Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/388
Title: การพัฒนาเกณฑ์มาตรฐานการประเมินความเสี่ยงในการบริหารจัดการทรัพยากรทางกายภาพอาคารสำนักงาน
Other Titles: DEVELOPMENT OF STANDARD CRITERIA FOR RISK ASSESSMENT IN FACILITY MANAGEMENT OFFICE BUILDING
Authors: ทองมา, ธงชัย
Thongmar, Thongchai
Keywords: การบริหารจัดการทรัพยากรกายภาพ
อาคารสำนักงาน
ความเสี่ยง
ตัวชี้วัด
เกณฑ์การประเมิน
FACILITY MANAGEMENT
OFFICE BUILDING
RISK
INDICATOTR
EVALUATION CRITERIA
Issue Date: 28-Apr-2559
Publisher: มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์หลัก เพื่อศึกษาองค์ประกอบหลักและองค์ประกอบย่อยตามบริบทความเสี่ยงในการบริหารจัดการทรัพยากรทางกายภาพอาคารสำนักงาน ด้วยการประยุกต์เทคนิคการวิจัยเอกสารการสังเคราะห์วรรณกรรมแบบเครือข่ายข้อมูลและเทคนิคการวิจัยอนาคต เพื่อพัฒนาเกณฑ์มาตรฐานการประเมินความเสี่ยงในการบริหารจัดการทรัพยากรทางกายภาพอาคารสำนักงาน ด้วยการสังเคราะห์วรรณกรรมแบบเครือข่ายโดยการประยุกต์ใช้โปรแกรม สำหรับการวิเคราะห์และการสร้างภาพเสมือนจริงของเครือข่ายขนาดใหญ่ (Pajek) และเทคนิคการวิจัยอนาคต (EDFR) โดยรอบที่ 1 สัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ 17 คน เกี่ยวกับแนวโน้มขององค์ประกอบในการจัดทำเกณฑ์ประเมินและรอบที่ 2 สถิติในการวิจัยใช้การวิเคราะห์ดำเนินการคำนวณหาค่ามัธยฐานและค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ คัดเลือกจากแนวโน้มทีมีค่ามัธยฐานตั้งแต่ 3.5 ขึ้นไป และมีพิสัยระหว่างควอไทล์ไม่เกิน 1.5 มีการประยุกต์ใช้เทคนิคการหาค่าความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา จากผู้เชี่ยวชาญและนำไปประเมินกับอาคารสำนักงานเกรด มาตรฐาน เอ และ อาคารสำนักงานเกรด มาตรฐาน ในกรุงเทพมหานคร และใช้เทคนิคประยุกต์การทดสอบสถิตินอนพาราเมตริก วิธีของแมน-วิทนีย์ มาทดสอบผลประเมินความเสี่ยง และใช้วิธีทดสอบความตรงเชิงโครงสร้างด้วยวิธีเมตริกซ์หลายคุณลักษณะหลายวิธี มาประเมินการวัดผลกระทบของความเสี่ยงจากการบริหารจัดการทรัพยากรทางกายภาพภาพอาคารสำนักงานด้วยการประยุกต์วิธีเมตริกซ์หลายคุณลักษณะหลายวิธี(MTMM) จากผลการวิจัยพบว่าการพัฒนาเกณฑ์มาตรฐานการประเมินความเสี่ยงใน การบริหารจัดการทรัพยากรทางกายภาพอาคารสำนักงาน มี 6 ด้านองค์ประกอบหลัก (6thTQM-HaSO) 20 องค์ประกอบย่อยได้แก่ 1)ความเสี่ยงด้านเทคโนโลยี มี 4 องค์ประกอบย่อย คือด้านระบบวิศวกรรมไฟฟ้าและสื่อสาร ด้านระบบงานวิศวกรรมเครื่องกล ด้านระบบวิศวกรรมประปา สุขาภิบาลและดับเพลิง และระบบป้องกันและรักษาความปลอดภัยและอำนวยความสะดวกในอาคาร 2)ความเสี่ยงสำหรับการควบคุมคุณภาพ มี 2 องค์ประกอบย่อย คือ ด้านเจ้าของอาคารและตัวแทนเจ้าของอาคาร ด้านผู้บริหารอาคาร 3)ความเสี่ยงในการบริหาร มี 4 องค์ประกอบย่อย คือ ด้านการวางแผน ด้านการจัดองค์การ ด้านการเป็นผู้นำ ด้านการควบคุม 4)ความเสี่ยงสำหรับส่งมอบ มี 2 องค์ประกอบย่อย คือ ด้านการส่งมอบพื้นที่ ด้านการจัดเก็บรายได้5)ความเสี่ยงด้านความปลอดภัย มี 3 องค์ประกอบย่อย คือ ด้านสุขภาพและสุขภาพอนามัยของผู้ใช้อาคารด้านอุบัติภัยเป็นความเสี่ยงจากสภาวะที่เป็นอันตราย ด้านความปลอดภัย 6)ความเสี่ยงในการปฏิบัติงาน มี 5 องค์ประกอบย่อย คือ ด้านการเงิน ด้านปฎิบัติงานและบำรุงรักษา ด้านบริการอาคาร ด้านการสนับสนุนงานจัดการอาคาร ด้านการบริการและการดูแลผู้เช่าอาคาร ผู้ใช้อาคารและผู้มาติดต่ออาคาร ในขณะที่เมื่อนำเกณฑ์นี้ไปทดลองประเมินความเสี่ยงกลุ่มอาคารสำนักงานเกรด มาตรฐาน เอ มีความเสี่ยงน้อยกว่ากลุ่มอาคารสำนักงานเกรด มาตรฐาน ซี จึงสรุปได้ว่าเกณฑ์มาตรฐานการประเมินความเสี่ยงใน การบริหารจัดการทรัพยากรทางกายภาพอาคารสำนักงาน สามารถนำมาใช้การประเมินได้ This research aims to study the main elements and sub-elements in the context of risk management for Facility Management office building with the application of technical research papers by synthesizing of the literature data network and future research techniques to develop criteria assessment the risk in managing Facility Management office building. With Program for Analysis and Visualization of Large Networks (Pajek) and Ethnographic Delphi Futures Research (EDFR) by interviewing 17 experts on the trends of the components of the preparation criteria , the researchers used statistical analysis for calculating the median (Median: Md) and the inter-quartile range. (Interquartile range: IR or Q3-Q1) selecting one from a median of 3.5 or higher and it has a range between quartiles of not more than 1.5 and applied to determine the content validity (IOC) experts and evaluate the Standard grade A and C of office building in Bangkok by using Nonparametric statistics Method Man–Whitney U (Mann-Whitney U Test) and also used to test the construct validity with matrix features several ways by assessing the impact of risk management, Facility Management office building with the application of Multitrait- Multimethod Matrix: (MTMM). The results showed that the development of standards for risk assessment for Facility management office Building has six key components (6thTQM-HaSO) has 20 sub-elements. 1) Risk Technology has four elements which are the system communications engineering, systems engineering ,engineering plumbing ,Sanitation Fire and defense security, and building Facility 2) The risk for quality control has two elements that are the building owners , building agents and building management team. 3) Risk management was composed of four elements which was Planning, Organization management Leadership and Control 4) The risk for delivering has two elements which were the delivery area and the revenue collection 5) A security vulnerability has three components that were the residents health ,risk of accidents from hazardous conditions and security 6) the risk of operating has fifth elements which are composed of the finance ,operations and maintenance, building service, building support management and tenants maintenance service for building users and visitors. While the IOC evaluation criteria with technical experts threshold value show that the evaluation criteria of Risk management Facility Management of office building Standard grade A office building scores a rating lower risk than Standard Grade C office building. For this reason, it was concluded that the criteria for assessing the risk, Facility management office Building can be applicable.
Description: 56604918 ; สาขาวิชาการจัดการ -- ธงชัย ทองมา
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/388
Appears in Collections:Management Sciences

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
ธงชัย.pdf52.3 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.