Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/3961
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributorYannavit NARAYAEMen
dc.contributorญาณวิธ นราแย้มth
dc.contributor.advisorSantidhorn Pooripakdeeen
dc.contributor.advisorสันติธร ภูริภักดีth
dc.contributor.otherSilpakorn University. Management Sciencesen
dc.date.accessioned2022-07-19T03:30:31Z-
dc.date.available2022-07-19T03:30:31Z-
dc.date.issued1/7/2022
dc.identifier.urihttp://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/3961-
dc.descriptionDoctor of Philosophy (Ph.D.)en
dc.descriptionปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)th
dc.description.abstract  This research entitled Management of Dairy Farm for Tourism to Drive BCG Economic Strategies is qualitative research through the view of linking characteristics of multilateral learning exchanges between dairy farmers, government sector, private sector, and stakeholders through the implementation of the conceptual research framework. The phenomenology theory, including five qualitative processes and 14 steps, was utilized to collect, analyze, synthesize, and categorize qualitative data in tourism supplies, that are outstanding dairy farmers, dairy farming, and other relevant aspects, and stakeholders of dairy and tourism industries with thirty key information. For tourism demands, in-depth interviews were conducted with ten high-value Thai tourists with agro-tourism experience. The ten in-depth interview participants were selected using criterion sampling, and additional data collection was conducted until saturated data were obtained. The researcher conducted the documentary research by analyzing and synthesizing strategic data, strategic projects, strategies, and work plans related to the dairy and tourism industries and conducting semi-structured in-depth interviews and focus group interviews. Content analysis was employed by coding and decoding qualitative data to construct a system model from the application of a qualitative research program called NVivo: Statistical Analysis Software, create management of dairy farm tourism, develop the management process of dairy farm tourism, determine demands of Thai tourists toward dairy farm tourism, and develop a dairy farm tourism model. The researcher also did data triangulation. To confirm the consistency and linkage of data under the qualitative research process, the researcher initiated a small group discussion with the management team and staff of the Dairy Farming Promotion Organization of Thailand (DPO) until finally reached the qualitative research analysis results that were consistent with the Thailand BCG model strategies. Moreover, to confirm the activities of dairy farm tourism, the researcher constructed potential assessment procedures for the dairy farm tourism activities through a small group discussion. High-value Thai tourists and auditors of dairy farm tourism activities discussed and answered an open-ended questionnaire. The researcher analyzed the collected data using typological analysis through a relation matrix. The results were employed to improve dairy farm tourism activities, resulting in the conclusions that were in line with the research objectives as follows: (1.) Landscape Design of Dairy Farm Tourism Management (2.) Dairy Farm Tourism Activities (3.) Ecosystem Model of Dairy Farm Tourism Management (4.) Dairy Farm Tourism Management (5.) Demands of High-Value Thai Tourists of Dairy Farm Tourism (6.) Dairy Farm Tourism: Happy Life Model)en
dc.description.abstractการศึกษาวิจัย การจัดการฟาร์มเกษตรโคนมเพื่อการท่องเที่ยว สู่การขับเคลื่อน ยุทธศาสตร์เศรษฐกิจ BCG ในครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยทัศนะการเชื่องโยงคุณลักษณะ ของการแลกเปลี่ยนเรียนรู้แบบพหุภาคี ระหว่าง เกษตรกรผู้เลี้ยงโคนม หน่วนงานรัฐและเอกชน รวมทั้งผู้มีส่วนได้เสีย ผ่านกรอบกระบวนการวิจัยเชิงคุณภาพ (Conceptual Research Framework) โดยใช้ทฤษฎีปรากฏการณ์วิทยา (Phenomenology) ด้วยการศึกษาผ่านกระบวนการเชิงคุณภาพ 5 กระบวนการ 14 ขั้นตอน พิจารณาการเก็บ วิเคราะห์ สังเคราะห์ และแยกแยะข้อมูลเชิงคุณภาพ ด้านอุปทานการท่องเที่ยว ประกอบด้วย เกษตรกรผู้เลี้ยงโคนม ดีเด่น กิจการการเลี้ยงโคนม แล ะที่เกี่ยวข้อง และ ผู้มีส่วนได้เสียกับอุตสาหกรรมนม และอุตสาหกรรมท่องเที่ยว ประกอบด้วย ผู้ให้การสัมภาษณ์ จำนวน 30 ท่าน ในด้านอุปสงค์การท่องเที่ยว ด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In - Depth Interview) ประกอบด้วยผู้ให้การสัมภาษณ์ คือ นักท่องเที่ยวชาวไทยศักยภาพสูง ที่มีประสบการณ์การท่องเที่ยวเชิงเกษตร จำนวน 10 ท่าน โดยใช้วิธีการเลือกตัวอย่างแบบมีเกณฑ์ (Criterion Sampling) และเก็บข้อมูลเพิ่มจำนวนตัวอย่างจนข้อมูลอิ่มตัว (Saturated Data) ผู้วิจัยดำเนินการด้วยการวิจัยเอกสาร (Documentary Research) ด้วยการวิเคราะห์ และสังเคราะห์ข้อมูลยุทธศาสตร์ โครงการเชิงยุทธ์ กลยุทธ์ และแผนงานปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับ อุตสาหกรรมนม และอุตสาหกรรมท่องเที่ยว ร่วมกับการสัมภาษณ์เชิงลึก (In - Depth Interview) แบบกึ่งโครงสร้าง (Semi-Structured Interviews) และการสนทนากลุ่มแบบเจาะจง (Focus Group) ใช้การวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) โดยการจัดการข้อมูลเชิงคุณภาพ การเข้ารหัส (Coding) และถอดรหัสข้อมูล (Decoding) เพื่อสร้างแบบจำลองของระบบจากการประยุกต์ใช้ โปรแกรมการวิจัยเชิงคุณภาพ NVivo : Statistical Analysis Software เพื่อสร้างการจัดการฟาร์ม เกษตรโคนมเพื่อการท่องเที่ยว พัฒนากระบวนการจัดการฟาร์มเกษตรโคนมเพื่อการท่องเที่ยว ระบุความต้องการของนักท่องเที่ยวชาวไทยต่อการท่องเที่ยวเชิงฟาร์มเกษตรโคนม และพัฒนารูปแบบ การท่องเที่ยวเชิงฟาร์มเกษตรโคนม ผู้วิจัยตรวจสอบข้อมูลแบบสามเส้า (Triangulation) ด้านข้อมูล (Data Triangulation) ทั้งนี้เพื่อเกิดความสอดคล้อง และเชื่องโยงของข้อมูล ผู้วิจัยยืนยันความถูกต้องใน ผลการวิจัยภายใต้กรอบกระบวนการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการนำข้อมูลเข้าสู่การอภิปรายกลุ่มย่อย (Small Group Discussion) โดยคณะผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ องค์การส่งเสริมกิจการโคนม แห่งประเทศไทย (อ.ส.ค.) จนได้มาซึ่งผลการวิเคราะห์ ความสอดคล้องของการวิจัยเชิงคุณภาพ ต่อยุทธศาสตร์ BCG Model ของประเทศไทย และเพื่อยืนยันกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงฟาร์มเกษตร โคนม ผู้วิจัยจึงได้สร้างขั้นตอนการประเมินศักยภาพกิจกรรมการท่องเที่ยวดังกล่าว ด้วยการจัดประชุม กลุ่มย่อย (Small Group Discussion) โดยกลุ่มนักท่องเที่ยวชาวไทยศักยภาพสูง เป็นผู้ตรวจประเมิน ศักยภาพในกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงฟาร์มเกษตรโคนม แสดงความคิดเห็นตอบแบบสอบถาม แบบปลายเปิด (Open – Ended Form) ผู้วิจัยนำข้อมูลในส่วนนี้มาวิเคราะห์ด้วยเทคนิคการจำแนก ชนิดข้อมูล (Typological Analysis) ผ่านการสร้างตารางแบบเมทริกซ์ความสัมพันธ์ (Relation Matrix) เพื่อนำผลการวิเคราะห์ข้อมูลดังกล่าว เข้าสู่การปรับปรุงกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิง ฟาร์มเกษตรโคนม จนเป็นที่มาของข้อสรุปผลการศึกษาที่เป็นไปตามวัตถุปสงค์การวิจัย ดังต่อไปนี้ (1.) การจัดการฟาร์มเกษตรโคนมเพื่อการท่องเที่ยวในประเทศไทย แบบภูมิสถาปัตย์ เพื่อท่องเที่ยวฟาร์มโคนม (2.) กิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงฟาร์มเกษตรโคนม (3.) ระบบนิเวศการจัดการฟาร์มเกษตรโคนมเพื่อการท่องเที่ยวในประเทศไทย (4.) กระบวนการจัดการฟาร์มเกษตรโคนมเพื่อการท่องเที่ยวในประเทศไทย (5.) ความต้องการของนักท่องเที่ยวชาวไทยศักยภาพสูงต่อการท่องเที่ยวเชิงฟาร์มเกษตร โคนม (6.) รูปแบบการท่องเที่ยวเชิงฟาร์มเกษตรโคนมth
dc.language.isoth
dc.publisherSilpakorn University
dc.rightsSilpakorn University
dc.subjectการจัดการฟาร์มเกษตรโคนมเพื่อการท่องเที่ยวth
dc.subjectการท่องเที่ยวเชิงฟาร์มเกษตรโคนมth
dc.subjectBCG โมเดลth
dc.subjectDAIRY FARM TOURISM MANAGEMENTen
dc.subjectDAIRY FARM TOURISMen
dc.subjectBCG ECONOMY MODELen
dc.subject.classificationAgricultural and Biological Sciencesen
dc.titleDAIRY FARM MANAGEMENT FOR TOURISM TO DRIVE BCG ECONOMIC STRATEGYen
dc.titleการจัดการฟาร์มเกษตรโคนมเพื่อการท่องเที่ยว สู่การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์เศรษฐกิจ BCGth
dc.typeThesisen
dc.typeวิทยานิพนธ์th
Appears in Collections:Management Sciences

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
60604912.pdf5.46 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.