Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/399
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorมีประดิษฐ์, ยุทธภูมิ-
dc.contributor.authorMeepradist, Yutthapoom-
dc.date.accessioned2017-08-27T02:58:08Z-
dc.date.available2017-08-27T02:58:08Z-
dc.date.issued2559-05-19-
dc.identifier.urihttp://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/399-
dc.description54604909 ; สาขาวิชาการจัดการ -- ยุทธภูมิ มีประดิษฐ์en_US
dc.description.abstractการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อกำหนดชุดตัวแปรที่ใช้เป็นองค์ประกอบหลักในโมเดลการวิจัย และนำมาพัฒนาโมเดลโครงสร้างความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของตัวแบบวัฒนธรรมด้านความปลอดภัยเชิงรุก ตลอดจนนำไปกำหนดตัวแบบวัฒนธรรมด้านความปลอดภัยเชิงรุกในระบบอุตสาหกรรมของ ประเทศไทย ใช้เทคนิคการวิจัยและพัฒนาเป็นกรอบหลักในการวิจัยใช้วิธีการเก็บรวบข้อมูลแบบวิธีการผสมผสาน ระหว่างการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการวิจัยเอกสารและการสัมภาษณ์เชิงลึกแบบเดี่ยวและแบบกลุ่มกับผู้ให้ข้อมูลหลักที่เกี่ยวข้องด้านความปลอดภัย จำนวน 11 คน จากนั้นจึงตรวจสอบข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยวิธีสามเส้า และเก็บข้อมูลวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้แบบสอบถาม จำนวน 380 ชุด สุ่มตัวอย่างแบบอาศัยความน่าจะเป็นเลือกการสุ่มแบบเจาะจง สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และโมเดลสมการโครงสร้าง (SEM) ผลการวิจัยพบว่า การประยุกต์แนวทางการวิจัยเอกสารเพื่อกำหนดกรอบที่ใช้เป็นแนวทางในการศึกษาที่ใช้เป็นองค์ประกอบหลักในโมเดลการวิจัย และจากการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการนำโมเดลที่ศึกษาได้ไปทำการสัมภาษณ์เชิงลึก ผสมผสานทั้งแบบแบบกลุ่มและแบบเดี่ยว เพื่อพัฒนาโมเดลโครงสร้างความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของรูปแบบวัฒนธรรมด้านความปลอดภัยเชิงรุกในระบบอุตสาหกรรมการผลิตของประเทศไทย พบว่า ด้านปัจจัยนำเข้า มี 4 องค์ประกอบ ได้แก่ คน อุปกรณ์และเครื่องจักร เงินและงบประมาณ และวิธีการ ปัจจัยกระบวนการ มี 2 องค์ประกอบ ได้แก่ ระบบคน และระบบงาน ปัจจัยด้านผลลัพธ์ มี 2 องค์ประกอบ ได้แก่ อัตราการเกิดอุบัติเหตุ และความเสียหายต่อธุรกิจ ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมในการทำงาน มี 3 องค์ประกอบ ได้แก่ บรรยากาศ ด้านสิ่งอำนวยความสะดวก วัฒนธรรมที่แตกต่าง ปัจจัยด้านการยศาสตร์ มี 2 องค์ประกอบ ได้แก่ ลักษณะงาน และลักษณะคน ปัจจัยด้านประสบการณ์ มี 4 องค์ประกอบ ระยะเวลาที่เคยทำ การได้มีส่วนร่วม การได้เคยรับการอบรม และภาวะผู้นำ วัฒนธรรมด้านความปลอดภัย มี 3 องค์ประกอบ ได้แก่ ด้านการรับรู้ ด้านพฤติกรรม ด้านจิตวิทยาภายใน เมื่อพิจารณาตัวแบบการพัฒนาตัวแบบด้านวัฒนธรรมความปลอดภัยเชิงรุกในระบบอุตสาหกรรมการผลิตของประเทศไทย พบว่า วัฒนธรรมความปลอดภัย ได้รับอิทธิพลรวมสูงสุดจาก ปัจจัยด้านประสบการณ์รองลงมา ด้านการยศาสตร์ และด้านสิ่งแวดล้อมในการทำงาน ตามลำดับ This research aims to determine a set of variables used as the major elements of the research model for developing the causal relationship model of proactive safety culture model as well as determining the proactive safety culture model in industrial system of Thailand. Research and development techniques were applied as the research framework while data was collected by using mixed method conducted during the qualitative research through documentary research personal in-depth interview, and group in-depth interview with 11 key informants related to safety, content validity by triangulation method Quantitative data was collected by using 380 copies of questionnaire and the sample group was obtained from probability sampling for selecting purposive random sampling. Statistics used in this research were frequency, percentage, mean, Standard Deviation, and Structural Equation Model (SEM). The results of application of documentary research for determining the research framework used as the major elements of this research and qualitative research conducted by conducting both personal and group in-depth interview based on studied model for developing the causal relationship model of the proactive safety culture model in industrial system of Thailand showed that there were 4 elements of input factors including human, devices and machines, money and budget, and methodology. For factors of process, there were 2 elements including human system and work system. There were 2 elements of outcome factors including Injury Frequency Rate and damage against business. There were 3 elements of environmental factors including atmosphere, facilities, and different culture. There were 2 elements of ergonomic factors including nature of work and human characteristics. For experience factors, there were 4 elements including work duration, participation, training, and leadership. For safety culture, there were 3 elements including perception, behavior, and internal psychology. When considering on the model for developing the proactive safety culture model in industrial system of Thailand, it was found that the safety culture was highly influenced by experience factors followed by ergonomic factors and environmental factors, respectively.en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยศิลปากรen_US
dc.subjectวัฒนธรรมด้านความปลอดภัยen_US
dc.subjectเชิงรุกen_US
dc.subjectอุตสาหกรรมการผลิตen_US
dc.subjectPRODUCTIVITYen_US
dc.subjectSUPPLY CHAINen_US
dc.subjectCOCONUT MILKen_US
dc.titleการพัฒนาตัวแบบวัฒนธรรมด้านความปลอดภัยเชิงรุกในระบบอุตสาหกรรมการผลิตของประเทศไทยen_US
dc.title.alternativeDEVELOPMENT OF PROACTIVE SAFETY CULTURE MODEL IN MANUFACTERING INDUSTRIAL SYSTEM, THAILANDen_US
dc.typeThesisen_US
Appears in Collections:Management Sciences

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
54604909 ยุทธภูมิ มีประดิษฐ์.pdf4.25 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.