Please use this identifier to cite or link to this item:
http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/4662
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor | Natthamon KIDSAMRAN | en |
dc.contributor | ณัฐมน คิดสำราญ | th |
dc.contributor.advisor | Naruphol Wangthongchaicharoen | en |
dc.contributor.advisor | นฤพล หวังธงชัยเจริญ | th |
dc.contributor.other | Silpakorn University | en |
dc.date.accessioned | 2023-08-11T02:54:47Z | - |
dc.date.available | 2023-08-11T02:54:47Z | - |
dc.date.created | 2023 | |
dc.date.issued | 4/7/2023 | |
dc.identifier.uri | http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/4662 | - |
dc.description.abstract | The objective of this study is to analyze human remains and determine the physical characteristics of the Wiang Tha Kan population. The study will focus on estimating the sex, age at death, and stature of eleven individuals. Additionally, the mortuary pattern of 37 individuals will be studied, along with the dental measurement of sixteen individuals who were estimated to be fifteen years or older at the time of their death. The study found that there were a total of eleven individuals analyzed, including nine adults, one young adult, and one child. Based on the analysis, it was determined that one skeleton was male and four were female. Additionally, the estimated height of four individuals was calculated using various formulas, resulting in measurements ranging from 159.33 cm to 164.82 cm for the male skeleton, and from 152.88 cm to 154.51 cm for the female skeletons. The burials type at Wiang Tha Kan were divided into three different types; semi-flexed about 16%, flexed burial about 38%, and the remaining 46% cannot be divided due to the poor condition of bone. This study suggested that the most popular pattern was the flexed burial which was found in all sexes and ages. A comparison study with the other archaeological sites in lower Northern Thailand also revealed similar patterns, suggesting a possible cultural inheritance. It’s worth mentioning that good offering was less frequently found in the protohistoric period, which could indicate a custom of not consecrating things. Additionally, most burials were laid in the northwest-southeast direction, a common practice observed across all ages and sexes. Our study on tooth size differences between male and female adults in the Wiang Tha Kan population revealed a significant difference in tooth size, with males exhibiting larger teeth in terms of both width and length. Specifically, the maxillary and mandibular canine, as well as the right maxillary and left mandibular second molar, showed a noticeable difference. Out of the sixteen adults we studied, five were males and eleven were females. It was observed that the size of molar teeth in both male and female populations from Wiang Tha Kan and Ban Chiang differed, upon comparison with the prehistoric Ban Chiang population. It is noteworthy that all teeth of Wiang Tha Kan males were larger than those of Ban Chiang males, except the left maxillary lateral incisor. This difference may be attributed to genetic, dietary, subsistence, and environmental factors specific to each region. | en |
dc.description.abstract | เอกสารการค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบถึงลักษณะทางกายภาพของประชากรเวียงท่ากาน จากการวิเคราะห์โครงกระดูกมนุษย์เพื่อประเมินในการระบุเพศ อายุเมื่อเสียชีวิต และความสูง ผ่านหลักฐานประเภทโครงกระดูกมนุษย์จำนวน 11 ตัวอย่าง ด้วยวิธีการศึกษาด้วยตาเปล่า เพื่อทราบถึงรูปแบบการฝังศพของประชากรเวียงท่ากานที่พบทั้งหมดจำนวน 37 ตัวอย่าง และเพื่อทราบถึงลักษณะที่วัดได้ของฟันจากตัวอย่างที่มีผลการประเมินอายุเมื่อเสียชีวิต 15 ปีขึ้นไป จำนวน 16 ตัวอย่าง ผลการวิเคราะห์ลักษณะทางกายภาพของโครงกระดูกจากวิธีการศึกษาด้วยตาเปล่า พบเป็นวัยผู้ใหญ่จำนวน 9 โครง วัยหนุ่มสาว 1 โครง และวัยเด็ก 1 โครง ระบุเพศได้จำนวน 5 โครง แบ่งเป็นเพศชาย 1 โครง เพศหญิง 4 โครง ประเมินความสูงได้ 4 โครง มีค่าความสูงเพศชาย 1 โครงในกลุ่มคนไทย-จีน 159.33 เซนติเมตร กลุ่มคนไทยปัจจุบัน 161.85 เซนติเมตร กลุ่มคนอเมริกันผิวขาว 164.82 เซนติเมตร ค่าความสูงเพศหญิงจำนวน 3 โครงในกลุ่มคนไทย-จีน 153.02 เซนติเมตร กลุ่มคนไทยปัจจุบัน 152.28 เซนติเมตร กลุ่มคนอเมริกันผิวขาว 154.51 เซนติเมตร รูปแบบการฝังศพของแหล่งโบราณคดีเวียงท่ากาน ฝังในท่านอนตะแคง แบ่งย่อยออกเป็น 3 รูปแบบ คือการฝังรูปแบบกึ่งงอเข่า ร้อยละ 16, รูปแบบนอนงอเข่า ร้อยละ 38 และไม่สามารถระบุรูปแบบได้เนื่องจากสภาพความสมบูรณ์ของกระดูกหรือการฝังที่ผิดหลักกายวิภาค ร้อยละ 46 ผลการศึกษาพบว่ารูปแบบการฝังศพที่นิยมคือการฝังนอนตะแคงงอเข่า ซึ่งสามารถพบได้ทุกเพศและช่วงวัย ไม่มีแบบแผนกำหนดรูปแบบการฝังที่แน่นอน และจากการเปรียบเทียบกับแหล่งโบราณคดีในเขตพื้นที่ภาคเหนือตอนล่างพบรูปแบบการฝังในลักษณะเดียวกัน อาจเป็นการสืบทอดวัฒนธรรมการฝังศพ แต่สิ่งที่สังเกตได้ชัดเจนคือของอุทิศที่พบน้อยลงหรือแทบไม่พบเลยจากช่วงยุคหัวเลี้ยวประวัติศาสตร์ อาจเป็นธรรมเนียมปฏิบัติในเรื่องของการไม่มีของอุทิศร่วมกับศพ โดยทิศทางการวางตัวของศพที่นิยมคือทิศตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้ สามารถพบได้มากที่สุดในแต่ละทิศทางการฝังศพ และพบได้ทุกเพศและช่วงวัย การศึกษาความแตกต่างระหว่างเพศจากการวัดขนาดฟันของกลุ่มตัวอย่างประชากรเวียงท่ากานในวัยผู้ใหญ่จำนวน 16 ตัวอย่าง แบ่งเป็นเพศชาย 5 โครง เพศหญิง 11 โครง นำผลหรือค่าที่ได้จากการวัดขนาดฟันจำนวน 32 ซี่ วิเคราะห์เปรียบเทียบทางสถิติปริมาณ (t-test) พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญในอัตราเฉลี่ยมากกว่าร้อยละ 50 ของจำนวนฟัน พบว่าประชากรภายในกลุ่มตัวอย่างเดียวกันมีลักษณะฟันที่แตกต่างกัน ขนาดของฟันในเพศชายมีขนาดที่ใหญ่กว่าขนาดของฟันในเพศหญิงในด้านความกว้างและความยาว พบชัดเจนในฟันเขี้ยวพบทั้งขากรรไกรบนและขากรรไกรล่าง ถัดมาคือฟันกรามน้อยซี่ที่ 2 พบในขากรรไกรบนข้างขวา และฟันกรามซี่ที่ 2 พบในขากรรไกรล่างข้างซ้าย ผลการศึกษาเปรียบเทียบระหว่างสองแหล่งโบราณคดีคือเวียงท่ากานและบ้านเชียง พบความแตกต่างขนาดของฟันระหว่างเพศชายและเพศชาย เพศหญิงและเพศหญิงในชุดฟันกรามเช่นเดียวกัน มีความแตกต่างกันไปในแต่ละซี่ และที่น่าสนใจคือขนาดฟันในเพศชายที่เวียงท่ากานมีขนาดใหญ่กว่าฟันในเพศชายที่บ้านเชียงยกเว้นฟันตัด (#22) อาจด้วยปัจจัยที่เป็นผลมาจากการพันธุกรรม การบริโภค การดำรงชีพรวมถึงสภาพแวดล้อมในขณะนั้นของแต่ละภูมิภาค เนื่องจากกลุ่มตัวอย่างประชากรอยู่คนละยุค สมัย และพื้นที่ภูมิภาคที่แตกต่างกัน | th |
dc.language.iso | th | |
dc.publisher | Silpakorn University | |
dc.rights | Silpakorn University | |
dc.subject | การวิเคราะห์โครงกระดูกมนุษย์ | th |
dc.subject | รูปแบบการฝังศพ | th |
dc.subject | การวัดขนาดฟัน | th |
dc.subject | แหล่งโบราณคดีเวียงท่ากาน | th |
dc.subject | Human skeleton analysis | en |
dc.subject | Burial pattern | en |
dc.subject | Tooth size measurement | en |
dc.subject | Wiang Tha Kan Archaeology site | en |
dc.subject.classification | Social Sciences | en |
dc.subject.classification | Social Sciences | en |
dc.subject.classification | Professional, scientific and technical activities | en |
dc.subject.classification | History and archaeology | en |
dc.title | HUMAN SKELETAL REMAINS AND MORTUARY PRACTICE ANALYSIS AT WIANG THA KAN ARCHAEOLOGICAL SITE, SAN PA TONG DISTRICT, CHIANG MAI PROVINCE | en |
dc.title | การวิเคราะห์โครงกระดูกมนุษย์และรูปแบบการฝังศพ ที่แหล่งโบราณคดีเวียงท่ากาน อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ | th |
dc.type | Independent Study | en |
dc.type | การค้นคว้าอิสระ | th |
dc.contributor.coadvisor | Naruphol Wangthongchaicharoen | en |
dc.contributor.coadvisor | นฤพล หวังธงชัยเจริญ | th |
dc.contributor.emailadvisor | WANGTHONGCHAI_N@SU.AC.TH | |
dc.contributor.emailcoadvisor | WANGTHONGCHAI_N@SU.AC.TH | |
dc.description.degreename | Master of Arts (M.A.) | en |
dc.description.degreename | ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (ศศ.ม.) | th |
dc.description.degreelevel | Master's Degree | en |
dc.description.degreelevel | ปริญญาโท | th |
dc.description.degreediscipline | Archaeology | en |
dc.description.degreediscipline | โบราณคดี | th |
Appears in Collections: | Archaeology |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
60102201.pdf | 6.98 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.