Please use this identifier to cite or link to this item:
http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/2619
Title: | THE DEVELOPMENT OF MECCA MODEL TO ENHANCE CRITICAL READING ABILITIES FOR UPPER SECONDARY SCHOOL STUDENTS การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ MECCA เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย |
Authors: | Sakunkarn SANGTHONG สกุลการ สังข์ทอง MEECHAI IAMJINDA มีชัย เอี่ยมจินดา Silpakorn University. Education |
Keywords: | รูปแบบการจัดการเรียนรู้ แนวคิดพุทธิปัญญา การอ่านอย่างมีวิจารณญาณ INSTRUCTIONAL MODEL COGNITIVE CRITICAL READING |
Issue Date: | 10 |
Publisher: | Silpakorn University |
Abstract: | The purposes of this research were: 1) to develop a MECCA Model to enhance critical reading abilities for upper secondary school students. 2) to study the effectiveness of the MECCA Model to enhance critical reading abilities for upper secondary school students through research and development and moment which consist of five stages as follows:
1) Studying the base data for developing the learning model; 2) Designing and Developing a learning model; 3) Trying out the learning model; 4) Evaluating the efficiency of the learning model; and 5) Momenting using the learning model. The research was pre-experimental study, involving the one group pretest – posttest design. The sample consisted of 38 students that were selected by simple random sampling who studied at Benchamatheputhit Phetchaburi School in second semester of the
2018 academic year. The research instruments were 1) a MECCA Model 2) handbook for a learning model 3) lesson plans
4) critical reading abilities tests. 5) questionnaires and reflective journals. The data was analyzed by using mean (xˉ) standard deviation (S.D.), t-test dependent and content analysis.
The findings of this study are as follows:
1. The MECCA Model to enhance critical reading abilities for upper secondary school students, this model consists of four components which are; 1) principle of learning model 2) objective of learning model 3) learning activities (consisting of 5 steps, which are; (i) Motivation; (ii) Exploration; (iii) Critical thinking; (iv) Construction of knowledge; and (v) Application) 4) evaluation of learning model and 5) factors supporting learning.
2. The effectiveness of MECCA Model for upper secondary school students indicated that;
2.1 The average post-test score of critical reading abilities were significantly higher than of the pre-test score at .05 level.
2.2 Students’ opinions toward the MECCA Model to enhance critical reading abilities for upper secondary school students were at the high level.
In addition, the results of the moment using the learning model indicated that;
1) The average post-test score of critical reading abilities were significantly higher than of the pre-test score at .05 level.
2) Students’ opinions toward the MECCA Model to enhance critical reading abilities for upper secondary school students were at the high level. การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ MECCA เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการอ่าน อย่างมีวิจารณญาณสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย และ 2) ศึกษาประสิทธิผลของการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ MECCA เพื่อ เสริมสร้างความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย การวิจัยแบบการวิจัยและพัฒนา & ขยายผล ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน คือ 1) การศึกษาข้อมูลพื้นฐานสำหรับการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ 2) การออกแบบและพัฒนารูปแบบการจัดการ เรียนรู้ 3) การทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ 4) การประเมินประสิทธิผลของการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ และ 5) การขยายผล การใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ แบบแผนการวิจัยแบบทดลอง 1 กลุ่ม กลุ่มทดลองที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/11 โรงเรียน เบญจมเทพอุทิศจังหวัดเพชรบุรี ในภาคเรียนที่ 2 ปี การศึกษา 2561 จำนวน 38 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย โดยใช้วิธีการจับสลาก เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ MECCA 2) คู่มือการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ 3) แผนการจัดการเรียนรู้ 4) แบบทดสอบวัดความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ 5) แบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้และแบบบันทึกสะท้อนผลการเรียนรู้ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าทีแบบไม่อิสระ และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ MECCA เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณสำหรับนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย มีองค์ประกอบหลัก คือ 1) หลักการของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ 2) วัตถุประสงค์ของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ 3) กระบวนการจัดการเรียนรู้ ประกอบด้วยขั้นตอนในการจัดการเรียนรู้ 5 ขั้น ได้แก่ ขั้นที่ 1 สร้างความสนใจ (Motivation) ขั้นที่ 2 สำรวจและ ศึกษาบทอ่าน (Exploration) ขั้นที่ 3 วิเคราะห์บทอ่าน (Critical thinking) ขั้นที่ 4 สร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง (Construction of knowledge) ขั้นที่ 5 ประยุกต์ใช้ (Application) 4) การวัดและประเมินผลของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ และ 5) ปัจจัยสนับสนุนการจัดการเรียนรู้ 2. ประสิทธิผลของรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ MECCA ผลจากการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ พบว่า 2.1 นักเรียนกลุ่มตัวอย่างมีคะแนนเฉลี่ยความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2.2 ความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ MECCA เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการอ่าน อย่างมีวิจารณญาณสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก นอกจากนี้ การขยายผลการนำรูปแบบการจัดการเรียนรู้ไปใช้ พบว่า 1) นักเรียนกลุ่มขยายผลมีคะแนนเฉลี่ยความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ความคิดเห็นของนักเรียนกลุ่มขยายผลที่มีต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ MECCA เพื่อเสริมสร้างความสามารถ ในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก |
Description: | Doctor of Philosophy (Ph.D.) ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.) |
URI: | http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/2619 |
Appears in Collections: | Education |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
57255910.pdf | 6.65 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.