Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/4982
Title: THE DEVELOPMENT OF INSTRUCTIONAL MODEL IN GEOGRAPHY ACCORDING TO ACTIVE LEARNING FOCUSED ON CASE STUDY BASED LEARNING TO ENHANCE ANALYTICAL SKILLS ACCORDING TO MARZANO’S TAXONOMY FOR ELEMENTARY SCHOOL STUDENTS
การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ภูมิศาสตร์ตามแนวคิดการจัดการเรียนรู้เชิงรุกที่เน้นกรณีศึกษาเป็นฐานเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ตามแนวคิดของมาร์ซาโนสำหรับผู้เรียนระดับชั้นประถมศึกษาตอนต้น
Authors: Thayida LERTCHANADECHA
ทยิดา เลิศชนะเดชา
Poranat Kitroongrueng
ปรณัฐ กิจรุ่งเรือง
Silpakorn University
Poranat Kitroongrueng
ปรณัฐ กิจรุ่งเรือง
pkprofessor@hotmail.com
pkprofessor@hotmail.com
Keywords: รูปแบบการจัดการเรียนรู้ภูมิศาสตร์
การจัดการเรียนรู้เชิงรุก
การจัดการเรียนรู้ที่เน้นกรณีศึกษาเป็นฐาน
ทักษะการคิดวิเคราะห์ของมาร์ซาโน
Instructional Model in Geography
Active Learning; Case Study Based Learning
Analytical Skills According to Marzano’s Taxonomy
Issue Date:  28
Publisher: Silpakorn University
Abstract: The purposes of this study were 1) to study the fundamental information, problems, and necessities for developing the instructional model. 2) To develop and find the quality of the instructional model. 3) To study the effectiveness of the instructional model: 3.1) comparing analytical skills before and after studying; 3.2) comparing the learning achievement of geography before and after studying; and 3.3) studying the students’ satisfaction with the instructional model. 4) To evaluate and acknowledge the instructional model. Furthermore, the research was divided into 4 steps: 1) collecting the fundamental information, problems, and necessities for developing the instructional model, including 1.1) studying and analyzing the concepts, theories, and related research, 1.2) interviewing the target groups about the problems and necessities, including experts, school administrators, and elementary teachers of social studies, religion and culture department, and 1.3) surveying the elementary students’ opinions about the necessities of developing the instructional model. 2) Designing and developing the instructional model and verifying its quality using a focus group discussion from the experts. 3) Applying the instructional model with the sampling groups, which were 35 third-year elementary school students, using the form to evaluate the analytical skills according to Marzano’s taxonomy, the assessment test in geography, and the form for evaluating the students’ satisfaction with the instructional model. 4) Evaluating and verifying the instructional model while the data was analyzed using mean (M), standard deviation (SD), and content analysis. According to the study of the fundamental information, problems, and necessities for developing the instructional model, it could be seen that the instructional model contained 5 principles, including: 1) performing; 2) interaction; 3) data collection; 4) analysis; and 5) implementation. Moreover, it was found that the instructional guidelines were as follow: 1) The instruction could be conducted by applying the various case studies and problems that the students faced in their daily lives. They could learn by doing and reflect on what they had learned. 2) The instructional media, such as geographic tools and digital media, were able to be used for instructing. 3) The various methods of assessment and evaluation should be applied to the instruction. 2. The instructional model in geography according to active learning, which was focused on case study-based learning to enhance analytical skills according to Marzano’s taxonomy for elementary school students (ABABA Model), contained 1) principles, 2) purposes, 3) 5 instructional steps: 3.1) assigning: A, 3.2) brainstorming: B, 3.3) adjusting problems: A, 3.4) briefing and presenting: B, and 3.5) assessing: A., 4) the assessment and evaluation, including formative assessment and summative assessment, to verify the students’ analytical skills after studying. The tests of analytical skills and assessment were conducted according to Marzano’s taxonomy, including (1) matching, (2) classifying, (3) error analysis, (4) generalizing, and (5) specifying. Furthermore, there were the social systems, support systems, and response systems. 3. For the effectiveness of the instructional model, it was found that 3.1) the students’ score after studying according to Marzano’s taxonomy was significantly higher than before studying at.05 level, 3.2) The result of all parts of the students’ satisfaction evaluation with the instructional model was at the high level. (M = 2.77, SD = 0.00) 4. The result of all parts of the evaluation and verification of the instructional model and the handout of the model was at the highest level. (M = 4.71, SD = 0.06)
การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐาน สภาพปัญหาและความต้องการจำเป็นสำหรับการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ 2) พัฒนาและหาคุณภาพของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ 3) ศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ โดย 3.1) เปรียบเทียบความสามารถด้านทักษะการคิดวิเคราะห์ก่อนเรียนและหลังเรียน 3.2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภูมิศาสตร์ก่อนเรียนและหลังเรียน และ 3.3) ศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อการใช้รูปแบบ และ 4) ประเมินและรับรองรูปแบบการจัดการเรียนรู้ การดำเนินการวิจัยแบ่งออกเป็น 4 ขั้นตอน ดังนี้ 1) การศึกษาข้อมูลพื้นฐาน สภาพปัญหาและความต้องการจำเป็นสำหรับการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ ประกอบด้วย 1.1) การศึกษาและวิเคราะห์ เอกสาร หลักสูตร เอกสาร แนวคิด ทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 1.2) การสัมภาษณ์เกี่ยวกับสภาพปัญหาและความต้องการจำเป็นจากผู้เชี่ยวชาญ ผู้บริหาร ครูผู้สอนวิชาสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมระดับประถมศึกษา และ 1.3) การศึกษาความคิดเห็นเกี่ยวกับความต้องการจำเป็นสำหรับการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้จากผู้เรียน 2) การออกแบบและพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ ซึ่งหาคุณภาพด้วยการสนทนากลุ่มและประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญ 3) การทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้กับกลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 35 คน โดยใช้แบบวัดทักษะการคิดวิเคราะห์ตามแนวคิดของมาร์ซาโน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภูมิศาสตร์และแบบประเมินความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ และ 4) การประเมินและรับรองรูปแบบการจัดการเรียนรู้ วิเคราะห์ข้อมูลด้วย การหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที (t-test) แบบ Dependent และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า 1. ผลการศึกษาข้อมูลพื้นฐาน สภาพปัญหาและความต้องการจำเป็นสำหรับการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ ได้หลักการ 5 หลักการ ดังนี้ 1) หลักการปฏิบัติ 2) หลักการปฏิสัมพันธ์ 3) หลักการรวบรวมข้อมูล 4) หลักการวิเคราะห์ และ 5) หลักการนำไปใช้ และได้แนวทางการจัดการเรียนรู้ 3 ด้าน ดังนี้ 1) ด้านการจัดการเรียนรู้  จัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยนำปัญหาที่ผู้เรียนพบเจอในชีวิตประจำวันโดยใช้กรณีศึกษาที่หลากหลายให้ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติและสะท้อนคิดสิ่งที่ได้เรียนรู้ 2) ด้านสื่อการจัดการเรียนรู้ จัดกิจกรรมโดยใช้สื่อที่เป็นเครื่องมือทางภูมิศาสตร์และสื่อเทคโนโลยี 3) ด้านการวัดและประเมินผล จัดกิจกรรมโดยใช้วิธีการวัดและประเมินผลที่หลากหลาย 2. รูปแบบการจัดการเรียนรู้ภูมิศาสตร์ตามแนวคิดการจัดการเรียนรู้เชิงรุกที่เน้นกรณีศึกษาเป็นฐานเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ตามแนวคิดของมาร์ซาโนสำหรับผู้เรียนระดับชั้นประถมศึกษาตอนต้น (ABABA Model) ประกอบด้วย 1) หลักการ 2) วัตถุประสงค์ 3) ขั้นตอนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ 5 ขั้นตอน คือ (1) ขั้นกำหนดปัญหา (Assigning: A) (2) ขั้นระดมความคิด (Brainstorming: B) (3) ขั้นพินิจแก้ไข (Adjusting problems: A) (4) ขั้นสรุปและนำเสนอ (Briefing and presenting: B) (5) ขั้นประเมินผลงาน (Assessing: A) 4) การวัดและประเมินผล โดยใช้แบบวัดทักษะการคิดวิเคราะห์ที่มีลักษณะเป็นข้อสอบอัตนัย และประเมินผลตามเกณฑ์การวัดทักษะการคิดวิเคราะห์ตามแนวคิดของ Marzano ประกอบด้วย (1) การจับคู่ (Matching) (2) การจัดหมวดหมู่ (Classifying) (3) การวิเคราะห์ข้อผิดพลาด (Error analysis) (4) การสรุปหลักเกณฑ์ (Generalizing) (5) การคาดการณ์ (Specifying) และ 5) ระบบสังคม ระบบสนับสนุน หลักการตอบสนอง 3. ประสิทธิผลของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ พบว่า 3.1) ผลการเปรียบเทียบทักษะการคิดวิเคราะห์ตามแนวคิดของมาร์ซาโนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3.2) ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภูมิศาสตร์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3.3) ผลการประเมินความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้อยู่ในระดับมากทุกด้านของการประเมิน (M = 2.77, SD = 0.00) 4. ผลการประเมินและรับรองรูปแบบการจัดการเรียนรู้ และคู่มือการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ พบว่า อยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้านของการประเมิน (M = 4.71, SD = 0.06)
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/4982
Appears in Collections:Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
640630041.pdf18.38 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.