Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/357
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorยิ้มแย้ม, วิชลดา-
dc.contributor.authorYIMYAM, VICHOLLADA-
dc.date.accessioned2017-08-27T02:46:45Z-
dc.date.available2017-08-27T02:46:45Z-
dc.date.issued2559-07-07-
dc.identifier.urihttp://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/357-
dc.description54202209 ; สาขาวิชาภาษาไทย --วิชลดา ยิ้มแย้มen_US
dc.description.abstractวิทยานิพนธ์เล่มนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภาพครอบครัวในนวนิยายรางวัลซีไรต์ และเสนอให้เห็นว่า การเปลี่ยนแปลงทางสังคม เศรษฐกิจ และวัฒนธรรมในสังคมไทยมีผลต่อภาพครอบครัวในนวนิยายรางวัลซีไรต์ โดยศึกษา จากนวนิยายรางวัลซีไรต์ที่มีการดำเนินเรื่องเกี่ยวกับครอบครัวตั้งแต่รุ่นพ่อแม่และรุ่นลูก และมีการพัฒนาความสัมพันธ์ ด้านครอบครัวไปตลอดทั้งเรื่อง จำนวน 7 เรื่อง ได้แก่ เรื่องลูกอีสาน ปูนปิดทอง เวลา อมตะ ช่างสำราญ ความสุขของกะทิ และลับแล, แก่งคอย ผลการศึกษาพบว่า ภาพครอบครัวในนวนิยายรางวัลซีไรต์ แบ่งออกเป็น 2 ภาพใหญ่คือ ภาพครอบครัว ในชุมชนดั้งเดิม และภาพครอบครัวในสังคมเมือง โดยนวนิยายเรื่องลูกอีสานของคำพูน บุญทวี เป็นนวนิยายเพียงเรื่องเดียวที่เสนอให้เห็น ภาพครอบครัวในชุมชนดั้งเดิม ซึ่งเป็นภาพครอบครัวในสังคมเกษตรกรรมที่ให้ความสำคัญกับการพึ่งพาอาศัยของผู้คนในชุมชน ตามระบบครอบครัวขยาย และการแบ่งงานกันทำภายในครอบครัว ส่วนนวนิยายอีก 6 เรื่องที่เหลือจะเสนอให้เห็นภาพครอบครัว ในสังคมเมือง ซึ่งสามารถแบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม ตามรูปแบบและลักษณะของครอบครัวเดี่ยว ได้แก่ ครอบครัวรูปแบบพ่อแม่ลูก และครอบครัวรูปแบบไม่สมบูรณ์ ครอบครัวรูปแบบแรกนักเขียนนำเสนอในด้านลบคือ หากพ่อแม่ละเลยหน้าที่ ขาดจริยธรรม หรือให้ความสำคัญกับการหารายได้มากกว่าการอบรมดูแลและให้ความรักแก่ลูกจะทำให้ลูกมีปัญหา ครอบครัวรูปแบบที่สอง นักเขียนนำเสนอเพื่อเปลี่ยนมุมมองว่าแม้รูปแบบครอบครัวจะไม่สมบูรณ์ แต่หากชุมชนหรือญาติเข้ามาช่วยดูแล เด็กก็สามารถ ใช้ชีวิตอยู่รอดหรืออาจเติบโตอย่างมีคุณภาพได้ เมื่อศึกษาบทบาทของสมาชิกครอบครัวในนวนิยายรางวัลซีไรต์ ได้แก่ พ่อ แม่ ลูก และญาติผู้ใหญ่ ตามปัจจัย ทางสังคม ด้านเพศ วัย และชนชั้น พบว่า ในสังคมชนบทปัจจัยด้านเพศและด้านวัยเป็นปัจจัยสำคัญต่อการกำหนดบทบาท และความรับผิดชอบของสมาชิกในครอบครัว ขณะที่ในสังคมเมืองนั้นการเปลี่ยนแปลงทางบริบททางสังคมและวัฒนธรรม ที่มีกระแสแนวคิดแบบทุนนิยมและค่านิยมของชนชั้นกลางขับเน้นให้ปัจจัยด้านชนชั้นเป็นปัจจัยที่สำคัญและครอบคลุมปัจจัย ด้านเพศและวัยไว้ด้วย รวมถึงกลุ่มชนชั้นกลางยังมีอิทธิพลต่อการสร้างรูปแบบและวิถีการดำเนินชีวิตจนเป็นที่ยอมรับ ในสังคมเมืองมากที่สุด ทั้งนี้แม้ว่าแนวคิดของระบบทุนนิยมจะเป็นตัวการบ่อนเซาะจิตสำนึกด้านศีลธรรมและทำให้เกิด ความห่างเหินทางความสัมพันธ์ในครอบครัว แต่เมื่อวิเคราะห์แล้วแนวคิดทุนนิยมกลับส่งเสริมให้แม่เลี้ยงเดี่ยวที่มีศักยภาพ ทางปัญญาและทุนทางสังคมสามารถสร้างเครือข่ายทางสังคมเพื่อเป็นตัวแทนของตนในการทำหน้าที่ดูแลลูกได้อีกทางหนึ่ง แม้นวนิยายรางวัลซีไรต์ที่ผู้วิจัยเลือกมาศึกษาทั้ง 7 เรื่องนี้จะเป็นผลงานของนักเขียนชายและนักเขียนหญิงที่มีจำนวน ไม่ต่างกันนัก นั่นคือนักเขียนชาย 4 คน และนักเขียนหญิง 3 คน แต่ความแตกต่างทางเพศดังกล่าวทำให้การเสนอภาพครอบครัว มีมุมมองที่แตกต่างกัน กล่าวคือ นักเขียนชายส่วนใหญ่ไม่ได้เสนอทางออกของปัญหาครอบครัวที่ชัดเจน เพียงแต่เสนอให้ผู้อ่านได้ ตระหนักรู้ถึงสถานการณ์ครอบครัวที่ทวีความรุนแรงขึ้นเท่านั้น และนักเขียนชายจะมีท่าทีและมุมมองที่รุนแรง โดยมองว่าปัญหา ครอบครัวจะยิ่งเลวร้าย หากผู้คนไม่มีจิตสำนึกถึงความผิดพลาดของตน ในขณะที่นักเขียนหญิงจะมีท่าทีและมุมมอง ที่ประนีประนอม และมองว่าปัญหาครอบครัวจะมีทางออกหากคนในครอบครัวและเพื่อนมนุษย์เข้าใจและร่วมมือช่วยกันแก้ปัญหา The purpose of this thesis were 1) to study the image of a family in S.E.A Write Award’s novels and 2) to point out that social, cultural and economic change in Thai society affected the image of the family in S.E.A Write Award’s novels. Seven S.E.A Write Award’s novels, which have an outstanding characteristic in depicting the family relationship and the development of relationship since the parental generation to first filial generation, i.e. Look I-san, Poon Pid Thong, Vela, Amata, Chang Samran, Kwam Suk Kong Krati, and Lablae, Kaengkhoi were selected to study and analyze. The result of analysis showed that the image of the family in S.E.A Write Award’s novels were categorized into two main images such as 1) the image of family in original community and 2) the image of the family in urban society. Look I-san written by Kampoon Boontawee was the only one from the seven novels presenting the image of family in original community which was an agricultural society. The interesting feature of agricultural society was that people in the community will assist and encourage each other in accordance with the system of the extended family and division of work within the family. In contrast, the rest of novels reflected the image of the family in urban society which can be divided into 2 types of nuclear family, i.e. 1) Elementary family and 2) Incomplete family. In the first type of family, the writers presented the image of family in a negative way. In other words, if parents lacked a morality and neglected to take care of their children or preferred working to staying with the child, it may affect a child’s behavior until becoming a social problem. In the second type of family, writer presented a paradoxical point of view that in some cases, although the child will grow up in incomplete family, they were able to survive and had a better life if people living in the community or relatives gave a hand to take care of them. When studying the role of family member in S.E.A Write Award’s novels, i.e. father, mother, child and senior relatives in accordance with social factor such as gender, age and class, the result of the study showed that in rural society, gender and age were the crucial factor for determining the role and responsibility of family member. On the other hand, in urban society, the change of social-cultural context driven by the idea of Capitalism and Middle class’s social values pushed social class to become the important factor covering gender and age factor. The result of study also revealed that a middle class was the influential group for creating form and way of life becoming the most accepted one in urban society. However, even though the idea of Capitalism was the main culprit eroding moral conscience and causing the distance of relationship in family, it cannot deny that this idea supported and encouraged step mother having intellectual and social capital to create the social network and be the representative of busy mother for taking care of the child. Although seven S.E.A Write Award’s novels selected and analyzed by researcher will be only some works of male writers and female writers (4 males, 3 females), it can be summarized that the gender difference of writers can affect the aspect and presentation of a family image. That is to say that most of male writers will not present the explicit way for solving the family problem but they chose to only show the reader realizing the situation and violence of family problem. In addition, male writers tended to have a violent aspect and attitude, i.e. the family problem will become worse if people lacked the guilty conscience. Meanwhile, female writers will have a compromising attitude with the idea that family problem can be solved and fixed if family member and everybody in the community understood each other and joined hand to solve the problem.en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยศิลปากรen_US
dc.subjectภาพen_US
dc.subjectครอบครัวen_US
dc.subjectบทบาทen_US
dc.subjectนวนิยายซีไรต์en_US
dc.subjectIMAGEen_US
dc.subjectFAMILYen_US
dc.subjectROLEen_US
dc.subjectS.E.A. WRITE AWARD'S NOVELSen_US
dc.titleภาพครอบครัวในนวนิยายรางวัลซีไรต์. อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์en_US
dc.title.alternativeIMAGE OF FAMILY IN S.E.A. WRITE AWARD'S NOVELS.en_US
dc.typeThesisen_US
Appears in Collections:Arts

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
54202209 วิชลดา ยิ้มแย้ม.pdf5.91 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.