Please use this identifier to cite or link to this item:
http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/5018
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor | Nawaporn THANASARN | en |
dc.contributor | นวพร ธนะสาร | th |
dc.contributor.advisor | Kattika Kittiprasan | en |
dc.contributor.advisor | กัตติกา กิตติประสาร | th |
dc.contributor.other | Silpakorn University | en |
dc.date.accessioned | 2024-08-01T07:08:32Z | - |
dc.date.available | 2024-08-01T07:08:32Z | - |
dc.date.created | 2024 | |
dc.date.issued | 28/6/2024 | |
dc.identifier.uri | http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/5018 | - |
dc.description.abstract | This dissertation investigates the physical characteristics of built environment for tourism development in Sri Lanna National Park and its surroundings, including Amphoe Phrao, Amphoe Mae Taeng, and Amphoe Chiang Dao in Chiangmai Province, and studies the visual impact effected to aesthetic value of Sri Lanna National Park that is related to tourist activities. Five mixed methods were applied in this paper, including a literature review, survey, photo representation, simulation of tourism development, and questionnaire. The result of the study shows that there are four landscape types in the study area, including 1) the flat plain, 2) the highland, 3) large waterscape and dam, and 4) conserved natural area, which has different levels of visual impacts depended on the landforms, vegetation cover, and built environment. The architectural styles of the built environment can be grouped with four characteristics. They are 1) traditional architectural style, 2) modern architectural style, 3) contemporary architectural style, and 4) foreign architectural style. The study investigated the preferences and acceptance of these styles with a visual-aid questionnaire. The result shows that the preferred and accepted characters for the built environment vary in architectural styles, shapes (especially the height), and colors according to the related landscape types. Moreover, this study found that certain personal factors influencing the preferable and acceptable physical characteristics of the built environment for tourism development were age, occupation, and education. This research concludes with a suggestion for further study that brings together the existing development on site, the general preferences as found in this research, and the experts’ suggestions on landscape study into consideration. | en |
dc.description.abstract | จังหวัดเชียงใหม่เป็นแหล่งท่องเที่ยวสำคัญของประเทศไทย เนื่องจากมีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรม มีธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์สวยงามมีสิ่งแวดล้อมที่หลากหลาย ทำให้จังหวัดเชียงใหม่มีอุทยานแห่งชาติหลายแห่ง โดยเฉพาะอุทยานแห่งชาติศรีลานนาซึ่งเป็นป่าต้นน้ำลำธารชั้น 1 ของแม่น้ำปิงตอนบน ประกอบด้วยป่า 5 ชนิด ดังนี้ ป่าเต็งรัง ป่าเบญพรรณ ป่าดิบแล้ง ป่าดิบเขา และป่าสนเขา โดยพื้นที่ป่าส่วนใหญ่ของอุทยานเป็นป่าเต็งรังและป่าเบญพรรณที่มีการผลัดใบในช่วงฤดูแล้ง ทำให้ภูมิทัศน์ในพื้นที่อุทยานแห่งชาติศรีลานนาสวยงามทุกฤดู อีกทั้งยังมีภูมิประเทศและลักษณะทางธรรมชาติที่โดดเด่น ได้แก่ ภูเขา ทิวเขา ยอดเขา ถ้ำ และน้ำตก เป็นต้น ส่งผลให้ภูมิทัศน์ธรรมชาติของอุทยานแห่งชาติศรีลานนาสวยงามและมีคุณค่าทางสุนทรียภาพ โดยอุทยานแห่งชาติศรีลานนาและพื้นที่โดยรอบมีกิจกรรมการท่องเที่ยวหลากหลายรูปแบบ เช่น การท่องเที่ยวเชิงนิเวศภายในอุทยานแห่งชาติศรีลานนา การท่องเที่ยวที่เน้นการชื่นชมคุณค่าสุนทรียภาพ ได้แก่ ชมวิว หรือขับรถชมวิว และการท่องเที่ยวโดยชุมชน ฯลฯ จากนโยบายส่งเสริมการท่องเที่ยวภายใต้โครงการ "Amazing Thailand" ส่งผลให้มีนักท่องเที่ยวมาท่องเที่ยวในอุทยานศรีลานนามากยิ่งขึ้น และพบว่ามีการกลับมาเยือนซ้ำอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากอยู่ไม่ไกลจากตัวเมืองเชียงใหม่ ส่งผลให้ชุมชนโดยรอบมีการพัฒนาธุรกิจเพื่อการท่องเที่ยว มีการก่อสร้างอาคารหรือมีสิ่งปลูกสร้างที่รูปแบบทางกายภาพแตกต่างจากสภาพแวดล้อม และบริบททางวัฒนธรรมเดิม เช่น อาคารสูง อาคารขนาดใหญ่ อาคารที่มีสีสันแปลกตา ฯลฯ รวมถึงมีกิจกรรมการการท่องเที่ยวที่รบกวนคุณค่าทางสุนทรียภาพของภูมิทัศน์ เช่น การสร้างเรือนแพในพื้นที่ลำน้ำธรรมชาติ การสร้างสวนดอกไม้ในพื้นที่เกษตรกรรม ฯลฯ ซึ่งอาจส่งกระทบทางสายตาและขัดแย้งกับเอกลักษณ์ของอุทยานแห่งชาติศรีลานนา หากการพัฒนาเพื่อการท่องเที่ยวเกิดขึ้นโดยปราศจากมาตรการในการจัดการอย่างเหมาะสม อาจส่งผลกระทบต่อคุณค่าทางสายตาของภูมิทัศน์ธรรมชาติในอุทยานแห่งชาติศรีลานนา ทั้งนี้ผลกระทบทางสายตาจากการพัฒนาเพื่อการท่องเที่ยวมีเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง แม้ว่าสังคมไทยจะเริ่มให้ความสำคัญกับผลกระทบทางสายตาเพิ่มมากขึ้น แต่ไม่มีข้อกำหนดหรือกฎหมายที่ชัดเจนในการควบคุมลักษณะทางกายภาพ เช่น ความสูง รูปแบบอาคาร ฯลฯ รวมถึงขาดการลดผลกระทบทางสายตาจากอาคารสิ่งก่อสร้างอย่างเป็นรูปธรรม จึงควรต้องมีการศึกษารูปแบบการพัฒนาเพื่อการท่องเที่ยวและกิจกรรมการท่องเที่ยวที่อาจทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ หรือส่งผลกระทบทางสายตาในพื้นที่ธรรมชาติ เพื่อนำผลการศึกษาไปเสนอแนะการควบคุมรูปแบบอาคารและสิ่งปลูกสร้างในพื้นที่อุทยานแห่งชาติและพื้นที่โดยรอบ เพื่ออนุรักษ์และรักษาเอกลักษณ์ และไม่ให้เกิดการลดทอนลดทอนคุณค่าทางสุนทรียภาพของภูมิทัศน์ธรรมชาติ และช่วยส่งเสริมการท่องเที่ยวอุทยานแห่งชาติศรีลานนาและพื้นที่โดยรอบด้านกายภาพอย่างยั่งยืน | th |
dc.language.iso | th | |
dc.publisher | Silpakorn University | |
dc.rights | Silpakorn University | |
dc.subject | คุณลักษณะทางกายภาพ | th |
dc.subject | การพัฒนาเพื่อการท่องเที่ยว | th |
dc.subject | ผลกระทบทางสายตา | th |
dc.subject | ภูมิทัศน์ธรรมชาติ | th |
dc.subject | Physical Characteristics | en |
dc.subject | Visual impacts | en |
dc.subject | Natural Landscape | en |
dc.subject | Sri Lanna National Park | en |
dc.subject.classification | Arts and Humanities | en |
dc.subject.classification | Education | en |
dc.subject.classification | Basic / broad general programmes | en |
dc.title | VISUAL IMPACTS AND THE PREFERENCES OF PHYSICAL CHARACTERISTICROF TOURISM DEVELOPMENT FOR NATURAL LANDSCAPE: A CASE STUDYOF SRI LANNA NATIONAL PARK, CHIANG MAI PROVINCE | en |
dc.title | ผลกระทบทางสายตาและการยอมรับคุณลักษณะทางกายภาพของการพัฒนาการท่องเที่ยวในภูมิทัศน์ธรรมชาติ: กรณีศึกษา อุทยานแห่งชาติศรีลานนาจังหวัดเชียงใหม่ | th |
dc.type | Thesis | en |
dc.type | วิทยานิพนธ์ | th |
dc.contributor.coadvisor | Kattika Kittiprasan | en |
dc.contributor.coadvisor | กัตติกา กิตติประสาร | th |
dc.contributor.emailadvisor | Prang.Kattika@gmail.com | |
dc.contributor.emailcoadvisor | Prang.Kattika@gmail.com | |
dc.description.degreename | Master of Landscape Architecture (M.L.A.) | en |
dc.description.degreename | ภูมิสถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต (ภ.สถ.ม.) | th |
dc.description.degreelevel | Master's Degree | en |
dc.description.degreelevel | ปริญญาโท | th |
dc.description.degreediscipline | Division of Landscape Architecture | en |
dc.description.degreediscipline | สาขาวิชาภูมิสถาปัตยกรรม | th |
Appears in Collections: | Architecture |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
620220039.pdf | 25.35 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.