Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/449
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorผึ้งพงษ์, จันจิรา-
dc.contributor.authorPUANGPHONG, JANJIRA-
dc.date.accessioned2017-08-31T01:25:02Z-
dc.date.available2017-08-31T01:25:02Z-
dc.date.issued2559-08-05-
dc.identifier.urihttp://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/449-
dc.description55253301 ; สาขาวิชาหลักสูตรและการนิเทศ -- จันจิรา ผึ้งพงษ์en_US
dc.description.abstractการวิจัยในครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบความสามารถในการดูอย่างมีวิจารณญาณ ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้ตามแนวโยนิโสมนสิการ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 2) ศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ตามแนวโยนิโสมนสิการ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนวัดศีรษะทอง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 2 จำนวน 30 คน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558 ใช้แบบแผนการวิจัยแบบหนึ่งกลุ่มสอบก่อนและสอบหลัง ( One – Group Pretest Posttest Design ) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้ตามแนวโยนิโสมนสิการ 2) แบบทดสอบวัดความสามารถการดูอย่างมีวิจารณญาณ 3) แบบสอบถามความคิดเห็นที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ตามแนวโยนิโสมนสิการ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ใช้ค่าร้อยละ (%) , ค่าเฉลี่ย (X) , ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ( S.D.) , สถิติทดสอบทีแบบไม่เป็นอิสระต่อกัน ( t – test for dependent samples ) และการวิเคราะห์เนื้อหาเชิงคุณภาพ ผลการวิจัยพบว่า 1. ความสามารถในการดูอย่างมีวิจารณญาณหลังการเรียนรู้ตามแนวโยนิโสมนสิการของนักเรียนชั้น ประถมศึกษาปีที่ 6 สูงกว่าก่อนการจัดการเรียนรู้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 2. ความคิดเห็นของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ตามแนวโยนิโสมนสิการ ในภาพรวมอยู่ในระดับ เห็นด้วยมากที่สุด โดยนักเรียนเห็นด้วยมากที่สุด ด้านกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนว โยนิโสมนสิการ นักเรียนมีความคิดเห็นว่า เป็นกิจกรรมการเรียนรู้ที่น่าสนใจ The purpose of research were to : 1) compare the sixth grade students’ critical viewing ability before and after being taught by Yonisomanasikarn approach and 2) study the students’ opinion toward Yonisomanasikarn approach.The sample consisted of 30 of the sixth grade students of Watsrisathong School, Nakornpathom Education Service Area Office2 of the second semester academic year 2015. The research design was the one - group pretest - posttest design. The research instruments were the lesson plans taught by Yonisomanasikarn approach , crirtical viewing ability test and a questionnaire asking students’ opinions toward Yonisomanasikarn approach. The statistical analysis employed were percentage (%), mean (X), standard deviation (S.D.), t – test dependent and content analysis. The finding were as follow: 1) The sixth grade students ’ critical viewing ability after being taught by Yonisomana sikarn approach were higher than before had a statistically significant at the level of .01 . 2) The sixth grade students’ opinions toward Yonisomanasikarn approach were at the highest level of agreement. On the aspect of learning activities they could think that the activities were interesting.en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยศิลปากรen_US
dc.subjectการดูอย่างมีวิจารณญาณen_US
dc.subjectการจัดการเรียนรู้ตามแนวโยนิโสมนสิการen_US
dc.subjectCRITICAL VIEWING ABILITYen_US
dc.subjectYONISOMANASIKARN APPROACHen_US
dc.titleการพัฒนาความสามารถในการดูอย่างมีวิจารณญาณด้วยการจัดการเรียนรู้ตามแนวโยนิโสมนสิการสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6en_US
dc.title.alternativeTHE DEVELOPMENT OF CRITICAL VIEWING ABILITY BY YONISOMANASIKARN APPROACH FOR THE SIXTH GRADE STUDENTS.en_US
dc.typeThesisen_US
Appears in Collections:Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
55253301 จันจิรา ผึ้งพงษ์.pdf5.68 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.