Please use this identifier to cite or link to this item:
http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/4186
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor | Apisara PRACHACHOTIKUL | en |
dc.contributor | อภิสรา ประชาโชติกุล | th |
dc.contributor.advisor | MANAT PONGCHAIDECHA | en |
dc.contributor.advisor | มนัส พงศ์ชัยเดชา | th |
dc.contributor.other | Silpakorn University. Pharmacy | en |
dc.date.accessioned | 2023-02-09T02:35:22Z | - |
dc.date.available | 2023-02-09T02:35:22Z | - |
dc.date.issued | 25/11/2022 | |
dc.identifier.uri | http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/4186 | - |
dc.description | Master of Pharmacy (M.Pharm) | en |
dc.description | เภสัชศาสตรมหาบัณฑิต (ภ.ม.) | th |
dc.description.abstract | Type 2 diabetes is a non-communicable disease, leading to chronic kidney disease. There is limited existing evidence of delayed progression kidney disease in patients with type 2 diabetes that received sodium glucose co-transporter 2 (SGLT-2) inhibitors. This study aimed to compare the effectiveness of delay progression of kidney disease between dapagliflozin empagliflozin and another antidiabetic drug that were not SGLT2-inhibitors (non-SGLT-2 inhibitors) in patients receiving and not receiving RAAS blockade and to study the factors related to lowering kidney function in patients with type 2 diabetes. This study was a retrospective analytical in 900 patients with type 2 diabetes receiving SGLT-2 inhibitors and non-SGLT-2 inhibitors. Data were collected from October 2014 to October 2019 at Central Chest Institute of Thailand. The patients were divided into 3 groups, each group have 300 patients i.e., dapagliflozin, empagliflozin, and non-SGLT-2 inhibitors. Effectiveness of delay progression kidney disease was estimated renal worsening function defined as decline of eGFR at least 40% from baseline or doubling of serum creatinine or end-stage renal disease (ESRD). Our findings found eGFR of the patients in the dapagliflozin group (n =12; 4.0%), the empagliflozin group (n =7; 2.3%) and the non-SGLT-2 inhibitors group (n = 21; 7.0%) had significantly lower than the baseline at least 40% (p = 0.009). It was also found 1 patient (0.17%) in the SGLT-2 inhibitors group and 2 patients (0.7%) in the non-SGLT-2 inhibitors group had a doubling of serum creatinine (p = 0.220). None of the ESRD patients found in the study. The combination of empagliflozin and RAAS blockade have been shown to significantly slow the progression of chronic kidney disease (p = 0.021). According to a univariate analysis of the factors related to lower kidney function, it was found as follows. 1) the SGLT-2 inhibitors group and 2) the SGLT-2 inhibitors group with FPG ≥ 130 mg/dl and eGFR at stage 1 and 2 were found to be associated with a reduced risk of a decline eGFR at least 40% from baseline, OR 0.434 (p = 0.010), 0.485 (p = 0.032) and 0.319 (p = 0.01, respectively, as compared with OR 1.990 (p=0.039) of the non-SGLT-2 inhibitors group. In addition, multivariate analysis also revealed that the SGLT-2 inhibitors group and patients with eGFR at stage 1 in the SGLT-2 inhibitors group were found to be associated with a reduced risk of a decline eGFR at least 40% from baseline, OR 0.345 (p = 0.002) and 0.347 (p = 0.019), respectively. In conclusion, SGLT-2 inhibitors could delay the progression of kidney disease in patients with type 2 diabetes better than non-SGLT-2 inhibitors. | en |
dc.description.abstract | โรคเบาหวานชนิดที่ 2 เป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรังชนิดหนึ่ง ซึ่งเป็นสาเหตุนำไปสู่การเกิดโรคไตเรื้อรัง พบรายงานผลการชะลอการดำเนินไปของโรคไตเรื้อรังในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ได้รับยากลุ่ม sodium glucose co-transporter 2 (SGLT-2) inhibitors แต่ยังมีข้อมูลจำกัดในด้านการเปรียบเทียบประสิทธิผล dapagliflozin empagliflozin และยาลดระดับน้ำตาลในเลือดชนิดอื่นๆ แบบโดยตรง งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิผลการชะลอการดำเนินไปของโรคไตเรื้อรังระหว่างยา dapagliflozin empagliflozin และยาลดระดับน้ำตาลในเลือดกลุ่มอื่นที่ไม่ใช่ SGLT2-inhibitors (non-SGLT-2 inhibitors) ทั้งในกลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับหรือไม่ได้รับยากลุ่ม RAAS blockade และศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการทำงานของไตที่ลดลงในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 โดยศึกษาเชิงวิเคราะห์แบบย้อนหลัง ในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ได้รับยากลุ่ม SGLT-2 inhibitors และยาลดระดับน้ำตาลในเลือดกลุ่มอื่น จำนวน 900 ราย เก็บข้อมูลตั้งแต่เดือน ตุลาคม พ.ศ. 2557 ถึงเดือน ตุลาคม พ.ศ. 2562 ณ สถาบันโรคทรวงอก โดยแบ่งผู้ป่วยออกเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มละ 300 รายได้แก่ กลุ่มที่ได้รับยา dapagliflozin กลุ่มที่ได้รับยา empagliflozin และกลุ่ม non-SGLT-2 inhibitors เปรียบเทียบประสิทธิผลการชะลอการดำเนินไปของโรคไตเรื้อรังจากการทำงานของไตที่แย่ลง โดยเก็บข้อมูลจากค่า อัตราการกรองของไต (estimated glomerular filtration rate; eGFR) ที่ลดลงจากค่าเริ่มต้นมากกว่าหรือเท่ากับร้อยละ 40 หรือระดับ serum creatinine เพิ่มขึ้น 2 เท่า (doubling of serum creatinine) หรือการเกิดโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้าย (ESRD) จากการศึกษาพบว่าจำนวนผู้ป่วยที่ได้รับยา dapagliflozin และ empagliflozin ที่มีค่า eGFR ลดลงจากค่าเริ่มต้นอย่างน้อยร้อยละ 40 เท่ากับ 12 ราย (ร้อยละ 4.0) และ 7 ราย (ร้อยละ 2.3) ตามลำดับ ขณะที่ผู้ป่วยที่ได้รับยาลดระดับน้ำตาลในเลือดกลุ่มอื่นพบถึง 21 ราย (ร้อยละ 7.0) ซึ่งมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p = 0.009) และพบว่าจำนวนผู้ป่วยที่ได้รับยากลุ่ม SGLT-2 inhibitors ที่มีระดับ serum creatinine เพิ่มขึ้น 2 เท่า เท่ากับ 1 ราย (ร้อยละ 0.17) ขณะที่ผู้ป่วยได้รับยาลดระดับน้ำตาลในเลือดกลุ่มอื่นพบ 2 ราย (ร้อยละ 0.7) แต่ไม่พบความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p = 0.220) โดยไม่พบผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้ายรายใหม่ในผู้ป่วยทุกรายที่เข้าร่วม อีกทั้งพบว่าการได้รับยา empagliflozin ร่วมกับยากลุ่ม RAAS blockade มีผลเสริมฤทธิ์การชะลอความเสื่อมของไตจากการพิจารณาจากค่า eGFR ที่ลดลงจากค่าเริ่มต้นอย่างน้อยร้อยละ 40 ซึ่งแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p = 0.021) เมื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการทำงานของไตที่ลดลงแบบ univariate พบว่า 1) ผู้ป่วยที่ได้รับยากลุ่ม SGLT-2 inhibitors 2) ผู้ป่วยที่ได้รับยากลุ่ม SGLT-2 inhibitors ที่มีค่า FPG ≥ 130 mg/dl และมีค่า eGFR ระยะที่ 1 และ 2 จะมีความเสี่ยงที่ค่า eGFR จะลดลงจากค่าเริ่มต้นอย่างน้อยร้อยละ 40 คิดเป็น (OR) 0.434 เท่า 0.485 เท่า 0.319 เท่า และ 1.990 เท่าของผู้ป่วยที่ได้รับยากลุ่ม non-SGLT-2 inhibitors อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p = 0.010, p = 0.032, p = 0.011, p = 0.039 ตามลำดับ) และเมื่อวิเคราะห์แบบ multivariate พบว่า ผู้ป่วยที่ได้รับยากลุ่ม SGLT-2 inhibitors และผู้ป่วยที่มีค่า eGFR ระยะที่ 1 ที่ได้รับยากลุ่ม SGLT-2 inhibitors จะมีความเสี่ยงที่ค่า eGFR จะลดลงจากค่าเริ่มต้นอย่างน้อยร้อยละ 40 คิดเป็น (OR) 0.345 เท่า และ 0.347 เท่าของผู้ป่วยที่ได้รับยากลุ่ม non-SGLT-2 inhibitors อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p = 0.002, p = 0.019 ตามลำดับ) สรุปผลการวิจัย การได้รับยากลุ่ม SGLT-2 inhibitors สามารถชะลอการดำเนินไปของโรคไตเรื้อรังในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ได้ดีกว่ายาลดระดับน้ำตาลในเลือดกลุ่มอื่น | th |
dc.language.iso | th | |
dc.publisher | Silpakorn University | |
dc.rights | Silpakorn University | |
dc.subject | โรคเบาหวานชนิดที่ 2 | th |
dc.subject | SGLT-2 inhibitors | th |
dc.subject | โรคไตเรื้อรัง | th |
dc.subject | ปัจจัยที่ส่งผลต่อการดำเนินไปของโรคไต | th |
dc.subject | Type 2 diabetes | en |
dc.subject | SGLT-2 inhibitors | en |
dc.subject | chronic kidney disease | en |
dc.subject | factors affecting progression of kidney disease | en |
dc.subject.classification | Medicine | en |
dc.title | Comparison of effectiveness between SGLT-2 inhibitors and non-SGLT-2 inhibitors for progression of chronic kidney disease in type 2 diabetes mellitus | en |
dc.title | การเปรียบเทียบประสิทธิผลของยากลุ่ม SGLT-2 inhibitors กับยาลดระดับน้ำตาลในเลือดกลุ่มอื่นต่อการดำเนินไปของโรคไตเรื้อรัง ในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 | th |
dc.type | Thesis | en |
dc.type | วิทยานิพนธ์ | th |
Appears in Collections: | Pharmacy |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
620820002.pdf | 2.51 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.