษธุรกิจอย่างมีวิจารณญาณ ใช้เวลาทั้งสิ้น 52 ชั่วโมง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) รูปแบบการเรียนรู้แบบเน้นภาระงานและการใช้ปัญหาเป็นฐาน จำนวน 8 หน่วยการเรียน 2) แบบทดสอบความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษธุรกิจอย่างมีวิจารณญาณ 3) แบบสอบถามความคิดเห็นของนักศึกษาที่มีต่อรูปแบบการเรียนรู้แบบเน้นภาระงานและการใช้ปัญหาเป็น ฐานเพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านภาษาอังกฤษธุรกิจอย่างมีวิจารณญาณสำหรับนักศึกษาปริญญาบัณฑิตวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าสถิติ t – test แบบไม่เป็นอิสระต่อกัน ผลการศึกษาค้นคว้าพบว่า1) รูปแบบการเรียนรู้แบบเน้นภาระงานและการใช้ปัญหาเป็นฐาน มีประสิทธิภาพเท่ากับ 75.86/75.20 ซึ่งมีประสิทธิภาพเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้คือ 75/75 2) ความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษอย่างมีวิจารณญาณของนักศึกษาหลังเรียนด้วยรูปแบบการเรียนรู้แบบเน้นภาระงานและการใช้ปัญหาเป็นฐานเพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านภาษาอังกฤษธุรกิจอย่างมีวิจารณญาณสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) และความคิดเห็นของนักศึกษาที่มีต่อรูปแบบการเรียนรู้แบบเน้นภาระงานและการใช้ปัญหาเป็นฐานเพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านภาษาอังกฤษธุรกิจอย่างมีวิจารณญาณอยู่ในระดับมาก |
Description: | Doctor of Philosophy (Ph.D.) ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.) |
URI: | http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/2610 |
Appears in Collections: | Education |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
57254903.pdf | 5.83 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.