Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/440
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorล้านสา, สุวธิดา-
dc.contributor.authorLANSA, SUVATIDA-
dc.date.accessioned2017-08-31T01:22:19Z-
dc.date.available2017-08-31T01:22:19Z-
dc.date.issued2559-07-07-
dc.identifier.urihttp://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/440-
dc.description55253407 ; สาขาวิชาหลักสูตรและการนิเทศ-- สุวธิดา ล้านสาen_US
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ1)ศึกษาหาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์และจิตวิทยาศาสตร์ 2) พัฒนาและหาประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์และจิตวิทยาศาสตร์ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 3) ทดลองใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์และจิตวิทยาศาสตร์ และ 4) เพื่อประเมินและปรับปรุงชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์และจิตวิทยาศาสตร์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ มหามงคล ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2557 จังหวัดนครปฐม จำนวน 40 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง การดำรงชีวิตของพืช 2) แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ 3) แบบทดสอบวัดผลการเรียนรู้ เรื่อง การดำรงชีวิต 4) แบบทดสอบวัดความสามารถในการคิดวิเคราะห์ 5) แบบวัดจิตวิทยาศาสตร์ 6) แบบสอบถามความคิดเห็นที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ การวิเคราะห์ข้อมูล ใช้ค่าเฉลี่ย (x) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D. ) การทดสอบหาค่าที ( t- test dependent) และ การวิเคราะห์เนื้อหา (Content analysis) ผลวิจัยพบว่า 1. ข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ได้จากนักเรียน ครู ผู้เชี่ยวชาญ พบว่า ควรมีเนื้อหาให้ความรู้ ใช้ภาษาที่เข้าใจง่ายชัดเจน มีภาพประกอบสีสันสวยงาม 2. ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นมีทั้งหมด 5 ชุดกิจกรรม แต่ละชุดกิจกรรมประกอบด้วย 1) ชื่อชุดกิจกรรม 2) คำนำ 3)สารบัญ 4) คำชี้แจง 5) สาระสำคัญ/จุดประสงค์ 6) ใบความรู้/ใบกิจกรรม 7) แบบทดสอบก่อนเรียน 8) แบบทดสอบหลังเรียน และมีค่าประสิทธิภาพ 81.40/85.50 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 ที่กำหนดไว้ 3. ผลการทดลองใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ พบว่า การเรียนการสอนดำเนินการได้ตามแผนการจัดการเรียนรู้ นักเรียนให้ความสนใจ และมีส่วนร่วมในการปฏิบัติกิจกรรมอย่างสนุกสนาน 4. ผลการใช้ชุดกิจกรรม พบว่า ผู้เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีผลการเรียนรู้ เรื่อง การดำรงชีวิตของพืช หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญที่ .05 ผู้เรียนมีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ หลังการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้สูงกว่าก่อนใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ อย่างมีนัยสำคัญที่ .05 ผู้เรียนมีคุณลักษณะของจิตวิทยาศาสตร์หลังการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้สูงกว่าก่อนใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ซึ่งอยู่ในระดับสูง ผู้เรียนมีความคิดเห็นต่อชุดกิจกรรมการเรียนรู้อยู่ในระดับเห็นด้วยมาก The objectives of this research were to :1) study the fundamental data for development of learning activity packages by using inquiry process for promoting critical thinking and scientific mind for fourth grade students 2) develop and determine the efficiency of the learning activity package by using inquiry process for promoting critical thinking and scientific mind to meet the hypothetical criterion of 80/80 3) implete the learning activity package by using inquiry process promoting critical thinking and scientific mind and 4) evaluate and improve the learning activity package by using inquiry process for promoting critical thinking and scientific mind. The sample consisted of 40 fourth grade students of Phratammak suankularb Mahamongkal school during the second semester the academic year 2014 in Nakhon Pathom province. The instrument included 1) learning activity packages 2) lesson plans 3) a learning outcome test 4) an critical thinking ability test 5) scientific mind questionnaires and 6) a questionnaire. The collected data was analyzed by mean, standard deviation, dependent t-test and content analysis. The research finding were as follows : 1) The basic information which getting form students, teachers and experts for developing the learning activity packages were they should be knowledgeable contents’ use simple and clear language and also be colorful pictures. 2) There were five learning activity packages and each learning activity packages and each consisted of topics as follow, (1) the title of learning activity packages (2) introduction (3) content (4) explanation (5) objectives 6) worksheets (7) learning achievement test before being taught (8) learning achievement test. The efficiency of learning activity packages was 81.40/85.50. 3) The assessment and development of learning activity packages, the results in using learning activity packages ,the learning approach followed the lesson plans. The students were interested and had participation in doing activities. 4) The results after using activity packages were fourth grade students had learning outcome about the existence of plants were significantly higher than before the learning at .05 level., an analytical thinking ability after using learning activity packages were significantly at .05 level., and scientific mind higher than before using learning activity packages were at high level., students’ opinions toward learning activity package was at high level.en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยศิลปากรen_US
dc.subjectชุดกิจกรรมการเรียนรู้en_US
dc.subjectความสามารถในการคิดวิเคราะห์en_US
dc.subjectจิตวิทยาศาสตร์en_US
dc.subjectLEARNING ACTIVITY PACKAGESen_US
dc.subjectCRITICAL THINKINGen_US
dc.subjectSCIENTIFIC MINDen_US
dc.titleการพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์และจิตวิทยาศาสตร์สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4en_US
dc.title.alternativeTHE DEVELOPMENT OF LEARNING ACTIVITY PACKAGE BY USING INQUIRY PROCESS FOR PROMOTING CRITICAL THINKING AND SCIENTIFIC MIND FOR FOURTH GRADE STUDENTS.en_US
dc.typeThesisen_US
Appears in Collections:Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
55253407 สุวธิดา ล้านสา.pdf8.57 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.