Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/342
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorแจ่มจำรัส, จันทิมา-
dc.contributor.authorJamjumrus, Jantima-
dc.date.accessioned2017-08-26T03:08:37Z-
dc.date.available2017-08-26T03:08:37Z-
dc.date.issued2559-07-15-
dc.identifier.urihttp://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/342-
dc.description57602704 ; หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต -- จันทิมา แจมจํารัสen_US
dc.description.abstractงานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการให้ความหมาย ที่มาของความหมาย การประกอบอาชีพผู้ช่วยพยาบาล ศึกษาแรงจูงใจในการเข้าสู่การประกอบอาชีพผู้ช่วยพยาบาล และศึกษาทัศนะการเข้าสู่การประกอบอาชีพผู้ช่วยพยาบาล มหาวิทยาลัยสยาม เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยวิธีปรากฏการณ์วิทยา โดยผู้วิจัยเก็บข้อมูลภาคสนามด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกจากนักศึกษาผู้ช่วยพยาบาล มหาวิทยาลัยสยาม จำนวน 30 คน และอาจารย์สาขาผู้ช่วยพยาบาล มหาวิทยาลัยสยาม จำนวน 3 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลคือ แนวคำถามการสัมภาษณ์ปลายเปิด เครื่องบันทึกเสียง และสมุดจดบันทึก ผู้วิจัยวิเคราะห์ข้อมูลด้วยพรรณนาวิเคราะห์ (Descriptive Analysis) ผลการศึกษาพบว่าการให้ความหมายของคำว่าผู้ช่วยพยาบาลแบ่งเป็น 3 ประเภทดังนี้ 1) บุคคลที่มีความเมตตากรุณา เป็นอาชีพช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ที่มีความเจ็บป่วยทางด้านร่างกายและจิตใจ 2) บุคลากรให้การพยาบาลขั้นพื้นฐาน ภายใต้การนิเทศของพยาบาลวิชาชีพ 3) ดูแลกิจวัตรประจำวันทั่วๆไปของผู้ป่วย รวมทั้งดูแลจัดเตรียมสถานที่สิ่งแวดล้อม และเก็บรักษาเครื่องมือทางการแพทย์ให้พร้อมใช้งาน โดยมีที่มาจากประสบการณ์การดำเนินชีวิตซึ่งได้มาจากครอบครัว การศึกษา การติดตามข่าวสารจากสื่อต่างๆ รวมทั้งการฝึกงานตามโรงพยาบาล ด้านแรงจูงใจในการเข้าสู่อาชีพผู้ช่วยพยาบาลพบว่า 1) ทำให้มีรายได้มั่นคง 2) มีความมั่นคงปลอดภัยในอาชีพ 3) เป็นอาชีพที่ได้รับการยอมรับจากสังคม 4) เป็นการหารายได้พิเศษเพิ่มเติมได้ง่าย 5) เป็นอาชีพที่สามารถนำความรู้ไปเรียนต่อเพื่อเป็นพยาบาลและนำความรู้ไปดูแลบุคคลในครอบครัวได้ 6) เป็นงานที่ท้าทายความความสามารถ รวมทั้งปัญหาและอุปสรรคในระหว่างเรียนของนักศึกษาผู้ช่วยพยาบาลแบ่งเป็น 2 ด้าน ดังนี้ 1) การปรับตัวเข้ากับผู้อื่น 2) การขาดความรู้เกี่ยวกับศัพท์แพทย์ และนักศึกษาผู้ช่วยพยาบาลมีทัศนะในการเข้าสู่ประกอบอาชีพผู้ช่วยพยาบาลดังนี้ 1) เกิดจากมีบุคลิกภาพสนใจสังคม สัมพันธภาพระหว่างบุคคลดี มีความรับผิดชอบ ควบคุมอารมณ์ตนเองได้ดีรวมทั้งรองรับความกดดันได้ในทุกสถานการณ์ 2) เกิดจากค่านิยมของบุคคลในครอบครัว 3) เพื่อผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ 4) เพื่อปฏิสัมพันธ์ทางสังคม ซึ่งนักศึกษาผู้ช่วยพยาบาลมีมุมมองว่าสามารถเป็นผู้ช่วยพยาบาลที่ดีต่อไปในอนาคตได้ This is the qualitative research (phenomenological research) that aimed to study the social construction of meaning, motivation, and viewpoint toward occupation of practical nurse(PN) students of Siam University. The field survey was done to collect the data by using an in-depth interview from 30 PN students and 3PN instructors of the University. The tools of the study are the open ended questions, the voice recorder, and the notebook. The descriptive analysis was used in analyzing the data. The study results found that the social construction of meaning of PN has been categorized into 3 types as follows: 1) A person who is kind and generous, helping people with both physical and mental illnesses 2) A person who provides primary nursing care under the supervision of a registered nurse 3) A person who take daily care routine of patients and prepare place environment and the medical supplies. All of these meanings comprised of their life experiences from family, education, news media and the practice in the hospital. The motivation for choosing PN as a career were: 1) Financial security 2) Career security 3) Social acceptance 4) Opportunity to earn an extra income 5) Applied knowledge for further study in nursing and can use this knowledge for take care of your family,too 6) Career challenge. The obstacles during the study of PN are 1) The adaptation to others 2) The lack of knowledge relating to medical terms and the viewpoint of PN students in choosing this career derived from: 1) Their personality traits such as sociable, good interrelationship, responsible, good self-control and the ability to work under pressure in all circumstances 2) Family Values 3) Economic returns 4) The social interaction as the PN students viewed that they could be a good PN in the future.en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยศิลปากรen_US
dc.subjectการให้ความหมายen_US
dc.subjectแรงจูงใจen_US
dc.subjectทัศนะen_US
dc.subjectCONSTRUCTION OF MEANINGen_US
dc.subjectMOTIVATIONen_US
dc.subjectVIEWPOINTen_US
dc.titleการให้ความหมาย แรงจูงใจ และทัศนะการเข้าสู่การประกอบอาชีพ ของนักศึกษาผู้ช่วยพยาบาล มหาวิทยาลัยสยามen_US
dc.title.alternativeSOCIAL CONSTRUCTION OF MEANING, MOTIVATION AND VIEWPOINT’S TOWARDS OCCUPATION OF PRACTICAL NURSE STUDENT OF SIAM UNIVERSITYen_US
dc.typeThesisen_US
Appears in Collections:Management Sciences

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
จันทิมา.pdf1.48 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.