Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/3117
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributorPrachaya SUESATen
dc.contributorปรัชญา ซื่อสัตย์th
dc.contributor.advisorWISUD PO NEGRNen
dc.contributor.advisorวิสูตร โพธิ์เงินth
dc.contributor.otherSilpakorn University. Educationen
dc.date.accessioned2021-05-31T02:21:04Z-
dc.date.available2021-05-31T02:21:04Z-
dc.date.issued18/6/2021
dc.identifier.urihttp://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/3117-
dc.descriptionMaster of Education (M.Ed.)en
dc.descriptionศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (ศษ.ม)th
dc.description.abstractThe purposes of this research were to 1) study about fundamental information and needs to develop of learner’s development activities 2) develop learner’s development activities 3) examine the using of learner’s development activities and 4) evaluate and improve learner’s development activities. The participants consisted of 37 junior high school students who applied the puppet creation club. Research instruments were 1) focus group 2) interview form 3) learner’s development activities  4) innovator behavior observation from 5) puppet creation assessment form 6) students’ opinion survey from. The statistics used in the research were percentage, mean, standard deviation and Content  Analysis. The results were as follows. 1) The results of the study about fundamental information and needs to develop of learner’s development activities found that learner’s development activities should be divided into volumes or units based on objectives and used technology with theoretical elements in creating a series of activities. Learning activities were also organized by teachers, local philosopher. And it was measured and evaluated by teachers, peers and individuals. 2) The results of learner’s development activities based on (1) manual and learning plans (2) explanations (3) content and teaching materials and (4) measurement and evaluation with the learner’s development activities. 3) The results of using the 18-period learner’s development activities by steam education and project base learning 6 steps; (1) define topic (2) study concept (3) planning design (4) creative (5) measurement and evaluation and (6) present and build on showed that the students were innovator and puppet creation. 4) The results of evaluation and improvement of learner’s development activities revealed that (1) the innovator was at high level. (2) the puppet creation was at a very good level and (3) The student’s opinion towards the learner’s development activities was at high level. The improvement in the learners’ activities revealed that the length of learning periods should be increased and the packages in the teacher’s manual and learner’s activity package should be separated.en
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานและความต้องการในการพัฒนาชุดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน 2) เพื่อพัฒนาชุดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน 3) เพื่อทดลองใช้ชุดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน 4) เพื่อประเมินและปรับปรุงชุดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการทดลอง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ นนทบุรี ที่ลงเรียนในรายวิชากิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ชุมนุมหุ่นกระบอก ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 37 คน  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) ประเด็นการสนทนากลุ่ม 2) แบบสัมภาษณ์ 3) ชุดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน 4) แบบสังเกตพฤติกรรมความเป็นนวัตกร 5) แบบประเมินผลงานสร้างสรรค์หุ่นกระบอก 6) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียน ค่าสถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยปรากฏดังนี้ 1) ผลการศึกษาข้อมูลพื้นฐานและความต้องการนักเรียนและผู้ที่เกี่ยวข้อง ต้องการให้ชุดกิจกรรมมีลักษณะเป็นเล่ม แยกหน่วยการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ มีการใช้สื่อเทคโนโลยี มีองค์ประกอบตามหลักทฤษฎีในการสร้างชุดกิจกรรม จัดกิจกรรมการเรียนโดยครู ปราชญ์ท้องถิ่น ตลอดจนศึกษาค้นคว้าข้อมูลเพิ่มเติมด้วยตนเองด้วย และมีการวัดและประเมินผลโดยครู เพื่อน และตนเอง 2) ผลการพัฒนาชุดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน มีรูปแบบเป็นเล่ม ประกอบด้วย หน้าปก คำนำ สารบัญ คำชี้แจงการใช้ชุดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนสำหรับนักเรียน หลักการและแนวคิด กระบวนการจัดการเรียนการสอน ใบความรู้ และใบงาน โดยมีองค์ประกอบ คือ (1) คู่มือการใช้ชุดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนและแผนการจัดการเรียนรู้ (2) คำชี้แจงการใช้ชุดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน (3) เนื้อหาและสื่อการสอน และ (4) การวัดและประเมินผล จัดการเรียนรู้ตามขั้นตอนของแนวคิด STEAM ร่วมกับโครงงานเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมความเป็นนวัตกรและผลงานสร้างสรรค์หุ่นกระบอก 3) ผลการทดลองใช้ชุดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน จำนวน 18 คาบ ตามแนวคิด STEAM ร่วมกับโครงงานเป็นฐาน 6 ขั้นตอน ได้แก่ (1) ขั้นกำหนดหัวข้อ (2) ขั้นศึกษาแนวคิด (3) ขั้นออกแบบวางแผน (4) ขั้นสร้างสรรค์ผลงาน (5) ขั้นการวัดและประเมินผล และ (6) ขั้นนำเสนอและต่อยอดผลงาน พบว่านักเรียนเกิดคุณลักษณะความเป็นนวัตกร สามารถออกแบบและสร้างสรรค์ได้เหมาะสมกับเรื่อง ปลาบู่ทอง 4) ผลการประเมินและปรับปรุงชุดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน พบว่า (1) ความเป็นนวัตกรของนักเรียน อยู่ในระดับมาก (2) ผลงานสร้างสรรค์หุ่นกระบอกของนักเรียน อยู่ในระดับดีมาก และ (3) ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อชุดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน อยู่ในระดับมาก ทั้งนี้ควรมีการปรับปรุงชุดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน โดยการเพิ่มระยะเวลาในการจัดการเรียนรู้ และแยกชุดกิจกรรมเป็นคู่มือสำหรับครูและชุดกิจกรรมสำหรับนักเรียนth
dc.language.isoth
dc.publisherSilpakorn University
dc.rightsSilpakorn University
dc.subjectชุดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนth
dc.subjectสตีมth
dc.subjectโครงงานเป็นฐานth
dc.subjectความเป็นนวัตกรth
dc.subjectผลงานสร้างสรรค์หุ่นกระบอกth
dc.subjectLearner' s development activitiesen
dc.subjectSTEAM Educationen
dc.subjectProject Based Learningen
dc.subjectInnovatoren
dc.subjectPuppet Creationen
dc.subject.classificationSocial Sciencesen
dc.titleTHE DEVELOPMENT OF LEARNER' S DEVELOPMENT ACTIVITIES BASED ON STEAM EDUCATION AND PROJECT BASED LEARNING TO ENHANCE INNOVATOR AND PUPPET CREATION FOR JUNIOR HIGH SCHOOL STUDENTSen
dc.titleการพัฒนาชุดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน โดยใช้การจัดการเรียนรู้ตามแนวคิด STEAM ร่วมกับโครงงานเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมความเป็นนวัตกรและผลงานสร้างสรรค์หุ่นกระบอก สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นth
dc.typeThesisen
dc.typeวิทยานิพนธ์th
Appears in Collections:Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
60263317.pdf14.08 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.