Please use this identifier to cite or link to this item:
http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/3525
Title: | MANAGEMENT STRATEGIES FOR LOCAL SUFFICIENCY SCHOOL FOCUSING ON LEARNING OUTCOMES TOWARDS SUSTAINABLE DEVELOPMENT. กลยุทธ์การบริหารโรงเรียนพอเพียงท้องถิ่นที่มุ่งผลลัพธ์การเรียนรู้สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน |
Authors: | Amaraporn BOONHAI อมราพร บุญให้ Tippawan Sukjairungwattana ทิพย์วรรณ สุขใจรุ่งวัฒนา Silpakorn University. Education |
Keywords: | กลยุทธ์การบริหารโรงเรียน โรงเรียนพอเพียงท้องถิ่น การพัฒนาอย่างยั่งยืน SCHOOL MANAGEMENT STRATEGY LOCAL SUFFICIENTCY SCHOOL SUSTAINABLE DEVELOPMENT |
Issue Date: | 26 |
Publisher: | Silpakorn University |
Abstract: | The purposes of this research were to: 1) to study the current and desirable conditions of the local self-sufficient school administration aiming at learning outcomes towards sustainable development; 2) to analyze the strengths, weaknesses, opportunities, and threats of the administration. 3) to assess and develop strategies for managing local sufficiency schools that focus on learning outcomes towards sustainable development. By using the Mixed Methods Research method of Qualitative Research and Quantitative Research.
The sample was 92 administrator of the school and 313 teachers, the main informant were 12 the administrator of the school or the teacher under the local administrative organization responsible for the local sufficiency school with best practices at the national level, 20 experts in the evaluation of Strategic Draft No.1 and No.2 11 people. Analyzed the data by Averaging, Standard Deviation, Priority Needs Index, and Content Analysis.
The results of this research were 1) The present condition consisted of the internal environment, and external factors contributing factors of local sufficiency school management as a whole are at a high-level. Desirable condition include the internal environment, and external factors contributing to factors of local sufficiency school management as a whole, at the highest level; 2) Strengths consisted of student development activities, personnel development of educational institutions. The weak points consisted of educational institution management, curriculum and learning activities. Opportunities consisted of social factors. And threats, consisting of political and state policy factors, economics, and technology; 3) Carry out the assessment aspects of Draft Strategy No.1 and No.2 consists of the main strategy, secondary strategies, and operational methods. It is correct, appropriate, workable. And usefulness at the highest level. Local sufficiency school management strategies aimed at learning outcomes towards sustainable development, consisting of 4 main strategies, 8 minor strategies, and 19 action methods. การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารโรงเรียนพอเพียงท้องถิ่นที่มุ่งผลลัพธ์การเรียนรู้สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน 2) วิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และภาวะคุกคามของการบริหารโรงเรียนพอเพียงท้องถิ่นที่มุ่งผลลัพธ์การเรียนรู้สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน 3) ประเมินและพัฒนากลยุทธ์การบริหารโรงเรียนพอเพียงท้องถิ่นที่มุ่งผลลัพธ์การเรียนรู้สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยใช้วิธีการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Methods Research) ระหว่างการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) และการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 92 คน และครู จำนวน 313 คน ผู้ให้ข้อมูลหลัก คือ ผู้บริหารสถานศึกษาหรือครูในสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่รับผิดชอบเกี่ยวกับโรงเรียนพอเพียงท้องถิ่น ที่ได้รับการคัดเลือกผลงานของสถานศึกษาพอเพียงที่มีผลการปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice) ในระดับประเทศจากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการร่วมกับศูนย์สถานศึกษาพอเพียง มูลนิธิยุวสถิรคุณ จำนวน 12 คน ผู้ทรงคุณวุฒิในการประเมินร่างกลยุทธ์ฯ ฉบับที่ 1 จำนวน 20 คน และผู้ทรงคุณวุฒิในการประเมินร่างกลยุทธ์ฯ ฉบับที่ 2 จำนวน 11 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ แบบสัมภาษณ์เกี่ยวกับการดำเนินการและการบริหารโรงเรียนพอเพียงท้องถิ่นที่มุ่งผลลัพธ์การเรียนรู้สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน แบบประเมินร่างกลยุทธ์การบริหารโรงเรียนพอเพียงท้องถิ่นที่มุ่งผลลัพธ์การเรียนรู้สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน (ฉบับที่ 1) และแบบประเมินร่างกลยุทธ์การบริหารโรงเรียนพอเพียงท้องถิ่นที่มุ่งผลลัพธ์การเรียนรู้สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน (ฉบับที่ 2) วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าดัชนี Priority Needs Index (PNIModified) และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ผลการวิจัย พบว่า 1. สภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารโรงเรียนพอเพียงท้องถิ่นที่มุ่งผลลัพธ์การเรียนรู้สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน คือ (1) สภาพปัจจุบัน ประกอบด้วย 1) สภาพแวดล้อมภายใน โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก 2) ปัจจัยภายนอกที่เอื้อต่อปัจจัยการบริหารโรงเรียนพอเพียงท้องถิ่น โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก (2) สภาพที่พึงประสงค์ ประกอบด้วย 1) สภาพแวดล้อมภายใน โดยภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด 2) ปัจจัยภายนอกที่เอื้อต่อปัจจัยการบริหารโรงเรียนพอเพียงท้องถิ่น โดยภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด 2. จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และภาวะคุกคามของการบริหารโรงเรียนพอเพียงท้องถิ่นที่มุ่งผลลัพธ์การเรียนรู้สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน คือ (1) จุดแข็ง ประกอบด้วย ด้านการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ด้านการพัฒนาบุคลากรของสถานศึกษา (2)จุดอ่อน ประกอบด้วย ด้านการบริหารจัดการสถานศึกษา ด้านหลักสูตรและการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ (3) โอกาส ประกอบด้วย ปัจจัยด้านสังคม (4) ภาวะคุกคาม ประกอบด้วย ปัจจัยด้านการเมืองและนโยบายของรัฐ ด้านเศรษฐกิจ ด้านเทคโนโลยี 3. ประเมินและพัฒนากลยุทธ์การบริหารโรงเรียนพอเพียงท้องถิ่นที่มุ่งผลลัพธ์การเรียนรู้สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน คือ (1) การประเมินของร่างกลยุทธ์ฯ ฉบับที่ 1 ประกอบด้วย กลยุทธ์หลัก กลยุทธ์รอง และวิธีดำเนินการ โดยภาพรวมมีความถูกต้อง ความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์ อยู่ในระดับมากที่สุด (2) การประเมินของร่างกลยุทธ์ฯ ฉบับที่ 2 ประกอบด้วย กลยุทธ์หลัก กลยุทธ์รอง และวิธีดำเนินการ โดยภาพรวมมีความถูกต้อง ความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์ อยู่ในระดับมากที่สุด (3) กลยุทธ์การบริหารโรงเรียนพอเพียงท้องถิ่นที่มุ่งผลลัพธ์การเรียนรู้สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน ประกอบด้วย กลยุทธ์หลัก 4 กลยุทธ์ กลยุทธ์รอง 8 กลยุทธ์ และวิธีดำเนินการ 19 วิธีดำเนินการ โดยมีกลยุทธ์หลัก ได้แก่ 1) พัฒนาการบริหารจัดการสถานศึกษาพอเพียงท้องถิ่นที่มุ่งผลลัพธ์การเรียนรู้สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน 2) พัฒนาและส่งเสริมการจัดทำหลักสูตรและการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่มุ่งผลลัพธ์การเรียนรู้สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน 3) พัฒนาและสนับสนุนการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนที่มุ่งผลลัพธ์การเรียนรู้สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน 4) ส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาบุคลากรของสถานศึกษาที่มุ่งผลลัพธ์การเรียนรู้สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน |
Description: | Doctor of Philosophy (Ph.D.) ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.) |
URI: | http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/3525 |
Appears in Collections: | Education |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
59260906.pdf | 11.39 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.