Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/3173
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributorChanida CHANKHLONGMAIen
dc.contributorชนิดา จันทร์คลองใหม่th
dc.contributor.advisorPheereeya boonchaiyaprueken
dc.contributor.advisorพีรียา บุญชัยพฤกษ์th
dc.contributor.otherSilpakorn University. Architectureen
dc.date.accessioned2021-07-09T09:46:38Z-
dc.date.available2021-07-09T09:46:38Z-
dc.date.issued2/7/2021
dc.identifier.urihttp://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/3173-
dc.descriptionMaster of Urban and Environmental Planning (M.U.E.P)en
dc.descriptionการวางแผนชุมชนเมืองและสภาพแวดล้อมมหาบัณฑิต (ผ.ม.)th
dc.description.abstractToday’s technological developments have implications on the way of people’s life, not only in the economic system but also in people’s quality of life. In recent years, there has been a continuous growth of e-Commerce which is the consumption of products in the form that apply electronic media to buy or sell products through the internet. The research from the literature review shows that e-Commerce has an effect on the urban fabric, for example; e-Commerce has disrupted the Central Business District’s role; Affecting changes in travel pattern or differentiation the consumption behavior between in habitant in various part of city. However, current research in Thailand has not been extensively studied on the topic of online consumption behavior of different residents of the urban structure therefore this research aims to understand the consumption behavior of people civic, in different sort of urban structure this thus apply it in the urban development in line with the changing trends in consumption from the technological developments and e-Commerce in the future. The research applied a quantitative study of questionnaires on online consumer product consumption in Bangkok where had the most significant implications for online consumption. (Marketeeronline, 2019; Ministry of Commerce, 2019) It also explores the behavior of products consuming at the store, the behavior of shopping online it then compares, the relationships between product consumption behavior of people civic in different urban structures such as the urban and suburb areas. The analysis of 401 questionnaires was used by descriptive statistics to analyze the data of samples and inferential statistics to study the relationships between variables. The research found that most online consumers are in the working age (aged rank 24-35 years) or Gen Y who live in both inner city area and suburb area. Such group is the significant purchasing power and various consuming preference. Urban residents prefer to shop closer to their home than suburb residents and have a slightly greater frequency of shopping. Suburb residents are prefer to slightly more shop online than inner city. However, the analysis of relationship between urban structure in the residential area, building type, land use area, and accessibility have no significant effect on online shopping behavior. This is because online consumers buy products at the store in conjunction with online shopping, though the growth of online shopping mainly affects their purchasing behavior at the store. The urban structure should be considered as a contributing factor to the analysis, but urban structures are not the only factors affecting product consumption behavior such as land rental, social factors of consumers, etc. The research results can be applied to master planning or urban development policies for commercial in the future.en
dc.description.abstractการพัฒนาเทคโนโลยีในปัจจุบันมีผลต่อวิถีชีวิตของผู้คนทั้งในระบบเศรษฐกิจ และคุณภาพชีวิตของประชาชน โดยที่ผ่านมามีการเติบโตอย่างต่อเนื่องของการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (e-Commerce) ซึ่งเป็นการบริโภคสินค้าในรูปแบบที่ใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ในการซื้อหรือขายสินค้าผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต จากการทบทวนวรรณกรรมพบว่าการเพิ่มขึ้นของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ส่งผลกระทบต่อเมือง เช่น การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ทำให้บทบาทศูนย์กลางค้าของเมืองลดลง มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการเดินทาง หรือพฤติกรรมการบริโภคสินค้าในกลุ่มผู้อยู่อาศัยในพื้นที่ที่มีโครงสร้างเมืองที่ต่างกัน อย่างไรก็ตามปัจจุบันงานวิจัยในประเทศไทยมีการศึกษาในหัวข้อการบริโภคทางออนไลน์ในประเด็นเกี่ยวกับเมืองอย่างไม่กว้างขวางนัก งานวิจัยนี้จึงมีจุดมุ่งหมายในการศึกษาพฤติกรรมการบริโภคสินค้าของผู้อยู่อาศัยในโครงสร้างเมืองที่แตกต่างกัน เช่น ในพื้นที่เขตเมืองและพื้นที่เขตชานเมือง เพื่อช่วยให้เข้าใจพฤติกรรมการบริโภคสินค้าและพฤติกรรมการใช้พื้นที่พาณิชยกรรมของผู้คนและสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาเมืองที่สอดคล้องกับแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงในการบริโภคจากการพัฒนาเทคโนโลยีและพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในอนาคตต่อไปได้ การวิจัยนี้ใช้การศึกษาเชิงปริมาณจากการใช้แบบสอบถามเกี่ยวกับการบริโภคสินค้าของผู้บริโภคออนไลน์ในพื้นที่กรุงเทพมหานครซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีการบริโภคออนไลน์มากที่สุด (Marketeeronline, 2562; กองดัชนีเศรษฐกิจการค้า สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า กระทรวงพาณิชย์, 2562) เพื่อสำรวจคุณลักษณะ พฤติกรรมการซื้อสินค้าที่ร้านค้า พฤติกรรมการซื้อสินค้าทางออนไลน์ เปรียบเทียบ วิเคราะห์ และหาความสัมพันธ์ของพฤติกรรมการบริโภคสินค้าโดยพิจารณาจากที่อยู่อาศัยในโครงสร้างเมืองแตกต่างกันของพื้นที่เขตเมืองและเขตชานเมือง โดยการวิเคราะห์จากแบบสอบถาม 401 ตัวอย่างด้วยวิธีทางสถิติเชิงพรรณนา เกี่ยวกับข้อมูลของกลุ่มตัวอย่าง และสถิติเชิงอนุมานเพื่อศึกษาหาความสัมพันธ์ของตัวแปรต่าง ๆ โดยผลการวิจัยพบว่า ผู้บริโภคสินค้าออนไลน์ส่วนใหญ่เป็นวัยทำงาน (อายุช่วง 24 – 35 ปี) หรือช่วง Gen Y ทั้งในเขตเมืองและเขตชานเมือง ซึ่งเป็นวัยที่มีอำนาจในการตัดสินใจในการซื้อสินค้า และมีพฤติกรรมการบริโภคสินค้าที่แตกต่างกันโดยพบว่าผู้ที่อยู่อาศัยในเขตเมืองนิยมใช้บริการร้านค้าที่ใกล้บ้านมากกว่าผู้อยู่อาศัยในเขตชานเมืองและมีความถี่ในการใช้บริการร้านค้ามากกว่าเล็กน้อย ส่วนผู้ที่อยู่อาศัยในเขตชานเมืองมีความถี่การซื้อสินค้าทางออนไลน์มากกว่าผู้อยู่อาศัยในเขตเมืองเล็กน้อย และเมื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของโครงสร้างเมืองทางกายภาพในด้านเขตที่อยู่อาศัย ประเภทที่อยู่อาศัย ย่านที่อยู่อาศัย การเข้าถึงร้านค้า พบว่าไม่มีผลต่อพฤติกรรมการซื้อสินค้าออนไลน์อย่างมีนัยสำคัญ เนื่องจากผู้บริโภคออนไลน์ยังมีการซื้อสินค้าที่ร้านค้าควบคู่ไปกับการซื้อสินค้าออนไลน์ แต่มีผลต่อพฤติกรรมการซื้อสินค้าที่ร้านค้าเป็นส่วนใหญ่ ดังนั้นการประกอบกิจการพาณิชยกรรมประเภทร้านค้าปลีก ควรคำนึงถึงโครงสร้างเมืองเป็นปัจจัยในการวิเคราะห์ร่วมด้วย อย่างไรก็ตามโครงสร้างเมืองไม่ใช่ปัจจัยเพียงปัจจัยเดียวที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการบริโภคสินค้า อาจมีปัจจัยภายนอกที่ส่งผลร่วมด้วย เช่น ค่าเช่าที่ดิน ปัจจัยทางสังคมของผู้บริโภค เป็นต้น โดยผลการวิจัยสามารถนำไปใช้ในการวางผังแม่บทหรือการกำหนดนโยบายการพัฒนาเมืองด้านพาณิชยกรรมต่อไปในอนาคตได้th
dc.language.isoth
dc.publisherSilpakorn University
dc.rightsSilpakorn University
dc.subjectการบริโภคออนไลน์th
dc.subjectโครงสร้างเมืองth
dc.subjectOnline shoppingen
dc.subjectUrban structureen
dc.subject.classificationSocial Sciencesen
dc.titleThe Relationship between Urban Structure and Online Shoppingen
dc.titleความสัมพันธ์ของโครงสร้างเมืองกับการบริโภคออนไลน์th
dc.typeIndependent Studyen
dc.typeการค้นคว้าอิสระth
Appears in Collections:Architecture

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
59058302.pdf6.49 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.