Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/401
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorดีไพศาลสกุล, พรชัย-
dc.contributor.authorDeephaisarnsakul, Pornchai-
dc.date.accessioned2017-08-27T02:58:37Z-
dc.date.available2017-08-27T02:58:37Z-
dc.date.issued2559-01-06-
dc.identifier.urihttp://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/401-
dc.description55604805 ; สาขาวิชาการจัดการ -- พรชัย ดีไพศาลสกุลen_US
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ (1) ศึกษาสภาพปัญหาและสภาพแวดล้อมทางธุรกิจที่ส่งผลต่อความเป็นบรรษัทภิบาลของโรงพยาบาลเอกชน (2) ศึกษาปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอกของธุรกิจโรงพยาบาลเอกชนที่ส่งผลต่อความเป็นบรรษัทภิบาล (3) ศึกษายุทธศาสตร์การพัฒนาโรงพยาบาลเอกชนสู่ความเป็นบรรษัทภิบาล การศึกษาวิจัยนี้เป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลแบ่งออกเป็น 2 ขั้นตอน ประกอบด้วยขั้นตอนที่ 1 การศึกษาจากเอกสาร ขั้นตอนที่ 2 การสัมภาษณ์เชิงลึกและการสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม โดยกลุ่มตัวอย่างที่เลือกแบบเฉพาะเจาะจง ได้แก่ ผู้บริหารจากกระทรวงสาธารณสุข ผู้อำนวยการโรงพยาบาลรัฐ ผู้บริหารโรงพยาบาลเอกชน ผู้บริหารบริษัทคู่สัญญาและกลุ่มมูลนิธิภาคประชาชน การวิเคราะห์ข้อมูลแบ่งออกเป็น 2 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 การวิเคราะห์ SWOT, การวิเคราะห์ TOWS Matrix และ 7S-Mckinsey เพื่อวิเคราะห์และร่างยุทธศาสตร์การจัดการบรรษัทภิบาลโรงพยาบาล ขั้นตอนที่ 2 การคัดเลือกยุทธศาสตร์ กลยุทธ์ แนวทางและผลลัพธ์ในการกำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาโรงพยาบาลเอกชนสู่ความเป็นบรรษัทภิบาล ผลการวิจัยพบว่า ประการแรกสภาพปัญหาและสภาพแวดล้อมทางธุรกิจที่ส่งผลต่อความเป็นบรรษัทภิบาลในการจัดการธุรกิจโรงพยาบาลเอกชน คือ การมุ่งเน้นการจัดการธุรกิจเพื่อสร้างผลตอบแทนสูง ทำให้ผู้รับบริการเกิดความคาดหวังในผลลัพธ์การรักษาสูงเช่นกัน ประการที่สองปัจจัยภายในของธุรกิจโรงพยาบาลเอกชนที่มีผลต่อความเป็นบรรษัทภิบาล ได้แก่ ความพร้อมในการจัดการธุรกิจ การลงทุนในเครื่องมือทันสมัย การจัดการทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพรวมถึงความก้าวหน้าทางวิชาการแพทย์ ส่วนปัจจัยภายนอก ได้แก่ การสนับสนุนจากภาครัฐ คุณภาพการรักษาตามมาตรฐานสากล ประการที่สามยุทธศาสตร์การพัฒนาโรงพยาบาลเอกชนสู่ความเป็นบรรษัทภิบาลประกอบด้วย 5 ยุทธศาสตร์หลัก ได้แก่ (1) ยุทธศาสตร์การสร้างคุณภาพ การรักษาและคุณภาพ การบริการ (2) ยุทธศาสตร์การมีส่วนร่วมในการรักษาพยาบาลร่วมกันระหว่างโรงพยาบาลและผู้รับบริการ (3) ยุทธศาสตร์การสร้างนวัตกรรมการดูแลรักษารูปแบบใหม่ (4) ยุทธศาสตร์การสร้างค่านิยม วัฒนธรรมองค์กรและการจัดการเชิงบรรษัทภิบาล (5) การสร้างความร่วมมือในการผลิตบุคลากรทางการแพทย์ร่วมกับภาครัฐ โดยยุทธศาสตร์ดังกล่าวจะสามารถสร้างเสริมประสบการณ์ ความมั่นคงในการประกอบธุรกิจ เพื่อตอบสนองผู้รับบริการได้อย่างมีคุณธรรมจริยธรรมและจรรยาบรรณมากขึ้นในอนาคต The objective of this research aimed to (1) study business environment problem effected the corporate governance in private hospital (2) study internal and external factors that impact the corporate governance (3) develop strategies for corporate governance in private hospital. Two stages of this qualitative research include document reviews and in-depth interviews with non-participative observations. The samples were executives from the Ministry of health, directors of State hospital, management staffs of private hospitals, partner companies, and foundation executives. Data analysis was performed by SWOT analysis, TOWS matrix, and 7S-Mckinsey for drafted through strategic workshop, followed choosing strategies, policies, and results of strategic development of private hospital to be corporate governance. The study showed (1) the business environment problems affected the corporate governance were from managing high profitability in accordance with high expectation of patient (2) internal factors of private hospital business affected the corporate governance were highly performance of management, investing in medical equipment, and allocating resource including growing-up of medical progress. For external factors were supported by government, and standards of quality. (3) The final consensus are five strategies include (3.1) Strategy to build quality treatment and service quality (3.2) Strategic involvement in healthcare is shared between hospitals and patients (3.3) Strategic innovative new model of healthcare (3.4) Strategy to create value corporate culture and management-oriented corporate governance (3.5) Strategic partnerships with medical personnel in the public sector. The strategic will be able to gain more experience, sustainable business for meeting the patients have a moral and ethical standards in the future.en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยศิลปากรen_US
dc.subjectยุทธศาสตร์en_US
dc.subjectการพัฒนาen_US
dc.subjectบรรษัทภิบาลen_US
dc.subjectSTRATEGICen_US
dc.subjectDEVELOPMENTen_US
dc.subjectCORPORATE GOVERNANCEen_US
dc.titleยุทธศาสตร์การพัฒนาโรงพยาบาลเอกชนสู่ความเป็นบรรษัทภิบาลen_US
dc.title.alternativeSTRATEGIC DEVELOPMENT OF PRIVATE HOSPITAL TO BE CORPORATE GOVERNANCEen_US
dc.typeThesisen_US
Appears in Collections:Management Sciences

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
55604805 พรชัย ดีไพศาลสกุล.pdf9.95 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.