Please use this identifier to cite or link to this item:
http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/4154
Title: | Bioactivity of extracts form Flavodon flavus (Klotzsch) Ryvarden ฤทธิ์ทางชีวภาพของสารสกัดจากเห็ด Flavodon flavus (Klotzsch) Ryvarden |
Authors: | Sasina SUTATKANOK ศศินา สุทัศน์กนก Eakaphun Bangyeekhun เอกพันธ์ บางยี่ขัน Silpakorn University. Science |
Keywords: | ฤทธิ์ทางชีวภาพ Flavodon flavus ต้านการเจริญแบคทีเรีย ต้านการเจริญเชื้อรา ฤทธิ์ต้านการอักเสบ ต้านเบาหวาน ความเป็นพิษต่อเซลล์ ความเป็นพิษต่อไรทะเล ต้านอนุมูลอิสระ การวิเคราะห์ GC-MS Bioactivity Flavodon flavus Antibacterial activity Antioxidant activity Antifungal activity Anti-inflammatory Anti-diabetic activity Cytotoxicity Brine shrimp cytotoxicity bioassay GC-MS |
Issue Date: | 25 |
Publisher: | Silpakorn University |
Abstract: | A specimen of mushroom, named as EB2101, was collected from Nakhon-Pathom. Based on morphological characteristics and 28s rDNA nucleic acid sequence comparison, it was identified as Flavodon flavus (Klotzsch) Ryvarden. The mycelium was purely isolated and used for mycelial biomass production and mushroom cultivation. The mycelia and the mushrooms were then fractionally extracted using ethyl acetate, methanol and water as solvents. The extractions yielded 1.79-28.73% of crude extracts. The total carbohydrate content, the reducing sugar content and the total phenolic content were analyzed from crude extracts and revealed 0.59-12.37 mg glucose/mg of extract, 0.03-2.15 mg glucose/mg of extract and 0.04-0.09 mg GAE/mg of extract, respectively. The bioactivities of crude extracts were studied. The ethyl acetate and methanol extract of mycelium and fruiting body exhibited antibacterial activity against Gram-positive bacteria, Bacillus cereus and Bacillus subtilis, with MIC value of 3.125-12.5 mg/ml. There was no antifungal activity from all extracts. The antioxidant activities of the extracts by using DPPH, ABTS and FRAP methods were found to be 37.71-87.60, 5.13- 33.47 and 7.04-9.60 percent of free radical inhibition, respectively. The crude extracts showed no inhibition of an alpha-amylase activity. The methanol extracts of mycelium and fruiting body could inhibit nitric oxide production with IC50 values of 36.75 and 84.01 µg/ml, respectively. The cytotoxicity of the ethyl acetate and methanol extracts of mycelium and fruiting body were indicated by IC50 values of 103.60, 48.83, 746.51 and 166.02 µg/ml, respectively. The brine shrimp lethality was assayed and revealed that the ethyl acetate and methanol extracts of mycelium and fruiting body were toxic to the brine shrimp with IC50 values of 178.95, 107.06, 1260.2 and 307.53 µg/ml, respectively. The chemical composition analysis of methanolic extracts of mycelium and fruiting body by GC-MS method revealed there were 55 compounds and a number of those were literacy reported for antibacterial activity, antioxidant activity, anti-inflammation and antiproliferative effect on tested cells. จากการศึกษาลักษณะสัณฐานวิทยาและการเปรียบเทียบลำดับนิวคลิอิกในบริเวณ 28s rDNA ของเห็ดสายพันธุ์ EB2101 ที่เก็บได้จากจังหวัดนครปฐม สามารถระบุชื่อวิทยาสาสตร์ของเห็ดได้เป็น Flavodon flavus (Klotzsch) Ryvarden เมื่อทำการแยกเชื้อบริสุทธิ์ นำเส้นใยมาเลี้ยงในอาหาร MCM และทำการเพาะเห็ด แล้วจึงนำเส้นใยและดอกเห็ดมาสกัดลำดับส่วนโดยใช้เอทิลอะซิเตท เมทานอล และน้ำเป็นตัวทำละลาย ได้สารสกัดร้อยละ 1.79-28.73 เมื่อวิเคราะห์ปริมาณคาร์โบไฮเดรตทั้งหมด ปริมาณน้ำตาลรีดิวซ์ ปริมาณฟินอลิกทั้งหมดของสารสกัดพบว่า มีปริมาณคาร์โบไฮเดรตทั้งหมดระหว่าง 0.59-12.37 mg glucose/mg of extract มีปริมาณน้ำตาลรีดิวซ์ระหว่าง 0.03-2.15 mg glucose/mg of extract และมีปริมาณฟินอลิกทั้งหมดเท่ากับ 0.04-0.09 mg GAE/mg of extract เมื่อทดสอบฤทธิ์ของสารสกัดทั้ง 6 ตัวอย่าง ต่อการต้านการเจริญของแบคทีเรียและเชื้อรา ต้านอนุมูลอิสระ ยับยั้งเอนไซม์แอลฟาอะไมเลส ต้านการอักเสบ และความเป็นพิษต่อเซลล์เพาะเลี้ยงและไรทะเล พบว่า สารสกัดเอทิลอะซิเตทจากเส้นใยและดอกเห็ด และสารสกัดเมทานอลจากเส้นใยและดอกเห็ด มีฤทธิ์ต้านการเจริญของแบคทีเรียแกรมบวก Bacillus cereus และ Bacillus subtilis โดยมีค่า MIC ระหว่าง 3.125-12.5 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร สารสกัดทุกชนิดไม่มีฤทธิ์การต้านการเจริญต่อเชื้อราทดสอบ สารสกัดจากเห็ดมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระเมื่อด้วยวิธี DPPH, ABTS และ FRAP พบว่า มีค่าร้อยละการยับยั้งอนุมูลอิสระระหว่าง 37.71-87.60, 5.13-33.47 และ 7.04-9.60 ตามลำดับ สารสกัดจากเห็ดไม่มีฤทธิ์การยับยั้งกิจกรรมเอนไซม์แอลฟาอะไมเลส สารสกัดเมทานอลจากเส้นใยและดอกเห็ดมีฤทธิ์การยับยั้งการผลิตไนตริกออกไซด์ โดยมีค่า IC50 เท่ากับ 36.75 และ 84.01 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร ตามลำดับ สารสกัดเอทิลอะซิเตทจากเส้นใยและดอกเห็ด และสารสกัดเมทานอลจากเส้นใยและดอกเห็ด มีความเป็นพิษต่อเซลล์เพาะเลี้ยงแมคโคฟาจ Raw 264.7 โดยมีค่า IC50 เท่ากับ 103.60, 48.83, 746.51 และ 166.02 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร ตามลำดับ สารสกัดเอทิลอะซิเตทจากเส้นใยและดอกเห็ด และสารสกัดเมทานอลจากเส้นใยและดอกเห็ด มีความเป็นพิษต่อไรทะเล โดยมีค่า IC50 เท่ากับ 178.95, 107.06, 1260.2 และ 307.53 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร ตามลำดับ และจากการวิเคราะห์องค์ประกอบทางเคมีของสารสกัดเมทานอลจากเส้นใยและดอกเห็ดด้วยวิธี GC-MS พบสารประกอบ 55 ชนิด และพบว่าสารบางชนิดมีฤทธิ์ทางชีวภาพในการต้านการเจริญของแบคทีเรีย ต้านอนุมูลอิสระ ต้านการอักเสบและต้านการเจริญของเซลล์เพาะเลี้ยง |
Description: | Master of Science (M.Sc.) วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วท.ม) |
URI: | http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/4154 |
Appears in Collections: | Science |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
620720046.pdf | 6 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.