Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/2699
Title: MODEL OF COMMUNITY NETWORK MANAGEMENT FOR FOOD SECURITY
รูปแบบการจัดการเครือข่ายชุมชนเพื่อความมั่นคงทางอาหาร
Authors: Naruemon DAM-ORN
นฤมล ดำอ่อน
Chaiyos Paiwithayasiritham
ไชยยศ ไพวิทยศิริธรรม
Silpakorn University. Education
Keywords: ความมั่นคงทางอาหาร
รูปแบบการจัดการเครือข่าย
เครือข่ายชุมชน
FOOD SECURITY
MODEL OF COMMUNITY NETWORK MANAGEMENT
COMMUNITY NETWORK
Issue Date:  10
Publisher: Silpakorn University
Abstract: The research aims 1) to study the model of the community network management, 2) to investigate the factors, conditions of successfulness, problems, obstacles in the community network management for food security, and 3) to develop the management models of local networks for food security. The Mixed Methods were applied in this study covering both qualitative and quantitative research using Multisite Multi-case. The findings were summarized as follows: 1. The methods in community management for food security consist of five levels: 1) the awareness and realization of community assemblage, 2) the commitment building, 3) the network management, 4) the relationship development, and 5) the relationship maintenance and continuation. 2. The results revealed that the factors, conditions of successfulness, problems, obstacles in the community network management for food security are grouped into two categories: 1) factors and conditions of success consisting of (1) the internal problems e.g. food resource of the community, leaders, community members, good management, participation, community funds, the benefits or the motivation, data management, activity, Learning resources 2) factors and conditions of difficulties combined of (1) the internal factors e.g. community environment, economic status, activity participation, and the lack of funding, and (2) the external factors e.g. the state policy, the influence of social current news and social value of outsiders. 3. Model of community network management of food security. There are five steps of network model management: 1) the perception and awareness of situations affecting food security, 2) the analysis of situations, setting up the goals, rules and disciplines, 3) network management and following the guidelines, 4) the development and adaptation to ways of community, and 5) the continued maintenance and community extension. The findings also showed that there are six important elements of the model, which consists of 1) the members/the leaders, 2) goals/objectives, 3) activities, 4) network management, 5) the promotion and communication, and 6) community funding. That all aspects were evaluated and approved. The mean ranges between 3.70-4.10, and SD is about .31-.56
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษากระบวนการจัดการเครือข่ายชุมชนเพื่อความมั่นคง ทางอาหาร 2. เพื่อศึกษาปัจจัย เงื่อนไขความสำเร็จ ปัญหา อุปสรรคของการจัดการเครือข่ายชุมชนเพื่อความมั่นคง ทางอาหาร 3. เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการเครือข่ายชุมชนเพื่อความมั่นคงทางอาหาร ซึ่งใช้วิธีการวิจัยแบบ ผสมผสาน (Mixed Methods) ระหว่างการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) และการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) โดยเป็นการวิจัยในลักษณะของพหุเทศะกรณี (Multisite Multi-case) ผลการวิจัย พบว่า 1. กระบวนการจัดการเครือข่ายชุมชนเพื่อความมั่นคงทางอาหาร ประกอบด้วย ขั้นตระหนักถึง ปัญหาและสำนึกรวมตัวเป็นเครือข่าย ขั้นสร้างพันธสัญญาร่วมกัน ขั้นการบริหารจัดการเครือข่าย ขั้นการพัฒนา ความสัมพันธ์ และขั้นการรักษาความสัมพันธ์และความต่อเนื่อง 2. ปัจจัย เงื่อนไขความสำเร็จ ปัญหา อุปสรรคของการจัดการเครือข่ายชุมชนเพื่อความมั่นคง ทางอาหาร คือ (1) ปัจจัย/เงื่อนไขความสำเร็จ ประกอบด้วย 1) ปัจจัยเงื่อนไขภายใน ได้แก่ วิกฤต/ปัญหาเกี่ยว ทรัพยากรธรรมชาติ ผู้นำ สมาชิกในชุมชน การบริหารจัดการที่ดี การมีส่วนร่วม ทุนชุมชน ผลประโยชน์/สิ่งจูงใจ การจัดการข้อมูล มีกิจกรรม แหล่งเรียนรู้ 2) ปัจจัยภายนอก ได้แก่ การส่งเสริมสนับสนุนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อย่างจริงจังและต่อเนื่อง (2) ปัจจัย/เงื่อนไขที่เป็นอุปสรรค ประกอบด้วย 1) ปัจจัยภายใน ได้แก่ สภาพแวดล้อม ของชุมชน ฐานะทางเศรษฐกิจ ความคิดและความเชื่อส่วนบุคคล การเข้าร่วมกิจกรรม ขาดงบประมาณ การศึกษาน้อย 2) ปัจจัยภายนอก ได้แก่ นโยบายของรัฐ อิทธิพลของกระแสสังคมและค่านิยมจากภายนอกชุมชน 3. รูปแบบการจัดการเครือข่ายควรประกอบด้วย 5 ขั้นตอน คือ (1) รับรู้และตระหนักถึง สถานการณ์ที่กระทบต่อความมั่นคงทางอาหาร (2) วิเคราะห์สถานการณ์ กำหนดเป้าหมายและสร้างกฎ ระเบียบ ร่วมกัน (3) การบริหารจัดการเครือข่ายและปฏิบัติตามแนวแนวทางด้วยกัน (4) การพัฒนาและปรับสู่วิถีชุมชน และ (5) การรักษาความต่อเนื่องและขยายกลุ่ม/เครือข่าย และองค์ประกอบที่สำคัญของรูปแบบการจัดการ เครือข่ายชุมชนเพื่อความมั่นคงทางอาหาร คือ 1) สมาชิก/ผู้นำ 2) เป้าหมาย/วัตถุประสงค์ 3) กิจกรรมของ เครือข่ายชุมชน 4) การบริหารจัดการเครือข่าย 5) การประชาสัมพันธ์/การสื่อสาร และ 6) ทุน ซึ่งเป็นรูปแบบ ที่ผ่านการประเมินและรับรองโดยผลการประเมินทุกด้านได้ค่าเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 3.70-4.10 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานอยู่ระหว่าง .31-.56
Description: Doctor of Philosophy (Ph.D.)
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/2699
Appears in Collections:Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
58260801.pdf4.27 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.