Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/445
Title: ผลการใช้บทเรียนมัลติมีเดียแบบควบคุมบทเรียนโดยโปรแกรมกำหนด เรื่อง ระบบย่อยอาหารที่ส่งผลต่อความคงทนในการจำของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
Other Titles: EFFECTS OF USING MULTIMEDIA COURSEWARE CONTROLLED BY THE SET PROGRAM (PROGRAM CONTROL) THAT AFFECT THE DIGESTIVE SYSTEM AND RETENTION TO REMEMBER OF STUDETS IN GRADE 6. INDEPENDENT STUDY
Authors: ไพรสุวรรณ, ธนภรณ์
PAISUWON, TANAPORN
Keywords: บทเรียนมัลติมีเดีย
ระบบย่อยอาหาร
MULTIMEDIA
THE DIGESTIVE SYSTEM
Issue Date: 1-Aug-2559
Publisher: มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาบทเรียนมัลติมีเดียแบบควบคุมบทเรียนโดยโปรแกรมกำหนด เรื่อง ระบบย่อยอาหารให้มีประสิทธิภาพ 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียนของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เมื่อเรียนด้วยบทเรียนมัลติมีเดียแบบควบคุมบทเรียนโดยโปรแกรมกำหนด เรื่อง ระบบย่อยอาหาร3) เพื่อศึกษาความคงทนในการจำของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เมื่อเรียนด้วยบทเรียนมัลติมีเดียแบบควบคุมบทเรียนโดยโปรแกรมกำหนด เรื่อง ระบบย่อยอาหาร4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีต่อบทเรียนมัลติมีเดียแบบควบคุมบทเรียนโดยโปรแกรมกำหนด เรื่อง ระบบย่อยอาหาร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนวัดรุ้ง (วิบูลย์วิทยาคาร) อำเภอเมืองอ่างทอง จังหวัดอ่างทอง ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2557 จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ 1) แบบสัมภาษณ์ของผู้เชี่ยวชาญ แบ่งเป็นด้านเนื้อหา ด้านการออกแบบบทเรียนมัลติมีเดียและด้านบทเรียนมัลติมีเดียแบบควบคุมบทเรียนโดยโปรแกรมกำหนด ด้านละ 3 ฉบับ 2) บทเรียนมัลติมีเดียแบบควบคุมบทเรียนโดยโปรแกรมกำหนด เรื่อง ระบบย่อยอาหาร 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 4) แบบสอบถามความพึงพอใจในการเรียน ผลการวิจัยพบว่า 1. ประสิทธิภาพของบทเรียนในสื่อมัลติมีเดีย เรื่อง ระบบย่อยอาหารที่ส่งผลต่อความคงทนในการจำของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีประสิทธิภาพ 82.21/84.33 สูงกว่าเกณฑ์ 80/80 2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยบทเรียนมัลติมีเดียแบบควบคุมบทเรียนโดยโปรแกรมกำหนด เรื่อง ระบบย่อยอาหารแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ก่อนเรียน Χ = 16.90 หลังเรียน Χ = 25.30 3. ผลการศึกษาความพึงพอใจที่มีต่อบทเรียนมัลติมีเดีย เรื่อง ระบบย่อยอาหาร ที่ส่งผลต่อความคงทนในการจำของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยภาพรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก (Χ = 4.02 , S.D. = 0.13) 4. ผลการเปรียบเทียบความคงทนในการจำบทเรียนมัลติมีเดียแบบควบคุมบทเรียนโดยโปรแกรมกำหนด เรื่อง ระบบย่อยอาหารของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 หลังจากเรียนผ่านไปแล้ว 2 สัปดาห์ พบว่ามีความคงทนในการจำไม่แตกต่างกัน เท่ากับ (Χ = 24.43, S.D. = 2.012) และการเรียนรู้หลังเรียนเท่ากับ (Χ = 25.30, S.D. = 24.43) The objectives of this independent study were 1) to develop program control based multimedia lesson “the digestive system” in efficient manner, 2) to compare the pretest-posttest of achievement through program control based multimedia lesson “the digestive system”, 3) to explore the students retention through “the digestive system” lesson, and 4) to explore students satisfaction with “the digestive system” lesson. The sample of this research consisted of 30 grade 6 students at Wat Rung (Wiboon Wittayakarn School) studying in the first semester in 2014. The research instruments were 1. Export interviews, consisting of 3 copies of Content, 3 copies of Multimedia Lesson Design, and 3 copies of Program Control based Multimedia Lesson. 2. Program control based multimedia lesson “the digestive system”. 3. Achievement Test, and Satisfaction Questionnaire. The results of this study showed as follows: 1. The program control based multimedia lesson “the digestive system” had the efficiency on the grade 6 students retention with efficiency score of 82.21 / 84.33, which was higher than 80/80 standard level. 2. There was the difference in the pretest (Χ = 16.90) and posttest(Χ = 25.30) of achievement through program control based multimedia lesson “the digestive system”with statistical significance level of .05. 3. Overall the sample had high level of satisfaction with program control based multimedia lesson “the digestive system” affecting the retention(Χ = 4.02 , S.D. = 0.13). 4. There was no difference in the pretest (Χ = 24.43, S.D. = 2.012) and posttest (Χ = 25.30, S.D. = 24.43) of the retention of program control based multimedia lesson “the digestive system” after two weeks of study.
Description: 54257314 ; สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา -- ธนภรณ์ ไพรสุวรรณ
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/445
Appears in Collections:Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
54257314 ธนภรณ์ ไพรสุวรรณ.pdf3.95 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.