Please use this identifier to cite or link to this item:
http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/5021
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor | Natchanika KEATSUWAN | en |
dc.contributor | ณัฏฐ์ชนิกา เกษสุวรรณ | th |
dc.contributor.advisor | Supagtra Suthasupa | en |
dc.contributor.advisor | สุพักตรา สุทธสุภา | th |
dc.contributor.other | Silpakorn University | en |
dc.date.accessioned | 2024-08-01T07:08:32Z | - |
dc.date.available | 2024-08-01T07:08:32Z | - |
dc.date.created | 2024 | |
dc.date.issued | 28/6/2024 | |
dc.identifier.uri | http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/5021 | - |
dc.description.abstract | The purpose of the Study of Songkhla Old Town Cultural Heritage for the Development of Cultural Creative City was to study cultural heritages, way of lives, local wisdoms and the ability of Songkhla Old Town as a cultural creative city. The documents, maps and several secondary data were examined for Songkhla’s cultural heritages and creative industries. The study area consisted of 4 areas (1) Hua Khao Daeng (2) Laem Son (3) Boryang and (4) Kohyor. These areas contained a diversity of cultures and ways of lives. In line with the literature from UNESCO, the Fine Arts Department and the Department of Cultural Promotion, this study suggested criteria to classify the types of cultural heritages into 3 groups: (1) Tangible Cultural Heritage (2) Intangible Cultural Heritage and (3) Natural Heritage, consisting of 16 categories. Included were Tangible Cultural Heritage with 8 categories, Intangible Cultural Heritage with 7 categories, and Natural Heritage with 1 category. It was founded that Songkhla Old Town obtained 3 cultural heritage groups with a total of 118 cultural heritage items. From the developed criteria of 16 categories, Songkhla Old Town Cultural Heritages were classified into 9 categories, namely Painting (P); Handicraft (HC); Historic Monument consisting of 3 groups: Historic Monument (H), Wat (W) and Shrines (S); Monuments (M); Architecture (A); Tradition (T); Knowledge and Practices (K); Traditional Craftsmanship (C); and Natural Heritage. Songkhla Old Town Cultural Heritages were diverse in terms of historical and cultural values, as well as ways of life. Songkhla Lake Basin is the center that connects the cultures, traditions, beliefs, and way of life of the 4 areas together. The results show that Songkhla Old Town has a potential and ability to be a cultural creative city. The 4 areas of Songkhla Old Town have a spatial interaction, acculturation, and a combination of urban with nature. The study of creative industries within Songkhla Old Town reveals that there are many general industries, mostly related to automotive repairs, transportation and logistics, dormitories and hotels. Songkhla Old Town is the location of Songkhla Port, which is very important for the South’s economy and industry, and the important governmental and educational institutions of the province. Furthermore, the UNESCO’s criteria of 7 creative fields were applied to analyze Songkhla Old Town. It shows that the town has an ability to be a gastronomy city because it has a diversity of food cultures and important sources of raw materials from the Gulf of Thailand. In addition, Songkhla Old Town has an ability to be a city of Craft and Folk Art. Kohyor woven fabric is a local handicraft that represents an important identity of Songkhla Old Town. Moreover, the study of the components which encourage and discourage a creative district and creative city of Songkhla Old Town shows that there are 6 elements: (1) policy (2) infrastructure (3) creative business (4) creative people (5) supportive culture and activity and (6) creative space. These elements were retrieved from the factors driving creative districts of the Creative Economy Agency (Public Organization). The study suggests that the development of a creative district and creative city of Songkhla Old Town should be consistent with the context of the area and maintain the local identity of Songkhla Old Town. | en |
dc.description.abstract | การศึกษาวิจัยเรื่องการศึกษามรดกทางวัฒนธรรมเมืองเก่าสงขลา เพื่อการพัฒนาเป็นเมืองสร้างสรรค์ทางวัฒนธรรม มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษามรดกทางวัฒนธรรม วิถีชีวิต ภูมิปัญญาท้องถิ่นและความสามารถในการเป็นเมืองสร้างสรรค์ทางวัฒนธรรมเมืองเก่าสงขลา โดยการศึกษาเอกสาร แผนที่ ข้อมูลทุติยภูมิ และสำรวจมรดกทางวัฒนธรรมและอุตสาหกรรมสร้างสรรค์เมืองเก่าสงขลา พื้นที่ศึกษาประกอบด้วย 4 พื้นที่ ได้แก่ (1) เมืองเก่าสงขลาฝั่งหัวเขาแดง (2) เมืองเก่าสงขลาฝั่งแหลมสน (3) เมืองเก่าสงขลาฝั่งบ่อยาง และ (4) เกาะยอ ซึ่งในแต่ละพื้นที่มีความหลากหลายของวัฒนธรรมและวิถีชีวิต จากการศึกษาทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องกับมรดกทางวัฒนธรรม สามารถแบ่งประเภทของมรดกทางวัฒนธรรมที่นำมาใช้เป็นเกณฑ์ในการจำแนกทั้งหมด 3 ประเภท ได้แก่ (1) มรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องได้ (2) มรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้หรือภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม และ (3) มรดกทางธรรมชาติ ประกอบด้วยตัวชี้วัดอย่างละเอียด 16 ประเภท ซึ่งมาจากการศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้องกับมรดกทางวัฒนธรรมขององค์การเพื่อการศึกษาวิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ กรมศิลปากร และกรมส่งเสริมวัฒนธรรม ประกอบด้วย มรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องได้ (Tangible Cultural Heritage) 8 ตัวชี้วัด มรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ หรือภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม (Intangible Cultural Heritage) 7 ตัวชี้วัด และมรดกทางธรรมชาติ (Natural Heritage) 1 ตัวชี้วัด ผลการศึกษามรดกทางวัฒนธรรมเมืองเก่าสงขลา พบว่า เมืองเก่าสงขลามีมรดกทางวัฒนธรรมทั้งหมด 3 ประเภท รวม 118 รายการ และจากการใช้เกณฑ์ในการจำแนกและจัดหมวดหมู่ประเภทมรดกทางวัฒนธรรม 16 ประเภท พบว่า เมืองเก่าสงขลามีมรดกทางวัฒนธรรมทั้งหมด 9 ประเภทย่อย ได้แก่ จิตรกรรม (P) หัตถกรรม (HC) โบราณสถาน ประกอบด้วย โบราณสถาน (H) วัด (W) และศาลเจ้า (S) แหล่งอนุสรณ์และแหล่งประวัติศาสตร์ (M) สถาปัตยกรรม (A) แนวปฏิบัติสังคม พิธีกรรม ประเพณีและเทศกาล (T) ความรู้และการปฏิบัติเกี่ยวกับธรรมชาติและจักรวาล (K) งานฝีมือดั้งเดิม (C) และมรดกทางธรรมชาติ (N) มรดกทางวัฒนธรรมเมืองเก่าสงขลามีความหลากหลายทั้งในแแง่คุณค่าทางประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม และวิถีชีวิต ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา คือ สิ่งที่เป็นศูนย์กลางที่เชื่อมโยงทั้งวัฒนธรรม ประเพณี ความเชื่อ และวิถีชีวิตของพื้นที่ทั้ง 4 ย่านเข้าด้วยกัน ด้านผลการศึกษาความสามารถในการเป็นย่านสร้างสรรค์และเมืองสร้างสรรค์ทางวัฒนธรรมเมืองเก่าสงขลา พบว่า เมืองเก่าสงขลามีศักยภาพและความสามารถในการเป็นเมืองสร้างสรรค์ทางวัฒนธรรม ซึ่งย่านทั้ง 4 ย่านของเมืองเก่าสงขลามีความสัมพันธ์เชิงพื้นที่ร่วมกัน มีการผสมผสานของวัฒนธรรมและการผสมผสานพื้นที่เมืองเข้ากับธรรมชาติ ซึ่งเมื่อศึกษาอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ภายในเมืองเก่าสงขลา พบว่า เมืองเก่าสงขลามีอุตสาหกรรมทั่วไปมากเป็นอันดับ 1 ส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับอู่ซ่อมยานยนต์ การขนส่งสินค้าและโลจิสติกส์ หอพักและโรงแรม ซึ่งเป็นผลมาจากบริเวณเมืองเก่าสงขลาเป็นที่ตั้งของท่าเรือน้ำลึกสงขลา มีความสำคัญอย่างมากทางด้านเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมทางภาคใต้ นอกจากนี้ยังเป็นที่ตั้งของศูนย์ราชการและสถาบันการศึกษาที่สำคัญของจังหวัด และเมื่อนำเกณฑ์การเป็นเมืองสร้างสรรค์ 7 สาขาของยูเนสโกมาใช้ในการวิเคราะห์ว่าเมืองเก่าสงขลามีศักยภาพในการเป็นเมืองสร้างสรรค์ด้านใด พบว่า เมืองเก่าสงขลามีศักยภาพในการเป็นเมืองสร้างสรรค์ด้านวิทยาการด้านอาหาร เนื่องจากมีความหลากหลายของวัฒนธรรมอาหาร และเป็นแหล่งวัตถุดิบที่สำคัญของภาคใต้ฝั่งทะเลอ่าวไทย นอกจากนี้ยังมีศักยภาพในการเป็นเมืองสร้างสรรค์ด้านหัตถกรรมพื้นบ้าน โดยผ้าทอเกาะยอเป็นหัตถกรรมพื้นบ้านที่เป็นอัตลักษณ์ที่สำคัญของเมืองเก่าสงขลา ทั้งนี้การศึกษาองค์ประกอบที่ส่งเสริมและไม่ส่งเสริมการเป็นย่านสร้างสรรค์และเมืองสร้างสรรค์ของเมืองเก่าสงขลา 6 องค์ประกอบ ประกอบด้วย (1) นโยบาย (2) โครงสร้างพื้นฐาน (3) ธุรกิจสร้างสรรค์ (4) บุคลากรสร้างสรรค์ (5) วัฒนธรรมและการสนับสนุนกิจกรรมสร้างสรรค์ และ (6) พื้นที่สร้างสรรค์ ซึ่งประยุกต์มาจากปัจจัยในการขับเคลื่อนย่านสร้างสรรค์ของสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) นำไปสู่การเสนอแนะแนวทางในการพัฒนาและส่งเสริมการเป็นย่านสร้างสรรค์และเมืองสร้างสรรค์ของเมืองเก่าสงขลาให้มีความสอดคล้องกับบริบทของพื้นที่ และยังคงอัตลักษณ์เฉพาะถิ่นของเมืองเก่าสงขลา | th |
dc.language.iso | th | |
dc.publisher | Silpakorn University | |
dc.rights | Silpakorn University | |
dc.subject | เมืองเก่าสงขลา | th |
dc.subject | เมืองสร้างสรรค์ | th |
dc.subject | ย่านสร้างสรรค์ | th |
dc.subject | มรดกทางวัฒนธรรม | th |
dc.subject | Songkhla Old Town | en |
dc.subject | Creative City | en |
dc.subject | Creative District | en |
dc.subject | Cultural Heritage | en |
dc.subject.classification | Social Sciences | en |
dc.subject.classification | Social Sciences | en |
dc.subject.classification | Professional, scientific and technical activities | en |
dc.subject.classification | Sociology and cultural studies | en |
dc.title | THE STUDY OF SONGKHLA OLD TOWN CULTURAL HERITAGE FOR THE DEVELOPMENT OF CULTURAL CREATIVE CITY | en |
dc.title | การศึกษามรดกทางวัฒนธรรมเมืองเก่าสงขลา เพื่อการพัฒนาเป็นเมืองสร้างสรรค์ทางวัฒนธรรม | th |
dc.type | Thesis | en |
dc.type | วิทยานิพนธ์ | th |
dc.contributor.coadvisor | Supagtra Suthasupa | en |
dc.contributor.coadvisor | สุพักตรา สุทธสุภา | th |
dc.contributor.emailadvisor | supakoy@yahoo.com | |
dc.contributor.emailcoadvisor | supakoy@yahoo.com | |
dc.description.degreename | Master of Urban and Environmental Planning (M.U.E.P) | en |
dc.description.degreename | การวางแผนชุมชนเมืองและสภาพแวดล้อมมหาบัณฑิต (ผ.ม.) | th |
dc.description.degreelevel | Master's Degree | en |
dc.description.degreelevel | ปริญญาโท | th |
dc.description.degreediscipline | URBAN DESIGN AND PLANNING | en |
dc.description.degreediscipline | การออกแบบและวางผังชุมชนเมือง | th |
Appears in Collections: | Architecture |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
620220071.pdf | 16.67 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.