Please use this identifier to cite or link to this item:
http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/350
Title: | การศึกษาความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยบางประการที่ส่งผลต่อ ความต้องการบ้านจัดสรรแบบประหยัดพลังงาน |
Other Titles: | AN ANALYSIS CAUSAL RELATIONSHIP BETWEEN SOME FACTORS AFFECTING DECISION OF THE ECOLOGY HOUSE ESTATE STYLE |
Authors: | ปัญจมาพร, อมรรัตน์ Panjamaphon, Amornrat |
Keywords: | ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ ความต้องการบ้านจัดสรร บ้านแบบประหยัดพลังงาน CAUSAL RELATIONSHIP DEMAND OF HOUSE ESTATE ECOLOGY HOUSE STYLE |
Issue Date: | 14-Jun-2559 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยศิลปากร |
Abstract: | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษาความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยบางประการที่ส่งผลต่อความต้องการบ้านจัดสรรแบบประหยัดพลังงานและตรวจสอบความสอดคล้องระหว่างโมเดลโครงสร้างองค์ประกอบความต้องการบ้านจัดสรรแบบประหยัดพลังงานกับข้อมูลเชิงประจักษ์ กลุ่มตัวอย่าง คือ กลุ่มผู้บริโภคที่มีอายุตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไปและมีความสนใจหรือ ความต้องการบ้านจัดสรรแบบประหยัดพลังงานจำนวน 400 ตัวอย่าง และใช้การสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยบางประการที่ส่งผลต่อความต้องการบ้านจัดสรรแบบประหยัดพลังงาน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติสำหรับการทดสอบสมมติฐานของการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน ได้แก่ ค่า KMO และค่า Barlett’s test of sphericity ส่วนสถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐานผู้วิจัยใช้ดัชนีชี้วัดความกลมกลืน 7 ดัชนี ประกอบด้วย ค่าไค-สแควร์ ค่า GFI ค่า AGFI ค่า CFI ค่า NFI ค่า RMSEA และค่า SRMR ผลการวิจัย พบว่า การทดสอบสมมติฐานของการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน พิจารณาความเหมาะสมของข้อมูลนำมาวิเคราะห์องค์ประกอบในภาพรวมของข้อมูลทั้งหมด ค่า KMO เท่ากับ 0.857 แสดงว่าข้อมูลในภาพรวมมีความเหมาะสม ส่วนสถิติทดสอบมีการแจกแจงโดยประมาณแบบไคสแควร์ เท่ากับ 19,410.383 โดยวิธี Barlett’s test of sphericity ค่า Sig. เท่ากับ 0.000 ต่ำกว่าระดับนัยสำคัญที่กำหนดเท่ากับ 0.05 () แสดงตัวแปรสังเกตได้ไม่เป็นอิสระ จึงสามารถใช้เทคนิคการวิเคราะห์องค์ประกอบได้ ส่วนปัจจัยที่ส่งผลต่อความต้องการบ้านจัดสรรแบบประหยัดพลังงานประกอบด้วย 3 ปัจจัย ดังนี้ ปัจจัยด้านรสนิยม มีค่าสัมประสิทธิ์อิทธิพลเท่ากับ 0.33 ปัจจัยด้านส่วนประสมทางการตลาด มีค่าสัมประสิทธิ์อิทธิพลเท่ากับ 0.27 และปัจจัยด้านตราสินค้า มีค่าสัมประสิทธิ์อิทธิพลเท่ากับ 0.24 ตามลำดับ สำหรับผลการตรวจสอบโมเดลโครงสร้างองค์ประกอบของความสอดคล้องระหว่างความต้องการบ้านจัดสรรแบบประหยัดพลังงานกับข้อมูลเชิงประจักษ์ พบว่า โมเดลมีความสอดคล้องกลมกลืนและผ่านเกณฑ์ที่กำหนด โดยสามารถพิจารณาได้จากค่าสถิติไค-สแควร์ (Chi-square : 2) มีค่าเท่ากับ 35.76 ที่องศาอิสระของการทดสอบความกลมกลืนในภาพรวม(df) มีค่าเท่ากับ 38 ทำให้ได้ค่าสถิติไค-สแควร์สัมพัทธ์ (2/df) มีค่าเท่ากับ 0.941 ค่า GFI มีค่าเท่ากับ 0.990 ค่า AGFI มีค่าเท่ากับ 0.960 ค่า CFI มีค่าเท่ากับ 1.000 ค่า NFI มีค่าเท่ากับ 0.990 ค่า RMSEA มีค่าเท่ากับ 0.000 และค่า SRMR มีค่าเท่ากับ 0.036 This research aimed to study causal relationship between some factors that affected to demand of the ecology house estate style and examine concordance between structures model of the demand of the ecology house estate style and empirical data. Samples of this research were the consumers aged 20 years and above. It interested or demanded the ecology house estate style 400 samples. The tools used in this research were the questionnaire about causal relationship between some factors that affected to demand of the ecology house estate style.The statistics were frequency, Percentage, mean and standard deviation. Statistics for testing the hypothesis of confirmatory factor analysis. It included KMO value and Barlett’s test of sphericity value. For the statistic used in hypothesis testing was 7 indicators harmony index. It included Chi - square, GFI, AGFI CFI, NFI, RMSEA and SRMR. The results showed that the testing hypothesis of confirmatory factor analysis. It Considered the appropriateness of the data used to analyze elements in the whole of data. KMO was equal to 0.857, indicating that the whole of data were appropriate for using elements analysis. For Barlett’s test of sphericity included approximation Chi-square was equal to 19,410.383. Sig. value was equal to 0.000 and It was lower than the significance level at 0.05 (). It could summary that reject H0 was observed variables were independent. It was used to analyze elements. The factors that affected to demand of the ecology house estate style consist of three factors: Influence coefficient of taste factor was 0.33. Influence coefficient of marketing mix factor was 0.27. And Influence coefficient of brand factors was 0.24. For model fit testing between demand of the ecology house estate style and empirical data found that Models that are in harmony with the empirical data and criteria. It could be seen from the Chi-square (2) was equal to 35.76 and degree of freedom of the overall image harmony examination (df) was equal to 38. It affected to Relative Chi-square (2/df) was equal to 0.941. GFI was equal to 0.990. AGFI was equal to 0.960. CFI was equal to 1.000. NFI was equal to 0.990. RMSEA was equal to 0.000. And SRMR was equal to 0.036. |
Description: | 57602761 ; หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต -- อมรรัตน์ ปัญจมาพร |
URI: | http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/350 |
Appears in Collections: | Management Sciences |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
อมรรัตน์.pdf | 8.12 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.