Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/2698
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributorSupattra KHUNTONGen
dc.contributorสุพัตรา ขันทองth
dc.contributor.advisorNopporn Chantaranamchooen
dc.contributor.advisorนพพร จันทรนำชูth
dc.contributor.otherSilpakorn University. Educationen
dc.date.accessioned2020-08-14T02:56:02Z-
dc.date.available2020-08-14T02:56:02Z-
dc.date.issued10/7/2020
dc.identifier.urihttp://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/2698-
dc.descriptionMaster of Education (M.Ed.)en
dc.descriptionศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (ศษ.ม)th
dc.description.abstractThis research is proposed to 1) study the levels of educational management effectiveness of schools in Lamphun primary educational service area region 2, 2) compare the levels of educational management effectiveness of schools in Lamphun primary educational service area region 2, categorized by individual factors, 3) study the influential factors of educational management effectiveness levels of schools in Lamphun primary educational service area region 2, and 4) study methods to develop educational management effectiveness of schools in Lamphun primary educational service area region 2. The sample was accumulated by using G*Power program, allowing 5 percent of errors and 0.95 power analysis, leading to 350 participants of key performance. There are 6 school principals interviewed purposively. The equipment was questionnaires of individual factors, principal administration factors, student factors, instructor factors, school environment factors, levels of educational management effectiveness factors, academic factors, budget factors, human resource factors, general administration factors, and additional comments and advice on levels of educational management effectiveness. The adapted statistics are frequency, percentage, mean, standard deviation, correlation analysis using Pearson’s Correlation Coefficient, stepwise multiple regression analysis, and content analysis. The results of this research are as follow: 1. Most individual factors of participants are 207 women; 64.69 percent, 150 teachers with 30-45 years of age; 46.88 percent, 110 Professional Level Teachers (K 2 Teachers); 34.38 percent, 92 teachers with 5-10 years of experiences; 28 percent, and 226 teachers with Bachelor’s degree; 70.63 percent. 2. The overall influential factors of educational management effectiveness levels of schools in Lamphun primary educational service area region 2 are at the most. Considering the categorized factors, principal administration factors are the first, instructor factors are the second, and student factors are the last. 3. The overall levels of educational management effectiveness of schools in Lamphun primary educational service area region 2 are at the most. Considering the categorized factors, budget factors and human resource factors are in the same average level, and academic factors and general administration factors are the second. The development guideline for education effectiveness of school under Lamphun Educational Service area office 2: students are diligent, skillful, and knowledgeable in their jobs; teachers have standardized planning skills and are able to provide good advice and be their students’ role model; principals are excellent role models and able to manage honest jobs; school environments are well-prepared as knowledge resources for all students and people in the community.en
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับประสิทธิผลในการจัดการศึกษาของโรงเรียนในสังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำพูน เขต 2 2) เพื่อเปรียบเทียบระดับประสิทธิผลในการจัดการศึกษาของโรงเรียนในสังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำพูน เขต 2 จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล 3) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิผลในการจัดการศึกษาของ โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำพูน เขต 2 4) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาประสิทธิผลในการจัดการศึกษาของ โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำพูน เขต 2 กลุ่มตัวอย่าง คือครูและผู้อำนวยการสถานศึกษาโรงเรียนในสังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำพูน เขต 2 โดยหาขนาดของตัวอย่างจากการใช้โปรแกรม G*Power ยอมให้เกิดความคลาดเคลื่อนร้อยละ 5 อำนาจการทดสอบ 0.95 จะได้ขนาดของตัวอย่าง จำนวน 350 คน ผู้ให้ข้อมูลหลัก โดยใช้การสัมภาษณ์แบบเจาะจง คือ ผู้อำนวยการโรงเรียน จำนวน 6 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถามเกี่ยวกับปัจจัยส่วนบุคคล ระดับปัจจัยด้านผู้บริหาร ด้านผู้เรียน ด้านครูผู้สอน ด้านสภาพแวดล้อมของโรงเรียน ระดับประสิทธิผลการจัดการศึกษา ด้านงานวิชาการ ด้านงานงบประมาณ ด้านงานบริหารงานบุคคล ด้านงานบริหารทั่วไป ข้อเสนอแนะและความคิดเห็นเพิ่มเติมแนวทางการพัฒนาประสิทธิผลในการจัดการศึกษา สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์สหสัมพันธ์ โดยใช้สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน การวิเคราะห์ การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1. ปัจจัยส่วนบุคคลของตัวอย่างผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง จำนวน 207 คน คิดเป็นร้อยละ 64.69 มีอายุ 30-45 ปี จำนวน 150 คน คิดเป็นร้อยละ 46.88 มีตำแหน่ง ครู คศ.2 จำนวน 110 คน คิดเป็นร้อยละ 34.38 ด้านประสบการณ์การทำงาน มีประสบการณ์การทำงาน 5-10 ปี จำนวน 92 คน คิดเป็นร้อยละ 28 มีระดับการศึกษาปริญญาตรี จำนวน 226 คน คิดเป็นร้อยละ 70.63 2. ระดับปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการจัดการศึกษาของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ลำพูน เขต 2 โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านผู้บริหาร มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมา ด้านผู้สอน ด้านสภาพแวดล้อมของโรงเรียน และด้านผู้เรียน มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ตามลำดับ 3. ระดับประสิทธิผลการจัดการศึกษาในโรงเรียน โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านงบประมาณ และด้านบริหารบุคคล มีค่าเฉลี่ยสูงสุดเท่ากัน รองลงมา ด้านวิชาการ และด้านบริหารทั่วไป มีค่าเฉลี่ย ตามลำดับ แนวทางการพัฒนาประสิทธิผลการจัดการศึกษาของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำพูน เขต 2 ด้านผู้เรียน ผู้เรียนมีความใฝ่รู้ ใฝ่เรียน มีสุขภาวะที่ดี มีความรู้และทักษะในการทำงาน ทักษะในการประกอบอาชีพ ด้านผู้สอน ครูจัดทำ แผนการเรียนรู้ให้ตรงตามมาตรฐานและทักษะการเรียนรู้ที่จำเป็นตามหลักสูตรเป็นแบบอย่างที่ดีและให้คำปรึกษาแก่นักเรียนได้ ด้านผู้บริหาร ผู้บริหารเป็นแบบอย่างที่ดี มีความยุติธรรมผู้บริหารบริหารงานด้วยความโปร่งใส ด้านสภาพแวดล้อมของโรงเรียนโรงเรียนมีสภาพแวดล้อม พร้อมในการเป็นแหล่งเรียนรู้แก่ผู้เรียน มีความสัมพันธ์อันดีกับชุมชนและสามารถร่วมกับชุมชนเพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ของชุมชนได้th
dc.language.isoth
dc.publisherSilpakorn University
dc.rightsSilpakorn University
dc.subjectประสิทธิผลth
dc.subjectการจัดการศึกษาth
dc.subjectEFFECTIVENESSen
dc.subjectEDUCATIONAL MANAGEMENTen
dc.subject.classificationSocial Sciencesen
dc.titleTHE DEVELOPMENT GUIDELINE FOR EDUCATION EFFECTIVENESS OF SCHOOL UNDER LAMPHUN EDUCATION SERVICE AREA OFFICE 2en
dc.titleแนวทางการพัฒนาประสิทธิผลการจัดการศึกษาของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำพูน เขต 2th
dc.typeThesisen
dc.typeวิทยานิพนธ์th
Appears in Collections:Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
58260312.pdf4.72 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.