Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/4698
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributorKotchaphorn WONGSANAOen
dc.contributorกชพร วงษาเนาว์th
dc.contributor.advisorWATANAPUN KRUTASAENen
dc.contributor.advisorวัฒนพันธุ์ ครุฑะเสนth
dc.contributor.otherSilpakorn Universityen
dc.date.accessioned2023-08-11T02:56:08Z-
dc.date.available2023-08-11T02:56:08Z-
dc.date.created2023
dc.date.issued4/7/2023
dc.identifier.urihttp://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/4698-
dc.description.abstract  Forest areas in Thailand have been tremendously invaded. Nakhonphanom is identified as most decreased forest area in 20 provinces in the northeastern region. Thus, researcher is interested in solving current problems by envisioning the scenario of the environment within the forest temple. The case study of this thesis was taken place at Tanyai Temple, Nawa, Nakhonphanom, focusing on a forest-conservation approach based on the built-environments that the forest temple being the spiritual center of the community. This approach is called Change-Adjust-Green Project; it requires participations from both monks and the community members to derive hands-on guidelines for the temple to practice. This research is formulated with three objectives: 1) study interdisciplinary Buddhist principles in built-environment design, 2) conceptualize the scenarios of the built-environment suitable to the monks and the community and then present them to the studied community members to gain feedback, and 3) formulate the guidelines in the design of the built environment for the forest temple. This study is consisted of six parts: 1) literature review and collect information, 2) preliminary and in-depth survey, 3) process of the experts, 4) process of the community, 5) process of conceptualization of the model, and 6) data analysis, synthesis and summarizing. The results of this study show that 1) the interdisciplinary Buddhist principles in the built-environment design are important issues related to Sapaya Buddhism: Avasa-Sapaya: suitable abode, Gocara-Sapaya: suitable resort, Utu-Sapaya: suitable climate, and Iriyapatha-Sapaya: suitable posture, and to cooperate  with three sciences: conservation includes preservation/repair, restoration, development, and protection. The community forest management supports by the outside is the forest temple. Sustainable design is the principle of landscape design. 2) The scenario of the built-environment suitable for monks and community is landscape design. Anyone can participate and it's as simple as possible, and landscape design is a desirable future or a future that should occur as a normative idea. 3) According to the concepts and principles of sustainable design: low-impact materials, reduce, reuse, recycle, repair, and up-cycling. What the researcher found is that there should be one more category that needs to be added, namely the addition, which the addition here is the addition of green space starting from the forest temple, and found that there are 7 components of the built-environment. Component 4. Landscape is a personal component that is important to component 1. Product, component 2. Interior, and component 3. Structure (architecture). And component 4. Landscape is a public component that is important to component 5. City, component 6. Region, and component 7 Global. If there is a focus on the landscape which here does not mean just designing the garden area, but this mean that cooperation in conservation and tree planting will lead to an increase in green space.en
dc.description.abstractในประเทศไทยพื้นที่ป่าได้ถูกบุกรุกเป็นอย่างมาก ซึ่งจังหวัดนครพนมเป็นพื้นที่ที่มีป่าไม้ลดลงมากที่สุดใน 20 จังหวัดของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ผู้วิจัยจึงมีความสนใจศึกษาการแก้ไขปัญหา ณ ปัจจุบันด้วยการมองเห็นภาพอนาคตของสภาพแวดล้อมภายในวัดป่า กรณีศึกษาของวิทยานิพนธ์นี้จัดขึ้นที่วัดตาลใหญ่ อ.นาหว้า จ.นครพนม โดยมุ่งเน้นไปที่แนวทางการอนุรักษ์ป่าไม้บนพื้นฐานของสิ่งแวดล้อมสรรค์สร้างที่วัดป่าเป็นศูนย์รวมจิตใจของชุมชน ซึ่งแนวทางนี้เรียกว่า “เปลี่ยนปรับปรก” โดยต้องอาศัยความร่วมมือจากพระสงฆ์และคนในชุมชนในการปฏิบัติ งานวิจัยนี้จัดทำขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาหลักพุทธสหวิทยาการในการออกแบบสิ่งแวดล้อมสรรค์สร้าง 2) เพื่อนำเสนอแนวคิดภาพอนาคตสิ่งแวดล้อมสรรค์สร้างที่เหมาะสมกับพระสงฆ์และชุมชนแล้วนำเสนอต่อสมาชิกในชุมชน และ 3) เพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่ในการออกแบบสิ่งแวดล้อมสรรค์สร้างภายในวัดป่า ซึ่งการศึกษาครั้งนี้ประกอบด้วย 6 ส่วน ได้แก่ 1) การศึกษาและเก็บรวบรวมข้อมูล 2) การสำรวจพื้นที่เบื้องต้นและการสำรวจพื้นที่เชิงลึก 3) การดำเนินการขั้นตอนส่วนของผู้เชี่ยวชาญ 4) การดำเนินการขั้นตอนส่วนของชุมชน 5) การดำเนินการขั้นตอนส่วนของการจำลองต้นแบบ และ 6) การวิเคราะห์ การสังเคราะห์ และการสรุปข้อมูล ผลการศึกษานี้พบว่า 1) หลักพุทธสหวิทยาการในการออกแบบสิ่งแวดล้อมสรรค์สร้างเป็นประเด็นที่สำคัญเกี่ยวกับการปฏิบัติในพระพุทธศาสนาเรื่องสัปปายะ ได้แก่ อาวาสสัปปายะ ที่อยู่อันเหมาะสม โคจรสัปปายะ แหล่งอาหารอํานวยที่เที่ยวบิณฑบาตที่เหมาะ อุตุสัปปายะ ดินฟ้าอากาศธรรมชาติแวดล้อมที่เหมาะ และอิริยาปถสัปปายะ อิริยาบถที่เหมาะกัน ร่วมกับ 3 ศาสตร์ คือ การอนุรักษ์ ได้แก่ การรักษา/ซ่อมแซม การฟื้นฟู การพัฒนา และการป้องกัน การจัดการป่าชุมชนที่ได้รับการสนับสนุนจากภายนอกคือ วัดป่า และการออกแบบอย่างยั่งยืน คือ หลักการออกแบบอย่างยั่งยืนด้านภูมิทัศน์ 2) ภาพอนาคตสิ่งแวดล้อมสรรค์สร้างที่เหมาะสมกับพระสงฆ์และชุมชน คือ การออกแบบภูมิทัศน์ ทุกคนสามารถมีส่วนร่วมและสามารถทำได้ง่ายที่สุด และการออกแบบภูมิทัศน์เป็นอนาคตที่พึงปรารถนาหรืออนาคตที่ควรจะเกิดขึ้นเป็นแนวคิดเชิงปทัสถาน 3) ตามหลักแนวคิดและหลักการออกแบบอย่างยั่งยืน ได้แก่ วัสดุที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในปริมาณต่ำ การลด การใช้ซ้ำ การนำกลับมาใช้ใหม่ การซ่อมบำรุง และการแปลงสภาพวัสดุเหลือใช้ สิ่งที่ผู้วิจัยค้นพบคือควรมีอีกหนึ่งหมวดที่จะต้องเพิ่มนั้นคือ การเพิ่ม ซึ่งการเพิ่มในที่นี้คือการเพิ่มของพื้นที่สีเขียวโดยเริ่มจากวัดป่าและค้นพบว่าองค์ประกอบของสิ่งแวดล้อมสรรค์สร้าง 7 ส่วน ซึ่งส่วนประกอบที่ 4 ภูมิทัศน์ เป็นส่วนประกอบที่มีความสำคัญต่อ ส่วนประกอบที่ 1 ผลิตภัณฑ์ ส่วนประกอบที่ 2 การตกแต่งภายใน และส่วนประกอบที่ 3 โครงสร้าง ในแง่มุมส่วนบุคคล และส่วนประกอบที่ 4 ภูมิทัศน์ เป็นส่วนประกอบที่มีความสำคัญต่อ ส่วนประกอบที่ 5 เมือง ส่วนประกอบที่ 6 ภูมิภาค และส่วนประกอบที่ 7 โลก ในแง่มุมส่วนรวมหรือสาธารณะ หากมีการให้ความสำคัญกับภูมิทัศน์ ซึ่งในที่นี้ไม่ได้หมายความเพียงแค่การออกแบบพื้นที่สวน แต่หมายถึงการร่วมมือในการอนุรักษ์และการปลูกต้นไม้ ซึ่งจะก่อให้เกิดการเพิ่มขึ้นของพื้นที่สีเขียวนั่นเองth
dc.language.isoth
dc.publisherSilpakorn University
dc.rightsSilpakorn University
dc.subjectฉากทัศน์th
dc.subjectวัดป่าth
dc.subjectสิ่งแวดล้อมสรรค์สร้างth
dc.subjectScenarioen
dc.subjectForest templeen
dc.subjectBuilt-Environmenten
dc.subject.classificationArts and Humanitiesen
dc.subject.classificationAgriculture,forestry and fishingen
dc.subject.classificationDesignen
dc.titleThe scenario of built environment under interdisciplinary Buddhist forest templeen
dc.titleภาพอนาคตสิ่งแวดล้อมสรรค์สร้างภายในวัดป่าด้วยพุทธสหวิทยาการth
dc.typeThesisen
dc.typeวิทยานิพนธ์th
dc.contributor.coadvisorWATANAPUN KRUTASAENen
dc.contributor.coadvisorวัฒนพันธุ์ ครุฑะเสนth
dc.contributor.emailadvisorKRUTASAEN_W@silpakorn.edu
dc.contributor.emailcoadvisorKRUTASAEN_W@silpakorn.edu
dc.description.degreenameDoctor of Philosophy (Ph.D.)en
dc.description.degreenameปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)th
dc.description.degreelevelDoctoral Degreeen
dc.description.degreelevelปริญญาเอกth
dc.description.degreedisciplineen
dc.description.degreedisciplineth
Appears in Collections:Decorative Arts

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
630430007.pdf23.43 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.