Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/4801
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributorChumnanwit KAMNUANSAKen
dc.contributorชำนาญวิทย์ คำนวนศักดิ์th
dc.contributor.advisorPheereeya Boonchaiyaprueken
dc.contributor.advisorพีรียา บุญชัยพฤกษ์th
dc.contributor.otherSilpakorn Universityen
dc.date.accessioned2024-02-12T05:47:37Z-
dc.date.available2024-02-12T05:47:37Z-
dc.date.created2023
dc.date.issued4/7/2023
dc.identifier.urihttp://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/4801-
dc.description.abstractThe purpose of this research was to study the relationship between urban morphology and physical environment Effects to Pedestrian Selection by using a morphological theory set to study urban mobility network accessibility, "Space syntax" (Hillier, 1984), analyzed with pedestrian traffic simulation program developed by the researcher, "Walk 3D Test" to study the behavior of pedestrian selection in a pedestrian network "Visual Integration" that attracts pedestrian to choose a route according to The "Space syntax theory” states whether physical factors affect the route selection or not, and analyzed with an attitude questionnaire on physical factors.           Morphological theory or "Space Syntax", describes an area with high field values (Visual Integration) ​​as well as areas with high accessibility potential. As a result, the area or route is a popular route for walking. The results of the study found that A path with a high field of view is not always the popular route. Urban morphology affects route selection behavior in certain contexts. The physical environment is also important for routing behavior. The hustle and bustle of the commuters is also consistent with their route decisions. In a hurry, commuters choose the route with the closest distance. Unlike less-hurried commuters, they choose the most comfortable route. Complex pedestrian traffic network, commuters tend to choose routes with high visual integration route ​​, making the traffic networks easy to understand and the physical environment is not very influential. Physical environment is highly influential when on an uncomplicated network and commuters are free to walk. In other words, it is a network that is easy to understand and not get lost. Unlike a complex network where people choose a route based mostly on field of view.           Experimental results, it can be explained. The complex network. Unlike the simple and understandable network characteristics, commuters will have similar routing preferences in both of obstacles and unobstructed on routing. It different from a simple network. Commuters can lead to the target quickly or have a displacement route of traffic, and when there are obstacles on the route, commuters have more options to avoid. Wayfinding can help network operators whose complexity is easier to understand, and faster decision-making, as well as being able to guide commuters to their goals. The experiment thus demonstrated that urban morphology was not the only determinant of popular routes. The physical environment and commuters characteristics or behaviors affect to route selection either.  en
dc.description.abstractงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างรูปแบบสัณฐานเมืองและสภาพแวดล้อมทางกายภาพที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการเลือกเส้นทางการสัญจรโดยใช้ชุดทฤษฎีเชิงสัณฐานวิทยาเพื่อศึกษาการเข้าถึงโครงข่ายการสัญจรของเมือง ที่เรียกว่า "Space syntax" (Hillier,1984) โดยวิเคราะห์ร่วมกับ โปรแกรมจำลองการสัญจรทางเท้าที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นเองโดยเรียกว่า "Walk 3D Test" เพื่อศึกษาพฤติกรรมการเลือกเส้นทางการสัญจรในโครงข่ายลักษณะต่าง ๆ ว่า "ค่าสนามทัศน์" ที่ดึงดูดให้ผู้สัญจรเลือกใช้เส้นทางการสัญจรตามทฤษฎี "Space syntax" นั้นเมื่อเกิดปัจจัยทางกายภาพนั้นมีจะส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลเส้นทางการสัญจรของผู้สัญจรหรือไม่รวมถึงมีการวิเคราะห์ร่วมกับแบบสอบถามเชิงทัศนคติต่อปัจจัยทางกายภาพที่อาจส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงการสัญจรในเส้นทางนั้น ๆ หรือไม่ เช่นกัน           ตามทฤษฎีเชิงสัณฐานวิทยาหรือ "Space Syntax" นั้นอธิบายถึงพื้นที่ที่มีค่าสนามทัศน์สูงคือพื้นที่ที่มีศักยภาพในการเข้าถึงสูงด้วยเช่นกัน ส่งผลให้พื้นที่หรือเส้นทางนั้นเป็นเส้นทางนิยมสำหรับการสัญจร ผลจากการศึกษาพบว่า เส้นทางที่มีค่าสนามทัศน์สูงนั้นมิได้เป็นเส้นทางที่ผู้สัญจรเลือกเดินมากที่สุดเสมอไป ลักษณะสัณฐานเมืองนั้นส่งผลต่อพฤติกรรมการเลือกเส้นทางในการสัญจรเพียงในบางบริบท สภาพแวดล้อมทางกายภาพนั้นมีส่วนสำคัญในการเลือกเส้นทางในการสัญจรด้วยเช่นกัน รวมไปถึงความเร่งรีบของผู้สัญจรนั้นยังสอดคล้องกับการตัดสินใจในการเลือกเส้นทางอีกด้วย ผู้สัญจรที่ความเร่งรีบจะเลือกเส้นทางที่มีระยะทางที่ใกล้ที่สุดเป็นหลักแตกต่างจากผู้สัญจรที่ไม่เร่งรีบมากเลือกเส้นทางที่มีความสะดวกสบายมากที่สุดเป็นหลัก ในลักษณะโครงข่ายที่มีความซับซ้อนและเข้าใจได้ยากนั้นผู้สัญจรมักเลือกเส้นทางที่มีค่าสนามทัศน์สูงเนื่องจากเชื่อมโยงกับเส้นทางอื่นทำให้สามารถเข้าใจโครงข่ายการสัญจรได้ง่ายและสภาพแวดล้อมทางกายภาพนั้นไม่ได้มีอิทธิพลมากเท่ากับเส้นทางที่ความเข้าใจพื้นที่ได้ง่าย แต่สภาพแวดล้อมทางกายภาพนั้นกลับมีอิทธิพลสูงเมื่ออยู่บนโครงข่ายที่ไม่มีควาซับซ้อนและผู้สัญจรมีอิสระในการเดิน หรือกล่าวได้ว่าเป็นโครงข่ายที่สามารถทำความเข้าใจได้ง่ายและไม่หลงทาง โครงข่ายลักษณะนี้ผู้สัญจรจะเลือกเส้นทางตามปัจจัยของสภาพแวดล้อมทางกายภาพเป็นหลักแตกต่างจากโครงข่ายที่ซับซ้อนที่ผู้คนจะเลือกเส้นทางตามค่าสนามทัศน์เป็นส่วนใหญ่ จากผลการทดสอบสามารถอธิบายได้ว่าลักษณะโครงข่ายที่ซับซ้อนกลุ่มคนจะมีลักษณะการสัญจรที่คล้ายกันทั้งในรูปแบบที่มีสิ่งกีดขวางและไม่มีสิ่งกีดขวางในการสัญจรซึ่งแตกต่างจากลักษณะโครงข่ายที่ไม่ซับซ้อนและสามารถเข้าใจได้ง่ายผู้สัญจรนั้นเลือกใช้เส้นทางที่สามารถนำไปสู่เป้าหมายได้เร็วที่สุดหรือมีลักษณะการสัญจรแบบการกระจัดและเมื่อเกิดปัจจัยที่เป็นสิ่งกีดขวางบนทางสัญจรจะพบว่าผู้สัญจรเกิดทางเลือกที่หลากหลายในการสัญจรมากขึ้นเพื่อหลีกเลี่ยงการพบกับอุปสรรคในการสัญจร การมีเส้นนำทาง (Wayfinding) นั้นสามารถช่วยผู้ให้โครงข่ายที่ความซับซ้อนนั้นเข้าใจได้ง่ายขึ้นและมีการตัดสินใจที่รวดเร็วขึ้นรวมไปถึงสามารถนำพาให้ผู้สัญจรไปถึงเป้าหมายได้เร็วขึ้น การทดลองนี้จึงแสดงให้เห็นว่าลักษณะสัณฐานเมืองนั้นมิได้เป็นปัจจัยเดียวที่กำหนดพฤติกรรมผู้สัญจร  th
dc.language.isoth
dc.publisherSilpakorn University
dc.rightsSilpakorn University
dc.subjectการสัญจรทางเท้า, สัณฐานเมือง, สภาพแวดล้อมทางกายภาพ, สเปซ ซินแท็กซ์th
dc.subjectSpace Syntaxen
dc.subjectPedestrianen
dc.subjectUrban Morphologyen
dc.subjectPhysical environmenten
dc.subject.classificationEngineeringen
dc.subject.classificationTransportation and storageen
dc.subject.classificationArchitecture and town planningen
dc.titleThe Study of Urban Morphology and Physical Factors Effects to Pedestrian Selection Behavior in Bangkoken
dc.titleผลการศึกษารูปแบบสัณฐานเมืองและปัจจัยทางกายภาพที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการเลือกเส้นทางสัญจรทางเท้าในเขตกรุงเทพมหานครth
dc.typeThesisen
dc.typeวิทยานิพนธ์th
dc.contributor.coadvisorPheereeya Boonchaiyaprueken
dc.contributor.coadvisorพีรียา บุญชัยพฤกษ์th
dc.contributor.emailadvisorboonchaiyapruek_p@silpakorn.edu
dc.contributor.emailcoadvisorboonchaiyapruek_p@silpakorn.edu
dc.description.degreenameMaster of Architecture (M.Arch)en
dc.description.degreenameสถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต (สถ.ม.)th
dc.description.degreelevelMaster's Degreeen
dc.description.degreelevelปริญญาโทth
dc.description.degreedisciplineURBAN DESIGN AND PLANNINGen
dc.description.degreedisciplineการออกแบบและวางผังชุมชนเมืองth
Appears in Collections:Architecture

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
61051206.pdf9.55 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.