Please use this identifier to cite or link to this item:
http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/312
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.author | พสุนนท์, ประสพชัย | - |
dc.contributor.author | Pasunon, Prasopchai | - |
dc.date.accessioned | 2017-08-26T02:39:35Z | - |
dc.date.available | 2017-08-26T02:39:35Z | - |
dc.date.issued | 2558-12-22 | - |
dc.identifier.uri | http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/312 | - |
dc.description | 55604815 ; สาขาวิชาการจัดการ -- ประสพชัย พสุนนท์ | en_US |
dc.description.abstract | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อค้นหาความหมายของประสิทธิภาพการดำเนินงานสหกรณ์ ออมทรัพย์และยืนยันความสำคัญของตัวชี้วัดการดำเนินงานของสหกรณ์ออมทรัพย์ 2) เพื่อพัฒนาและคัดเลือก ตัวชี้วัดเชิงคุณภาพและตัวชี้วัดเชิงปริมาณของการดำเนินงานของสหกรณ์ออมทรัพย์ 3) เพื่อประเมินสมรรถนะ การดำเนินงานของสหกรณ์ออมทรัพย์สถาบันอุดมศึกษาในเขตกรุงเทพมหานครจากตัวชี้วัดเชิงคุณภาพ และประเมิน ประสิทธิภาพการดำเนินงานจากตัวชี้วัดเชิงปริมาณ 4) เพื่อพัฒนาและนำเสนอวิธีการบูรณาการการนำตัวชี้วัดเชิง คุณภาพและตัวชี้วัดเชิงปริมาณใช้เป็นเครื่องมือในการดำเนินงานของสหกรณ์ออมทรัพย์ และ 5) เพื่อจัดทำ ข้อเสนอแนะสำหรับแนวทางในการประเมินสมรรถนะและประสิทธิภาพการดำเนินงานจากตัวชี้วัด การวิจัยนี้เป็น การวิจัยแบบพหุวิธีด้วยระเบียบวิธีการวิจัยเชิงเอกสาร วิธีการสร้างทฤษฎีฐานราก วิธีการเดลฟายฟัซซี การประยุกต์ ทฤษฎีเกรย์ วิธีการ DEA (Data Envelopment Analysis) จากตัวแบบ CCR และตัวแบบ BCC และการประชุม เพื่อจัดทำข้อเสนอแนะ ในการค้นหาความหมายของประสิทธิภาพการดำเนินงานและจัดทำตัวชี้วัดสหกรณ์ออม ทรัพย์มีผู้ให้ข้อมูลจำนวน 24 คน และเลือกใช้สหกรณ์ออมทรัพย์สถาบันอุดมศึกษาในเขตกรุงเทพมหานครจำนวน 13 แห่งในการประเมินสมรรถนะและประสิทธิภาพการดำเนินงาน โดยมีผู้ประเมินจำนวน 5 คนในการให้คะแนน จากตัวชี้วัดเชิงคุณภาพ ผลการวิจัยพบว่า 1) ความหมายของประสิทธิภาพการดำเนินงานของสหกรณ์ออมทรัพย์มี 3 ความหมาย คือ การเป็นสถาบันอันเป็นที่พึ่งของสมาชิก การเป็นสถาบันที่เป็นกระบวนการสหกรณ์ และการเป็น สถาบันทางการเงิน 2) ตัวชี้วัดเชิงคุณภาพ คือ ตัวชี้วัด SMAARTS ประกอบด้วยด้านโครงสร้างการบริหาร ด้านการ จัดการ (ผู้จัดการ กลยุทธ์ บุคลากร และกระบวนการ) ด้านระเบียบปฏิบัติ ด้านสินทรัพย์ ด้านความเสี่ยง ด้านความ เชื่อมั่นของสมาชิก และด้านความพอเพียง ส่วนตัวชี้วัดเชิงปรมาณประกอบด้วยปัจจัยผลผลิตมี 4 ตัวแปร คือ เงินสด และเงินฝาก ลูกหนี้เงินให้กู้สุทธิ รายได้ทั้งสิ้น และเงินลงทุนทั้งสิ้น และปัจจัยนำเข้ามี 3 ตัวแปร คือ เงินรับฝากจาก สมาชิก ค่าใช้จ่ายทั้งสิ้น และทุนสหกรณ์ 3) ผลการประเมินสมรรถนะการดำเนินงานจากตัวชี้วัดเชิงคุณภาพ พบว่ามี 6 สหกรณ์ที่มีสมรรถนะ และเมื่อประเมินด้วยตัวชี้วัดเชิงปริมาณ พบว่ามี 10 และ 12 สหกรณ์ที่มีประสิทธิภาพจาก ตัวแบบ CCR และตัวแบบ BCC ตามลำดับ 4) ผลการบูรณาการการนำตัวชี้วัดเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณใน รูปกราฟ 2 มิติ สามารถแบ่งกลุ่มสหกรณ์ออกเป็น 4 กลุ่ม ตามความมี/ไม่มีประสิทธิภาพจากตัวชี้วัดเชิงคุณภาพและ เชิงปริมาณ และ และ 5) ข้อเสนอแนะจากการประชุมร่วมกับคณะผู้ทรงคุณวุฒิ พบว่ามีแนวการดำเนินการ 5 ประการ ในการประเมินสมรรถนะและประสิทธิภาพการดำเนินงานจากตัวชี้วัด คือ การสร้างการรับรู้และการ ยอมรับ การนำระบบสารสนเทศมาใช้ในการดำเนินงาน การพัฒนาที่ยั่งยืน การขยายขอบเขตการวิจัย และการ ผสานระบบและสร้างเครือข่ายตัวชี้วัด The objectives of this research were: 1) to seek the definition of operational efficiency and to confirm the importance of the performance indicators for savings and credit cooperatives; 2) to develop and assort the qualitative and quantitative indicators for savings and credit cooperatives; 3) to evaluate the operational performance of savings and credit cooperatives universities in Bangkok area, Thailand by using qualitative indicators and to evaluate their operational efficiency by using quantitative indicators; 4) to develop and present a means of integrating both qualitative and quantitative indicators as an operational tool for savings and credit cooperatives; and 5) to make suggestions for approach of evaluate the operational performance and efficiency in savings and credit cooperatives. This research was multi-method and used document analysis, the grounded theory method, the Fuzzy Delphi method, the Grey theory application, the DEA method from the CCR and BCC models, as well as material for research suggestions from the meetings. Twenty-four savings and credit cooperatives participants were selected from thirteen universities to evaluate operational performance and efficiency. This process included five assessors to appraise the qualitative indicators for each participant. The results found that: 1) There are three meanings regarding the efficiency of savings and credit cooperatives: that the institution supports its members, that the institution is categorically run by cooperative procedures, and that it is a financial institution; 2) The qualitative indicators used are the SMAARTS indicators, which are comprised of structure, management (including manager, strategic, staff and procedural), agreement, assets, risks, trust, and sufficiency. The quantitative indicators are comprised of input and output factors, where output factors include cash and bank deposits, loans receivable net, and total revenue and investment. Input factors include deposits from members, total expenses, and cooperative share capital; 3) By evaluating the performance from qualitative indicators it was found that six of the participating cooperatives have high performance. However, when evaluated using the quantitative indicators, it was found that there were ten and twelve cooperatives that were considered to be efficient, using the CCR and BCC models respectively; 4) The results of the integration of qualitative and quantitative analysis, when put into a 2-dimensional graph, found that the cooperatives can be classified into four groups, based on being efficient or not from the qualitative and quantitative indicators; and 5) Suggestions to approach of evaluate the operational performance and efficiency of savings and credit cooperatives include the operation path five ways, which are: creating perceived and acceptance, using information technology for operation, sustainable development, extending research scope and integrating systems, and creating the indicators network. | en_US |
dc.language.iso | other | en_US |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยศิลปากร | en_US |
dc.subject | สหกรณ์ออมทรัพย์ | en_US |
dc.subject | สมรรถนะ | en_US |
dc.subject | ประสิทธิภาพ | en_US |
dc.subject | การดำเนินงาน | en_US |
dc.subject | SAVINGS AND CREDIT COOPERATIVES | en_US |
dc.subject | PERFORMANCE | en_US |
dc.subject | EFFICIENCY | en_US |
dc.subject | OPERATION | en_US |
dc.title | การประเมินสมรรถนะและประสิทธิภาพการดำเนินงานของสหกรณ์ออมทรัพย์: กรณีศึกษาสหกรณ์ออมทรัพย์สถาบันอุดมศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร | en_US |
dc.title.alternative | AN EVALUATION OF THE OPERATIONAL PERFORMANCE AND EFFICIENCY FOR THE SAVINGS AND CREDIT COOPERATIVES: A CASE STUDY OF THE UNIVERSITY SAVINGS AND CREDIT COOPERATIVES IN BANGKOK AREA, THAILAND | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
Appears in Collections: | Management Sciences |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
1_หน้าปกนอก ไทย.pdf | 3 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.