Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/324
Title: ผลของทองแดงในการบำบัดน้ำที่มีออกซีเตตราซัยคลินโดยต้นธูปฤาษี
Other Titles: EFFECT OF COPPER ON THE TREATMENT OF OXYTETRACYCLINE CONTAMINATED WATER BY THE NARROW-LEAVED CAT-TAIL (Typna angustifolia L.)
Authors: สิงห์เถื่อน, พรรณราย
Singthuan, Phannarai
Keywords: การสะสม
ออกซีเตตราซัยคลิน
คอปเปอร์คลอไรด์
ต้นธูปฤาษี
BIOCONCENTRATION
OXYTETRACYLINE
COPPER CHLORIDE
THE NARROW LEAF CAT-TAIL (Typna angutifolia L.)
Issue Date: 5-Oct-2558
Publisher: มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract: งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบการสะสมออกซีเตตราซัยคลินของต้นธูปฤาษีจากน้ำที่มีออกซีเตตราซัยคลินเพียงอย่างเดียวกับจากน้ำที่มีทั้งออกซีเตตราซัยคลินและทองแดงปนเปื้อน และศึกษาประสิทธิภาพของต้นธูปฤาษีในการบำบัดออกซีเตตราซัยคลินในน้ำทั้งสองชนิดนั้น ในการทดลองใช้ออกซีเตตราซัยคลินความเข้มข้น 40 มก./ลิตร และคอปเปอร์คลอไรด์ 10 มก./ลิตร และแบ่งการทดลองเป็น 5 ชุดได้แก่ การทดลองชุดควบคุม การทดลองที่ปลูกต้นธูปฤาษีในน้ำที่มีเพียงออกซีเตตราซัยคลินอย่างเดียว (ไม่มีทองแดง) และที่ปลูกในน้ำที่มีทั้งออกซีเตตราซัยคลินและทองแดง และการทดลองการสลายตัวของออกซีเตตราซัยคลินในน้ำที่ไม่มีทองแดงและที่มีทองแดง การทดลองการสะสมออกซีเตตราซัยคลินในต้นธูปฤาษีใช้เวลา 15 วันที่อุณหภูมิ 27 ºซ ผลการทดลองพบว่ามีการสะสมออกซีเตตราซัยคลินทั้งในรากและลำต้นแสดงว่าเกิดการเคลื่อนย้ายสารจากรากสู่ลำต้นได้ แต่การตรวจพบออกซีเตตราซัยคลินในลำต้นเกิดขึ้นเมื่อการทดลองผ่านไป 3 วันแสดงว่าการเคลื่อนย้ายเกิดได้ค่อนข้างช้า สำหรับค่าการสะสมออกซีเตตราซัยคลิน (Bioconcentration Factor หรือ BCF) ในต้นธูปฤาษีที่ปลูกในน้ำที่ไม่มีทองแดง (5.01 ลิตร/กก.น้ำหนักแห้งของพืช) มีค่าสูงกว่าที่พบในการทดลองที่มีทองแดงในน้ำ (3.75 ลิตร/กก.น้ำหนักแห้งของพืช) ส่วนการศึกษาการสลายตัวของออกซีเตตราซัยคลินพบว่าทองแดงไม่มีผลต่อการสลายตัวของออกซีเตตราซัยคลินในน้ำ เมื่อคำนวณประสิทธิภาพในการบำบัดออกซีเตตราซัยคลินของต้นธูปฤาษีขณะที่น้ำไม่มีทองแดงมีค่าเท่ากับ 89% และเมื่อมีทองแดงประสิทธิภาพในการบำบัดเท่ากับ 88 % จึงสรุปว่าทองแดง 10 มก./ลิตร ที่ปนเปื้อนในน้ำแทบจะไม่ทำให้ประสิทธิภาพในการบำบัดน้ำเปลี่ยนแปลงไป และต้นธูปฤาษีสามารถใช้บำบัดน้ำที่มีออกซีเตตราซัยคลินได้ดี The objective of the study was to investigate the effect of copper on the treatment of oxytetracycline contaminated water by the narrow leaf cat-tail (Typha angustifolia L.). The oxytetracycline and copper chloride concentrations used in the experiments were 40 and 10 mg/L respectively. The study had conducted five experiments: the control experiment, the bioaccumulation of oxytetracycline from water with and without copper and the degradation experiments for oxytetracycline in water with and without copper. The 15 days experiment on oxytetracycline accumulation in the narrow leaf cat-tail had performed at 27oC and the result showed the concentrations of oxytetracycline in shoot 3 days after commencing the experiments. This indicated the slow translocation of oxytetracycline from root to shoot. For the bioconcentration factor (BCF), the BCF values obtained from the experiment without copper (the highest BCF value was 5.01 L/kg) were higher than those found in the experiment with copper (the highest BCF value was 3.75 L/kg). In addition, the experiments on oxytetracycline degradation in water showed that the present of copper did not affect the degradation of oxytetracycline in water. The efficiency of the narrow-leaved cat-tail to remove oxytetracycline from water without copper contamination was 89 percent while the OTC removal efficiency from water with copper was 88 percent. This result indicated that the copper had little effect on the treatment of water which contaminated with oxytetracycline. Besides, the narrow-leaved cat-tail could be used to treat oxytetracycline contaminated water.
Description: 55311312 ; สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม -- พรรณราย สิงห์เถื่อน
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/324
Appears in Collections:Science

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
พรรณราย.pdf2.68 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.