Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/462
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorแป้นอินทร์, เพ็ญนภา-
dc.contributor.authorpanin, phennapha-
dc.date.accessioned2017-08-31T01:28:09Z-
dc.date.available2017-08-31T01:28:09Z-
dc.date.issued2559-08-03-
dc.identifier.urihttp://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/462-
dc.description54254316 ; สาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษในฐานะภาษาต่างประเทศ -- เพ็ญนภา แป้นอินทร์en_US
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคำศัพท์ของนักเรียนจาก การเรียนการสอนแบบกลยุทธ์ช่วยจำที่แตกต่างกันทั้งสามแบบ เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคำศัพท์ของนักเรียนจากรูปแบบการเรียนรู้ที่แตกต่างกันทั้งสามแบบ และเพื่อศึกษาปฏิสัมพันธ์ระหว่างรูปแบบการเรียนรู้และการเรียนการสอนแบบกลยุทธ์ช่วยจำต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคำศัพท์ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558 โรงเรียนสุเหร่าคลองจั่น เขตบางกะปิ กรุงเทพมหานครได้มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple random sampling) ทำการทดลองโดยให้นักเรียนเรียนด้วยกลยุทธ์ช่วยจำ จำนวน 3 บท ใช้เวลาในการเรียน 3 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 1 วัน วันละ 1 คาบเรียน โดยนักเรียนใช้เวลาเรียนบทเรียนละ 1 คาบ รวมทั้งสิ้น 3 คาบเรียนไม่รวมการทำแบบสอบถามประเมินค่ารูปแบบการเรียนรู้และทำแบบทดสอบความสามารถทางด้านคำศัพท์ภาษาอังกฤษก่อนเรียนและหลังเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบกลยุทธ์ช่วยจำเพื่อพัฒนาการเรียนรู้คำศัพท์ภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 2) แบบทดสอบความสามารถทางด้านคำศัพท์ภาษาอังกฤษ 3) แบบสอบถามประเมินค่ารูปแบบการเรียนรู้แบบ VAK การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบสองทาง (Two-Way ANOVA) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคำศัพท์ของนักเรียนจากการเรียนการสอนแบบกลยุทธ์ช่วยจำที่แตกต่างกันทั้งสามแบบ เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคำศัพท์ของนักเรียนจากรูปแบบการเรียนรู้ที่แตกต่างกันทั้งสามแบบ และเพื่อศึกษาปฏิสัมพันธ์ระหว่างรูปแบบการเรียนรู้และการเรียนการสอนแบบกลยุทธ์ช่วยจำต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคำศัพท์แล้วนำไปแปลความหมาย ผลการวิจัยพบว่า 1. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคำศัพท์ของนักเรียนจากการเรียนการสอนแบบกลยุทธ์ช่วยจำทั้งสามแบบแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคำศัพท์ของนักเรียนจากรูปแบบการเรียนรู้ทั้งสามแบบแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 3. ปฏิสัมพันธ์ระหว่างรูปแบบการเรียนรู้และการเรียนการสอนแบบกลยุทธ์ช่วยจำต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคำศัพท์แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 The purposes of the research were to: 1) compare students’ vocabulary achievement by using the three different mnemonic strategies instruction 2) compare students’ vocabulary achievement by using the three different learning styles and 3) study interaction between the three different learning styles and the three different mnemonic strategies instruction which affected students’ vocabulary achievement. The sample, selected by a simple sampling technique, comprised 40 Grade Three students of Suraoklongchan School, Bangkapi District, Bangkok, during the second semester of the academic year 2015. The students studied vocabulary theme through 3 units of mnemonic strategies instruction. The duration of the experimental research covered 3 class sessions over a three-week period, excluded pre-test and posttest. The instruments used for gathering data consisted of: 1) lesson plans by using mnemonic strategies instruction for the third grade students; 2) an English achievement test; and 3) a questionnaire on opinions toward the VAK learning styles. The Two-Way ANOVA was used to analyze the gathered data in order to assess the students’ ability in English vocabulary before and after using learning styles and mnemonic strategies instruction. Furthermore, mean and standard deviation of items were used to evaluate the students’ learning styles towards mnemonic strategies instruction. The results of the study were as follows: 1. Students’ vocabulary achievement by using the three different mnemonic strategies instruction was not significantly different. 2. Students’ vocabulary achievement by using the three different learning styles was not significantly different. 3. There was a significant interaction between the three different learning styles and the three different mnemonic strategies instruction which affected students’ vocabulary achievement at the 0.05 level.en_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยศิลปากรen_US
dc.subjectกลยุทธ์ช่วยจำen_US
dc.subjectรูปแบบการเรียนรู้en_US
dc.subjectผลสัมฤทธิ์ด้านคำศัพท์en_US
dc.subjectคำศัพท์ภาษาอังกฤษen_US
dc.subjectMNEMONIC STRATEGIES INSTRUCTIONen_US
dc.subjectLEARNING STYLESen_US
dc.subjectVOCABULARY ACHIEVEMENTen_US
dc.subjectENGLISH VOCABULARYen_US
dc.titleผลของรูปแบบการเรียนรู้และการสอนแบบกลยุทธ์ช่วยจำทีมีต่อผลสัมฤทธิ์ด้านคำศัพท์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปี ที่ 3 :กรณีศึกษาของโรงเรียนสุเหร่าคลองจั่นen_US
dc.title.alternativeEFFECTS OF LEARNING STYLES AND MNEMONIC STRATEGIES INSTRUCTION ON THE THIRD GRADE STUDENTS' VOCABULARY ACHIEVEMENT :A CASE STUDY OF SURAOKLONGCHAN SCHOOLen_US
dc.typeThesisen_US
Appears in Collections:Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
54254316 ; เพ็ญนภา แป้นอินทร์ .pdf54254316 ; สาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษในฐานะภาษาต่างประเทศ -- เพ็ญนภา แป้นอินทร์4.58 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.