Please use this identifier to cite or link to this item:
http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/3641
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor | Taninrat TANAPIYARAK | en |
dc.contributor | ธนินท์รัฐ ธนาปิยะรักษ์ | th |
dc.contributor.advisor | Pattanapakorn Leelaprute | en |
dc.contributor.advisor | พัฒนปกรณ์ ลีลาพฤทธิ์ | th |
dc.contributor.other | Silpakorn University. Architecture | en |
dc.date.accessioned | 2022-06-14T08:10:04Z | - |
dc.date.available | 2022-06-14T08:10:04Z | - |
dc.date.issued | 1/7/2022 | |
dc.identifier.uri | http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/3641 | - |
dc.description | Master of Architecture (M.Arch) | en |
dc.description | สถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต (สถ.ม.) | th |
dc.description.abstract | This research investigates the relationship between the notion of Hide and Seek and Architecture, in terms of its physical, psychological and symbolic property. It aims to analyze meaning and implication of the concept of Hide and Seek in order to find possible relationships with human perception and action. In architectural constructs, the creation of space and passages can be closely linked to the concept of Hide and Seek. It is a play that responds to human intuition about both architectural circulation and its relationship to architectural spaces, as well as ways in which human inhabit each and every spaces or rooms. In order to understand the relationship between the concept of Hide and Seek in architecture, this research will focus on some pairs of opposite architectural concepts. These pairs of opposites are: privacy and publicity, light and shadow, interior and exterior. These interrelated pairs of opposites also create spaces of equilibrium that lead us to understand our own relationship to our surroundings. The play of Hide and Seek is seen here, as a concept that may eventually shed light on our understanding, perceptions as well as our methods to create spaces and passages that are based on those opposite but related concepts. It will help us understand how basic human instincts can be refined and redefined, then transformed into architecture, which may, in turn, help us create spaces that truly respond to both our physical and psychological requirements. | en |
dc.description.abstract | การศึกษาเพื่อหาความสัมพันธ์ของ การซ่อนหา กับ สถาปัตยกรรมทั้งลักษณะทางกายภาพ ลักษณะทางจิตวิทยา ลักษณะทางนัยยะ หรือเชิงสัญลักษณ์ ที่เกี่ยวข้องกับความหมายของการเล่นซ่อนหา นำไปสู่การเชื่อมโยงความสัมพันธ์ของงานสถาปัตยกรรม จากนั้นนำลักษณะข้างต้นมาวิเคราะห์เพื่อกำหนดแนวความคิดในการรวบรวมข้อมูลและทฤษฎี จัดทำความสำคัญจนเป็นองค์ความรู้ใหม่เพื่อนำไปสู่การศึกษาทางสถาปัตยกรรมต่อไป การวิเคราะห์และการสังเคราะห์ ได้นำองค์ความรู้และหลักจิตวิทยาที่เกี่ยวข้องมาเป็นเครื่องมือหาตัวอย่างทางสถาปัตยกรรมและทฤษฎีโดยพิจารณาจากการรับรู้ของมนุษย์เพราะการรับรู้เป็นปฏิกิริยาของมนุษย์ที่มีผลกับ ลักษณะทางกายภาพและยังเป็นตัวกำหนดนัยยะของลักษณะทางสัญลักษณ์ที่เกี่ยวข้องกับการซ่อนหา และ งานสถาปัตยกรรมดังนั้นการรับรู้ของมนุษย์จึงเป็นตัวกลางที่เชื่อโยงเอา การซ่อนหา กับ สถาปัตยกรรม เข้าหากันด้วยวิธีการสร้าง โครงสร้างทางความสัมพันธ์ โดยแบ่งเป็นความสัมพันธ์ที่เกี่ยวข้องเป็น 2 ประการ คือ ความสัมพันธ์ของการรับรู้ด้วยการซ่อน และความสัมพันธ์ของการรับรู้ด้วยการหา ซึ่งความสัมพันธ์ทั้ง2นี้ลักษณะที่นำมาศึกษาในฐานะของการละเล่น และการใช้กับพื้นที่ว่าการซ่อนหานั้นให้คุณค่ากับมนุษย์อย่างไร ในทางสถาปัตยกรรมบทความนี้ได้มีการศึกษาและมองการซ่อนหานั้นเป็น “พื้นที่คู่ตรงข้าม” นั้นเองอาทิเช่น พื้นที่ส่วนตัวกับพื้นที่ส่วนรวม พื้นที่แสงกับพื้นที่เงา พื้นที่ภายนอกกับพื้นที่ภายใน ดังที่กล่าวมานี้จะเห็นว่ามีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน แต่มีความหมายตรงกันข้าม พื้นที่ระหว่างที่ทำให้เกิดความตรงข้ามจึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะนำมาสู่การรับรู้ของมนุษย์เนื่องจากมนุษย์ถือเป็นจุดกึ่งกลางทางการรับรู้นั้นเอง แนวความคิดในการหาคำตอบเชิงความสัมพันธ์ ระหว่างการซ่อนหา กับงานสถาปัตยกรรม ได้มีการสร้างสมมุติฐานโดยเปรียบเทียบมุมมองที่แตกต่างกันในสถานการณ์เดียวกันระหว่าง ผู้ซ่อน กับผู้หา ว่ามุมมองทั้งสองมีความสัมพันธ์กับพื้นที่ในงานสถาปัตยกรรมอย่างไร สร้างความสัมพันธ์ซึ่งกันและกันจนเป็นเส้นคู่ขนานในเวลาเดียวกันด้วยรูปแบบใด แนวความคิดนี้มีวิธีการตอบคำถามด้วยรูปแบบการเปรียบเทียบด้วยรูปแบบทางสถาปัตยกรรมดังนี้ 1.รูปแบบ(Type) 2.ผัง(Lay out) 3.พื้นที่(Space) เพื่อนำผลสรุปของแนวความคิด มาเป็นองค์ความรู้ใหม่ให้กับงานวิจัย การซ่อนหา ทางงานสถาปัตยกรรมได้ถูกแสดงออกผ่านมุมมองของผู้สร้างงานในการซ่อน และอนุญาตให้ ปิดบัง หรือ เปิดเผย ในการค้นหา ผ่านมุมมองของผู้หา การทำงานของ 2 ความสัมพันธ์จะทำงานร่วมกันเป็นคู่ขนานกันไปโดยจะไม่สามารถขอความสัมพันธ์ใดได้เมื่อขาดไปความสมบูรณ์ของนัยยะและการตีความจะถูกบิดเบือนไปได้เช่นกัน ผลที่ได้จากการศึกษานี้ ทำให้เกิดการตั้งคำถามกับการละเล่น ซึ่งเป็นวิธีการเรียนรู้แรกแรกของมนุษย์ว่ามีผลหรือมีอิทธิพลที่สร้างความสัมพันธ์ และเป็นตัวก่อร่างกระบวนการความคิด ทางสถาปัตยกรรมอย่างไร หากแต่ การศึกษานี้ยังให้ข้อมูลของประวัติความเป็นมาในรากฐานของความคิดเรื่องการซ่อนหาและกระบวนการออกแบบที่ส่งผลต่อการตีความของมนุษย์ต่อไป | th |
dc.language.iso | th | |
dc.publisher | Silpakorn University | |
dc.rights | Silpakorn University | |
dc.subject | ซ่อนหา | th |
dc.subject | การซ่อน | th |
dc.subject | การหา | th |
dc.subject | HIDE AND SEEK | en |
dc.subject | HIDE | en |
dc.subject | SEEK | en |
dc.subject.classification | Arts and Humanities | en |
dc.title | HIDE AND SEEK IN ARCHITECTURE | en |
dc.title | สถาปัตยกรรม กับการ ซ่อนหา | th |
dc.type | Thesis | en |
dc.type | วิทยานิพนธ์ | th |
Appears in Collections: | Architecture |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
620220042.pdf | 12.13 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.