Please use this identifier to cite or link to this item:
http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/425
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.author | สรรพคุณ, ภัทรวิท | - |
dc.contributor.author | SUPPHAKHUN, PHATTHARAWIT | - |
dc.date.accessioned | 2017-08-27T03:04:53Z | - |
dc.date.available | 2017-08-27T03:04:53Z | - |
dc.date.issued | 2558-11-26 | - |
dc.identifier.uri | http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/425 | - |
dc.description | 56363203 ; สาขาวชิาสารสนเทศศาสตร์ทางสุขภาพ -- นายภัทรวิท สรรพคุณ | en_US |
dc.description.abstract | การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์พัฒนาเกมคอมพิวเตอร์เพื่อส่งเสริมการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุสมผลสำหรับนักศึกษาเภสัชศาสตร์และประเมินผลการเรียนรู้และความพึงพอใจผ่านการเล่นเกมคอมพิวเตอร์ของนักศึกษาคณะเภสัชศาสตร์ชั้นปีที่ 1 ถึง 6 การศึกษานี้มีรูปแบบวิจัยและพัฒนา โดยแบ่งออกเป็น 2 ขั้นตอน คือ การพัฒนาเกมคอมพิวเตอร์เพื่อส่งเสริมการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุสมผล และประเมินการใช้เกมคอมพิวเตอร์เพื่อส่งเสริมการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุสมผล มีระยะเวลาทำการศึกษาตั้งแต่เดือน กรกฏาคม พ.ศ. 2557 ถึง กรกฏาคม พ.ศ. 2558 การพัฒนาโปรแกรมเกมคอมพิวเตอร์เพื่อส่งเสริมการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุสมผลใช้ซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ส Renpy รุ่น 6.18.3 โดยมีขอบเขตเนื้อหาของเกมคือ การใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุสมผลใน 6 สถานการณ์ ได้แก่ ไข้หวัด คอหอยอักเสบ ไซนัสอักเสบ หูชั้นกลางอักเสบ ท้องร่วงเฉียบพลัน และแผลเลือดออก โดยผ่านการตรวจสอบความถูกต้องของเนื้อหาจากผู้เชี่ยวชาญด้านเภสัชกรรมชุมชนและเทคโนโลยีสารสนเทศ เมื่อปรับปรุงและพัฒนาเกมจนเสร็จสิ้นแล้ว ขั้นตอนการประเมินการใช้เกมคอมพิวเตอร์เพื่อส่งเสริมการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุสมผลในนักศึกษาเภสัชศาสตร์ชั้นปีที่ 1-6 จำนวน 180 คน โดยทำการทดสอบความรู้ก่อนและหลังใช้เกมคอมพิวเตอร์เป็นแบบกลุ่มเดียวสอบก่อน-หลัง ผลการวิเคราะห์ พบว่าคะแนนผลการทดสอบความรู้เรื่องการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุสมผลหลังจากเล่นเกมสูงกว่าก่อนเล่นเกม อย่างมีนัยทางสถิติ (p<0.05) และ ผลประเมินด้านความพึงพอใจต่อระบบของเกมคอมพิวเตอร์ โดยเฉลี่ยอยู่ในระดับ มาก มีค่าเฉลี่ย 3.73±1.0 (คะแนนเต็ม 5) ความพึงพอใจต่อเนื้อหาของเกมคอมพิวเตอร์ โดยเฉลี่ยอยู่ในระดับ มาก มีค่าเฉลี่ย 3.91±0.83 (คะแนนเต็ม 5) และการประเมินโครงสร้างพื้นฐานที่พึงมีในเกมการศึกษาด้านการแพทย์และสุขภาพตามไลเบอร์แมน โดยเฉลี่ยอยู่ในระดับ มาก มีค่าเฉลี่ย 3.84±0.93 (คะแนนเต็ม 5) จากผลการศึกษานี้การใช้เกมคอมพิวเตอร์ในการเรียนรู้เรื่องการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุสมผลสามารถเสริมความรู้ให้กับนักศึกษาเภสัชศาสตร์ชั้นปีที่ 1-6 ดังนั้นการใช้เกมคอมพิวเตอร์จึงเป็นทางเลือกอีกรูปแบบหนึ่งที่สามารถนำมาใช้ในการพัฒนาการเรียนการสอนได้ The objective of this study to develop computer games for promote rational antibiotics use suitable for pharmacy students and evaluate learning outcomes, satisfaction of 1 to 6 year pharmacy students. This study design is research and development divided into two parts 1) develop computer games for promote rational antibiotics use and 2) to evaluate learning outcomes and satisfaction of 1st to 6th year pharmacy students. The study period was done between from July 2014 to July 2015. Computer games for promote rational antibiotics developed by open source software renpy version 6.18.3. Content scope of the game is rational antibiotics use in 6 situations, including common cold, pharyngitis, sinusitis, otitis, acute diarrhea and wound bleeding. Content of this game validated by specialist in community pharmacy field. When developing the game has finished and then evaluated using computer games to promote the rational antibiotics use in 1 to 6 years pharmacy students total 180 persons by pretest and posttest in the same group. Test results indicated the knowledge about rational antibiotics use after play game more than before play game at statistical significance (p<0.05). The overall result game systems satisfaction is moderate with an average of score 3.73±1.0 (maximum score 5.0), game contents satisfaction is moderate with an average of score 3.91±0.83 (maximum score 5.0) and lieberman 's 10 building block is moderate with an average of 3.84±0.93 (maximum score 5.0). The results of this study Indicate that learning by computer games for promote rational antibiotics use can improve knowledge of 1 to 6 years pharmacy students. Game education is alternative innovation for used in teaching and learning. | en_US |
dc.language.iso | other | en_US |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยศิลปากร | en_US |
dc.subject | การใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุสมผล | en_US |
dc.subject | เกมคอมพิวเตอร์ | en_US |
dc.subject | นักศึกษาเภสัชศาสตร์ | en_US |
dc.subject | เภสัชศาสตร์ | en_US |
dc.subject | ANTIBIOTICS SMART USE | en_US |
dc.subject | GAME COMPUTER | en_US |
dc.subject | PHARMACY STUDENT | en_US |
dc.subject | PHARMACY | en_US |
dc.title | การพัฒนาเกมคอมพิวเตอร์เพื่อส่งเสริมการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุสมผล | en_US |
dc.title.alternative | DEVELOPMENT OF COMPUTER GAME FOR PROMOTING RATIONAL ANTIBIOTICS USE. | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
Appears in Collections: | Pharmacy |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
56363203 ภัทรวิทย์ สรรพคุณ.pdf | 3.8 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.